มหาวิหารนักบุญเปโตร
มหาวิหารนักบุญเปโตร | |
---|---|
มหาวิหารนักบุญเปโตรในพระสันตะปาปา | |
เบื้องหน้าของมหาวิหารนักบุญเปโตร | |
41°54′08″N 12°27′12″E / 41.90222°N 12.45333°E | |
ที่ตั้ง | นครรัฐวาติกัน |
ประเทศ | นครรัฐวาติกัน |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เว็บไซต์ | St. Peter's Basilica |
ประวัติ | |
สถานะ | มหาวิหารเอกในสันตะปาปา |
อุทิศแก่ | นักบุญเปโตร |
เสกเมื่อ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1626 |
สถาปัตยกรรม | |
สถาปนิก | |
รูปแบบสถาปัตย์ | เรอแนซ็องส์ และ บาโรก |
งานฐานราก | 18 เมษายน ค.ศ. 1506 |
แล้วเสร็จ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1626 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 730 ฟุต (220 เมตร) |
อาคารกว้าง | 500 ฟุต (150 เมตร) |
ความสูงอาคาร | 448.1 ฟุต (136.6 เมตร)[1] |
เนฟสูง | 151.5 ฟุต (46.2 เมตร) |
โดมกว้าง (ภายนอก) | 137.7 ฟุต (42.0 เมตร) |
โดมกว้าง (ภายใน) | 136.1 ฟุต (41.5 เมตร) |
การปกครอง | |
มุขมณฑล | มุขมณฑลโรม |
นักบวช | |
หัวหน้าบาทหลวง | Angelo Comastri |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | นครวาติกัน |
ประเภท | มรดกโลกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, ii, iv, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1984 (วาระที่ 8) |
เลขอ้างอิง | 286 |
รัฐภาคี | สันตะสำนัก |
ภูมิภาค | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
มหาวิหารนักบุญเปโตร[2] (อังกฤษ: Basilica of Saint Peter, ละติน: Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง)
ประวัติ
[แก้]มหาวิหารนักบุญเปโตรเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารสูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม โบสถ์นี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน[3] เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ที่ตั้งโบสถ์เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของนักบุญซีโมนเปโตรซึ่งเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู คริสตจักรถือว่านักบุญเปโตรเป็นบิชอปองค์แรกของแอนติออก ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญเปโตรถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่นี้
ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนโบสถ์แบบคอนสแตนติน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626
แต่เดิมนั้นมหาวิหารนักบุญเปโตรมิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะโบสถ์ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีธรรมาสน์นักบุญเปโตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญเปโตรเองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี[4]
มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม
[แก้]มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมเป็นโบสถ์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิกา พอมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวีญง ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 - 1377 (เรียกว่าอาวีญงปาปาซี) การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก การใช้ชื่อมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม[5]
ที่ฝังศพนักบุญเปโตร
[แก้]เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังศพนักบุญเปโตร[6] หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร
ที่ฝังศพอื่น ๆ
[แก้]ภายในมหาวิหารมีที่ฝังศพกว่าร้อยที่ บางที่อยู่ภายในถ้ำวาติกัน (Vatican grotto) ซึ่งอยู่ภายใต้มหาวิหาร ภายในถ้ำมีพระสันตะปาปาฝังไว้ 91 องค์ บุคคลสำคัญที่ฝังภายในมหาวิหารก็มี
- นักบุญอิกเนเชียสแห่งแอนติออก (St. Ignatius of Antioch)
- จักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- โจวันนี ปีแอร์ลุยจี ดา ปาเลสตรีนา (Giovanni Pierluigi da Palestrina) - คีตกวี
- เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต (James Francis Edward Stuart) และโอรสอีกสององค์ ผู้หนีภัยจากอังกฤษ
- ชาลส์ เอ็ดเวิร์ด สจวต (Charles Edward Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต
- เฮนรี เบเนดิกต์ สจวต (Henry Benedict Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต
- สมเด็จพระราชินีนาถคริสตีนาแห่งสวีเดน (Christina of Sweden) ผู้สละราชสมบัติเพื่อเปลี่ยนมานับถือนิกายคาทอลิก
หินอ่อนจากโคลอสเซียม
[แก้]เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 เริ่มสร้างมหาวิหาร พระองค์สั่งซื้อหิน 2,522 เล่มเกวียนจาก โคลอสเซียมที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เงินที่ซื้อหินเอามาจากสมบัติที่ขนมาจากเยรูซาเลมเมื่อเยรูซาเลมเสียเมือง และจากการทำลายโบสถ์โดยนายพลของจักรพรรดิเวสปาเชียน (Vespasian) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิไททัส (Titus) เมื่อ ค.ศ. 70
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Dome". vaticanstate.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-08. สืบค้นเมื่อ 2016-09-08.
- ↑ "จตุรัสมหาวิหารนักบุญเปโตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
- ↑ St. Peter's Basilica, Vatican City sacred-destinations.com (อังกฤษ)
- ↑ St. Peter's Basilica เก็บถาวร 2010-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน aviewoncities.com (อังกฤษ)
- ↑ Boorsch, Suzanne (Winter 1982–1983). "The Building of the Vatican: The Papacy and Architecture". The Metropolitan Museum of Art Bulletin. 40 (3): 4–8.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) (อังกฤษ) - ↑ "University of Alberta Express News". In search of St. Peter's Tomb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-25. สืบค้นเมื่อ 2006-12-25. (อังกฤษ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- saintpetersbasilica.org
- Fullscreen Virtual Tour by Virtualsweden เก็บถาวร 2008-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 12.455138&spn=0.004081, 0.007298&t=h&hl=en ภาพถ่ายจากดาวเทียมของมหาวิหารนักบุญเปโตรใน Google Maps
- St Peter’s Basilica and St Peter’s Tomb
ภาพ
[แก้]-
ด้านหน้า
-
มองจากด้านบนลงมาบริเวณที่ทำพิธี
-
หลังคาซุ้มและโดม
-
โดม
-
แท่นบูชาเอก
-
"Cathedra Petri" และ "Gloria" โดย เบร์นินี
-
โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์มีสามประตู
-
ซุ้ม โดย เบร์นีนี