ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับบาห์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับบาห์เรน
العربية البحرانية
ประเทศที่มีการพูดบาห์เรน, โอมาน, อัลเกาะฏีฟ, อัลอะห์ซาอ์
จำนวนผู้พูด730,000  (2001–2013)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Bahrani
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรอาหรับ, Arabic chat alphabet
รหัสภาษา
ISO 639-3abv

ภาษาอาหรับบาห์เรน (Bahrani Arabic หรือ Baharna Arabic) เป็นสำเนียงของภาษาอาหรับที่ชาวบาห์เรนใช้พูดในบริเวณอาระเบียตะวันออกถึงโอมาน[2] ในประเทศบาห์เรน ภาษาย่อยนี้มักมีผู้พูดในหมู่บ้านชีอะฮ์และพื้นที่มานามาบางส่วน ส่วนในซาอุดีอาระเบียมักมีผู้พูดในเขตผู้ว่าการอัลเกาะฏีฟ

ภาษาอาหรับบาห์เรนได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาแอราเมอิกโบราณ, ภาษาซีรีแอก และภาษาแอกแคด[3][4] ลักษณะทางภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยาที่น่าสนใจของภาษานี้อยู่ที่การมีสำเนียงถึงสองสำเนียงหลัก: อาหรับบาห์เรนและซุนนี[5] ชาวบาห์เรนที่นับถือซุนนี้พูดภาษานี้คล้ายกับสำเนียงในเมืองที่กาตาร์.

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาต่างชาติที่มีอิทธิพลทางภาษาศาสตร์ในภาษาย่อยบาห์เรนทั้งหมดมากที่สุด[6] ความแตกต่างระหว่างภาษาอาหรับบาห์เรนและสำเนียงใกล้เคียง เกิดจากความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ของผู้พูดสำเนียงอื่นๆ ในบริเวณนี้เป็นผู้อพยพเข้ามาซึ่งมักจะเป็นชาวเบดูอินเผ่านัจญ์ดี ผู้คนเหล่านี้ปัจจุบันพูดภาษาอาหรับอ่าวที่ต่างจากภาษาอาหรับนัจญ์ดีและภาษาอาหรับของชาวเบดูอินและใกล้เคียงกับภาษาอาหรับบาห์เรนมากกว่า ในบาห์เรน ความแตกต่างหลักระหว่างผู้พูดภาษาอาหรับบาห์เรนและสำเนียงอื่นๆอยู่ที่รูปแบบของไวยากรณ์ และการเน้นหนัก ภาษาอาหรับบาห์เรนมีคำยืมจากภาษาอื่น ๆ จากภาษาฮินดี (เช่น bānka, sōmān ) หรือภาษาอังกฤษ (เช่น lētar, wīl, tēm) รวมทั้งภาษาเปอร์เซียด้วย ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายกับเปอร์เซียในอดีต

ลักษณะเฉพาะ

[แก้]

ภาษาอาหรับบาห์เรนมีความแตกต่างจากภาษาอาหรับมาตรฐานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น q เป็น g (qamar vs gamar 'พระจันทร์'), k เป็น ch ในบางตำแหน่ง (kalb vs chalb 'หมา'). J เป็น y ในบางหมู่บ้าน (jiħħe vs yiħħe 'แตงโม') เสียงท้าย –ah เป็น –e ในบางตำแหน่ง เปลี่ยนเสียง th และ dh เป็น f และ d ไวยากรณ์ของภาษาอาหรับบาห์เรนใกล้เคียงกับภาษาอาหรับอ่าว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Arabic, Baharna Spoken". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
  2. "Arabic, Baharna Spoken". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  3. Jastrow, Otto (2002). Non-Arabic Semitic elements in the Arabic dialects of eastern Arabia. Clive Holes. pp. 270–279. ISBN 9783447044912.
  4. Holes, Clive (2001). Dialect, Culture, and Society in Eastern Arabia: Glossary. Clive Holes. pp. XXIX–XXX. ISBN 9004107630.
  5. Bassiouney, Reem (2009). "5". Arabic Sociolinguistics. Edinburgh: Edinburgh University Press. pp. 105–107.
  6. Dialect, Culture, and Society in Eastern Arabia: Glossary. Clive Holes. 2001. Page XXX. ISBN 90-04-10763-0

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]