มหากาพย์กู้แผ่นดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหากาพย์กู้แผ่นดิน



ปกหนังสือ มหากาพย์กู้แผ่นดิน เล่ม 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1

ชื่อไทย มหากาพย์กู้แผ่นดิน
ชื่ออังกฤษ -
ผู้แต่ง อรุณทิวา วชิรพรพงศา
แนวการ์ตูน อิงประวัติศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eqplusmag.com/
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ในไทย สำนักพิมพ์คลีเนทีฟในเครืออีคิวพลัส
ฉายทางทีวี -
จำนวนเล่ม 5 เล่มจบ

มหากาพย์กู้แผ่นดิน เป็นหนังสือการ์ตูนไทยแนวอิงประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คลีเนทีฟในเครืออีคิวพลัส (Cleanative/E.Q.Plus) สตอรี่บอร์ดและเนื้อเรื่อง โดย อรุณทิวา วชิรพรพงศา วาดภาพโดย มนตรี คุ้มเรือน มีจำนวน 5 เล่ม การ์ตูนชุดนี้ยังได้รับรางวัลชมเชยจากรางวัลการ์ตูนนานาชาติ (International Manga Award) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 [1]

เนื้อเรื่อง[แก้]

มหากาพย์กู้แผ่นดินเป็นเรื่องราวในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาต้อง สูญเสียเอกราชให้แก่อาณาจักรตองอู เมื่อปี พ.ศ. 2112 จนถึงการทำสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในปี พ.ศ. 2135 โดยดำเนินเนื้อเรื่องผ่านมุมมองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[1] ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ซึ่งพระองค์ได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตมากมายจากที่นั่น และเป็นจุดสำคัญในการกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ได้มีการแต่งเติมเนื้อเรื่องบางส่วนเพิ่มเข้าไปเพื่อความสนุกสนานในเรื่อง โดยมีข้อมูลกำกับอยู่ท้ายหนังสือแต่ละเล่มด้วยว่า เหตุการณ์ใดมีอยู่จริง เหตุการณ์ใดเป็นเท็จ เพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่าน

การแบ่งตอนในเรื่อง[แก้]

มหากาพย์กู้แผ่นดินแต่ละเล่มจะมีชื่อตอนใหญ่เป็นโครงหลักในการดำเนินเรื่องของเล่มนั้น ซึ่งภายในแบ่งออกตอนย่อยต่างๆ หลายตอน โดยแต่ละเล่มมีชื่อตอนดังนี้

  • เล่มที่ 1 องค์ดำแห่งหงสาวดี ว่าด้วยการตกเป็นองค์ประกันต่อหงสาวดีขององค์ดำ การตัดสินใจของพระมหาธรรมราชา มุมมองที่องค์ดำมีต่อสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และจบที่พระสุพรรณกัลยายอมเป็นองค์ประกันของหงสาวดีแทน เพื่อให้องค์ดำได้กลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
  • เล่มที่ 2 จิ้งจอก พยัคฆา พญาราชสีห์ แกนหลักในเรื่องว่าด้วยสงครามเมืองคังและจิตใจที่ต้องการกู้เอกราชขององค์ดำ เหตุการณ์สำคัญในเรื่องที่ปรากฏได้แก่ การรบกับพระยาจีนจันตุ การสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง การพบกันครั้งแรกระหว่างองค์ดำกับนัตจินหน่องหรือพระสังขทัต และการทำสงครามเมืองคัง
  • เล่มที่ 3 อิสรภาพสู่แผ่นดิน กล่าวถึงเหตุการณ์กบฏเมืองอังวะ แผนการกำจัดองค์ดำของฝ่ายหงสาวดี การประกาศตัดขาดไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไปขององค์ดำ และเหตุการณ์พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
  • เล่มที่ 4 แสงดาบปราบศัตรูพ่าย เนื้อหาอยู่ในช่วงสงครามหลังการประกาศอิสรภาพ เมื่อหงสาวดียกทัพตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 3 ครูดาบนิรนามขององค์ดำว่าได้เปิดเผยตัวตนว่าเป็นแม่ทัพเอกของหงสาวดี ชื่อ ลักไวทำมู ศึกครั้งนี้กลายเป็นบทเรียนสุดท้ายระหว่างครูกับศิษย์ องค์ดำจึงต้องเอาชนะครูดาบผู้นี้ให้ได้เพื่อไปให้ถึงคำตอบที่ทรงมีอยู่ในใจ
  • เล่มที่ 5 มหาสงครามยุทธหัตถี แกนหลักของเรี่องกล่าวถึงเหตุการณ์ยุทธหัตถี

ตัวละคร[แก้]

องค์ดำและพระมหาธรรมราชา

* องค์ดำ (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)

  • พระสุพรรณกัลยา
  • มณีจันทร์
  • พระเจ้าบุเรงนอง
  • พระเจ้านันทบุเรง (มังชัยสิงห์)
  • มังสามเกียด (พระมหาอุปราชมังกะยอชวา)
  • นัตจินหน่อง (พระสังขทัต ราชบุตรพระเจ้าตองอู)
  • พระมหาธรรมราชา
  • พระวิสุทธิกษัตรีย์
  • องค์ขาว (สมเด็จพระเอกาทศรถ)
  • ครูดาบนิรนาม (ลักไวทำมู)
  • พระราชมนู

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Let's List. นิรวาณ คุระทอง. (กันยายน 2554). LET'S Comic. Vol 15. หสน.ห้องภาพสุวรรณ. ISBN 978-131-33172-2-1. หน้า 123