ฟาโรห์อานาต-เฮร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อานาต-เฮร์ (หรือ อานาต-ฮาร์) อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ทรงปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองในฐานะข้าราชบริพารของฟาโรห์ชาวฮิกซอสจากราชวงศ์ที่สิบห้า[2][3] อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังมีการโต้แย้งอยู่ โดยคิม ไรฮอลต์ และดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยา เชื่อว่า อานาต-เฮร์ ทรงเป็นหัวหน้าเผ่าจากคานาอันร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบสองที่เรืองอำนาจในขณะนั้น[4] ส่วนคนอื่น ๆ เช่น เอ็น. จี. แอล. แฮมมอนด์ ได้ยืนยันว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายจากราชวงศ์ที่สิบห้า[5] พระนามของพระองค์มีความหมายว่า หมายถึง "เทพีอานาตทรงพอพระทัย" และเทพีอานาต เป็นเทพีในศาสนาของกลุ่มชาวเซมิติก ซึ่งแสดงว่าพระองค์ทรงมีเชื้อสายคานาอัน

หลักฐานยืนยัน[แก้]

อานาต-เฮร์ ทรงได้รับการยืนยันด้วยตราประทับแมลงสคารับจำนวนสองชิ้น[6] หนึ่งในนั้นทำจากหินสบู่และอาจจะมีต้นกำเนิดมาจากเมืองบูบาสทิสในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[1] ไม่ปรากฏพระนามของพระองค์อยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่ปรับปรุงใหม่ในช่วงสมัยรามเสส และเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง

ผู้ปกครอง เจ้าชาย หรือหัวหน้าเผ่า[แก้]

ผู้ปกครอง[แก้]

ตราประทับดังกล่าวได้ระบุว่า พระองค์ทรงพระราชอิสริยยศเป็นเฮกา-คาซุต ซึ่งแปลว่า "ผู้ปกครองแห่งต่างแดน" ซึ่งถือเป็นพระราชอิสริยยศที่ใช้ในผูปกครองชาวฮิกซอสในช่วงแรก ดังนั้น เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราท จึงเสนอความเห็นว่า อานาต-เฮร์ ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ของราชวงศ์ที่สิบหก และทรงเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้า[2] แต่อย่างไรก็ตาม การตีความใหม่ราชวงศ์ที่สิบหกว่าเป็นการจัดกลุ่มของข้าหลวงของผู้ปกครองชาวฮิกซอวนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักไอยคุปต์วิทยาบางคนรวมถึง ไรฮอล์ท, ดาร์เรล เบเกอร์ และจานีน บูร์เรียว เชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบหกได้ปกครองบริเวณธีบส์อย่างเป็นอิสระราวประมาณ 1650 – 1580 ปีก่อนคริสตกาล

เจ้าชาย[แก้]

ตราประทับดังกล่าวไม่พบระนามของพระองค์อยู่วงคาร์ทูช และไม่ปรากฏหลักฐาน ดังนั้น พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ เอ็น. จี. แอล. แฮมมอนด์ จึงเสนอว่าพระองค์อาจจะทรงเป็นเจ้าชายชาวฮิกซอส[5] ในช่วงการขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์ที่สิบห้าที่อะวาริส[7]

หัวหน้าเผ่า[แก้]

หลังจากหลักฐานที่ไม่ปรากฏพระนามในคาร์ทูช คิม ไรฮอล์ทยังให้เหตุผลว่า พระองค์ทรงไม่เคยขึ้นครองราชย์ในฐานะผู้ปกครองของอียิปต์ล่าง นอกจากนี้ ไรฮอล์ทยังชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและการออกแบบของตราประทับของพระองค์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นตราประทับที่สร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง ดังนั้น ไรฮอล์ทจึงให้เหตุผลว่า พระองค์ทรงเป็นหัวหน้าเผ่าจากคานาอันร่วมสมัยกับราชวงศ์ดังกล่าวและผู้ที่อาจจะมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอียิปต์[4] ตามคำกล่าวของไรฮอล์ท พระนาม เฮกา-คาซุต ซึ่งเป็นข้อโต้เถียงหลักสำหรับช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สิบห้า ซึ่งยังพบในตราประทับจากราชวงศ์ที่สิบสองและสิบสี่ และไม่สามารถใช้เพื่อระบุช่วงเวลาที่ทรงมีพระชนม์ชีพของพระองค์ได้อย่างแน่ชัด[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Fraser, G.W. , A catalogue of scarabs belonging to George Fraser (cat. no. 180). London, Bernard Quaritch, 1900.
  2. 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 116–117
  3. William C. Hayes, The Cambridge Ancient History (Fascicle): 6: Egypt: From the Death of Ammenemes III to Seqenenre II, CUP Archive, 1962, p 19
  4. 4.0 4.1 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  5. 5.0 5.1 Nicholas Geoffrey Lempriere Hammond, Cyril John Gadd, Edmond Sollberger, History of the Middle East and the Aegean region C. 1800-1380 B.C., Cambridge University Press, 1970 p 58
  6. 6.0 6.1 Geoffrey Thorndike Martin: Egyptian administrative and private-name seals, principally of the Middle Kingdom and Second Intermediate Period, Griffith Institute 1971, ISBN 978-0900416019, see p. 30, seals No. 349 & 350
  7. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 73