ภาษาสิเลฏี
ภาษาสิเลฏี | |
---|---|
ꠍꠤꠟꠐꠤ সিলেটি Silôţi | |
ออกเสียง | [silɔʈi] |
ประเทศที่มีการพูด | บังกลาเทศ, อินเดีย, ตะวันออกกลาง, สหราชอาณาจักร |
จำนวนผู้พูด | 10,300,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ระบบการเขียน | อักษรสิเลฏินาครี, อักษรเบงกอล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | inc |
ISO 639-3 | syl |
ภาษาสิเลฏี (ชื่อในภาษาของตนเอง সিলটী Silôţi; ภาษาเบงกอล সিলেটী Sileţi) เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวสิลเหตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ และทางใต้ของรัฐอัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาเบงกอลจนอาจจะถือเป็นสำเนียงได้ ชาวสิลเหตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกามรูปในสมัยโบราณ [1]มีลักษณะของภาษาอัสสัม เช่น การคงอยู่ของเสียงเสียดแทรกมากกว่าภาษาในอินเดียตะวันออกอื่นๆ มีการเขียนด้วยอักษรเบงกอลในปัจจุบัน[2] ภาษาสิเลฏิเป็นภาษาที่เน้นเสียงท้ายคำ และมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเบงกอลและภาษาอัสสัม ผู้พูดภาษาสิเลฏิในบังกลาเทศจะได้รับอิทธิพลจากภาษาเบงกอลสำเนียงมาตรฐานมาก
ประวัติ[แก้]
ภาษาสิเฏิ เขียนด้วยอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรสิเลฏินาครี และมีงานวรรณกรรมเขียนด้วยอักษรนี้ไม่ต่ำกว่า 200 ปี อักษรนี้ต่างจากอักษรเบงกอลเพราะเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรไกถี หรืออักษรไมถิลีในรัฐพิหาร ส่วนใหญ่ใช้เขียนกวีนิพนธ์ทางศาสนา ในช่วงสงครามปลดปล่อย พ.ศ. 2514 หนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้ถูกทำลาย หลังจากที่บังกลาเทศได้รับเอกราช รัฐบาลใหม่พยายามสนับสนุนให้ใช้อักษรเบงกอล แต่ก็มีการต่อสู้เพื่อสิทธิของภาษาสิเลฏิ ชาวสิเลฏิได้รณรงค์ให้ใช้ภาษาของตนเอง
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์[แก้]
มีผู้พูดภาษาสิเลฏิราว 10 % ของประชากรบังกลาเทศ ใช้พูดในแถบแม่น้ำสุมาร์ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนระหว่างบังกลาเทศและอินเดีย มีผู้พูดทั้งในบังกลาเทศ และบางส่วนในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีผู้ใช้ภาษานี้ราว 10 ล้านคน โดยอยู่ในบังกลาเทศ 8 ล้านคน นอกจากบังกลาเทศและอินเดียแล้ว ผู้พูดภาษานี้กลุ่มใหญ่อยู่ในสหราชอาณาจักร ชาวสิเลฏิอพยพไปสู่ลอนดอนมากในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 ชาวบริติชเชื้อสายบังกลาเทศในอังกฤษส่วนใหญ่พูดภาษาสิเลฏิ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐด้วย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Edward Gait, History of Assam, p274
- ↑ http://www.sylheti.org.uk/page2.html Sylheti Literature โดย Sylheti Translation And Research ดึงข้อมูลเมื่อ 2007-04-24