ภาษาอาหรับเอเชียกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับเอเชียกลาง
ประเทศที่มีการพูดอัฟกานิสถาน, อิหร่าน, ทาจิกิสถาน, อุซเบกิสถาน
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (ประมาณ 2,000 ไม่รวมโฆรอซอนี อ้างถึง1997–2003)e13
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Bakhtiari
Bukharian
Kashkadarian
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
abh — ภาษาอาหรับทาจิก
auz — ภาษาอาหรับอุซเบก
ดินแดนแทรกในพื้นที่อัฟกานิสถาน อิหร่าน และอุซเบกิสถานที่ยังคงมีมีผู้พูดภาษาอาหรับเอเชียกลาง ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนหมู่บ้านที่มีผู้พูดภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับเอเชียกลาง (อังกฤษ: Central Asian Arabic; อาหรับ: العربية الآسيوية الوسطى) เป็นสำเนียงของภาษาอาหรับที่ใช้พูดในอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน ปัจจุบันเป็นภาษาที่ใกล้ตายแล้ว เคยใช้พูดระหว่างชุมชนชาวอาหรับและเผ่าต่างๆในเอเชียกลาง ที่อยู่ในซามาร์คันด์ บูคารา กิซกวาดัรยา สุรคันดัรยา (ปัจจุบันอยู่ในอุซเบกิสถาน) และคัตลอน (ปัจจุบันอยู่ในทาจิกิสถาน) รวมไปถึงอัฟกานิสถาน

การอพยพเข้าสู่เอเชียกลางของชาวอาหรับครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามภาษาอาหรับกลายเป็นภาษาทั่วไปทางด้านวิทยาศาสตร์และวรรณคดีอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับในเอเชียกลางส่วนใหญ่จะแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่วและไม่แต่งงานข้ามเผ่า ทำให้ภาษาของพวกเขายังคงอยู่มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อราว พ.ศ. 2423 ชาวอาหรับส่วนใหญ่อพยพจากบริเวณที่เป็นประเทศอุซเบกิสถานและทาจิกิสถานในปัจจุบันไปยังภาคเหนือของอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการรุกรานของรัสเซีย ชาวอาหรับเหล่านี้ ปัจจุบันไม่พูดภาษาอาหรับแต่หันมาพูดภาษาดารีหรือภาษาอุซเบก.[1]ในยุคที่ได้รับอิทธิพลจากโซเวียต โดยชาวอาหรับเหล่านี้ปรับตัวให้เข้ากับชาวพื้นเมืองมากขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2502 พบว่าชาวอาหรับเพียง 34%ที่ยังถือว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ ส่วนใหญ่ถือว่าตนใช้ภาษาอุซเบกหรือภาษาทาจิกเป็นภาษาแม่

ปัจจุบัน ภาษาอาหรับเอเชียกลางที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาท้องถิ่นมากทั้งทางด้านสัทวิทยา คำศัพท์และการเรียงประโยค ยังเหลือผู้พูดเพียง 5 หมู่บ้านในอุซเบกิสถาน แบ่งได้เป็น 2 สำเนียงคือ สำเนียงบูคาเรีย ได้รับอิทธิพลจากภาษาทาจิก และสำเนียงกวาซกาดาร์ยาวี ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มเตอร์กิก ทั้งสองสำเนียงนี้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน[2] ในทาจิกิสถาน มีผู้พูดภาษาอาหรับเอเชียกลาง 35.7% ของชาวอาหรับทั้งหมด ส่วนใหญ่หันไปพูดภาษาทาจิก[3]

อ้างอิง[แก้]