ฟันคุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟันคุด
A digital X-ray film revealing an impacted permanent canine. The small tooth (bottom center) is the primary canine that has not fallen out because the permanent canine has become impacted in an abnormal direction.
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10K01
ICD-9520.6

ฟันคุด (อังกฤษ: tooth impaction) คือฟันที่งอกออกมาจากกรามไม่ได้ เพราะไม่มีที่จะให้งอกออกมา สาเหตุที่ฟันงอกออกมาไม่ได้นั้น มีการตั้งข้อสันนิษฐานจากทฤษฎีที่ว่าด้วยการใช้และไม่ใช้ กล่าวคือ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง กรามและฟันที่มีขนาดใหญ่และเคยใช้งานเพื่อกัดและฉีกอาหารที่เหนียว เช่น เนื้อดิบ รากไม้ นั้น ปัจจุบันมนุษย์ได้ลดการใช้ฟันในลักษณะดังกล่าวลง จึงทำให้ฟันและกรามมีขนาดเล็กลง ไม่มีพื้นที่พอจะให้ฟันกรามซี่สุดท้ายงอกออกมาได้ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดฟันคุดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

ผลของการไม่ผ่าฟันคุดออกให้ทันท่วงทีมีดังนี้[แก้]

1.เหงือกที่อยู่บริเวณโดยรอบฟันคุดอาจเกิดการอักเสบ ปวด บวม ซึ่งบางคนเป็นๆหายๆนานวันผ่านไปอาจพัฒนากลายเป็นเนื้อร้าย

2.เป็นที่กักเศษอาหาร และเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคภายในช่องปาก ทำให้ปากมีกลิ่นตลอดเวลา และเป็นเหตุให้ฟันซี่ที่อยู่หน้าฟันคุด ซึ่งเป็นฟันที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหารเกิดการผุลุกลาม จนทำให้เกิดโรคปริทันต์ หากปล่อยไว้เนิ่นนานอาจต้องทำการรักษาโดยการถอนฟันที่มีปัญหาดังกล่าวทิ้งไป

3.ผู้ที่มีฟันคุดหลายคนลงความเห็นว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะด้านที่มีฟันคุดแบบพุ่งชนมาด้านหน้า หรือรากยาวผิดปกติ บางท่านมีอาการปวดตึงที่ฟันกรามอยู่ตลอดเวลาโดยไม่สามารถระบุอย่างแน่ชัดได้ว่ามาจากฟันซึ่ไหน

4.จากการสังเกตคนไข้หลายรายที่มีฟันคุดเพียงด้านเดียว (อีกด้านถูกถอนไปแล้วหรือไม่มีฟัน)จะมีอาการทางเส้นประสาทใบหน้าเช่นยิ้มปากเบี้ยว,ปวดเสียวปลายประสาทใบหน้าบ่อยๆ ด้านที่มีฟันคุด

5.ผู้ที่มีฟันคุดแล้วหากปล่อยทิ้งไว้มักเกิดการซ้อนเกของฟันหน้าล่าง เชื่อว่าเกิดจากแรงดัน (Push-Force) ของฟันคุดมาทางด้านหน้า ซึ่งนำมาด้วยปัญหาหินน้ำลายเกาะมากที่บริเวณดังกล่าว เพราะทำความสะอาดยาก อันเนื่องมาจากการซ้อนกันของฟันเก

คำแนะนำหลังการรักษา[แก้]

1.กัดผ้าพันแผลแน่นพอกระชับ

2.ประคบน้ำแข็งหลังการผ่าตัดบริเวณข้างแก้ม(ไม่ควร/ห้ามอมน้ำแข็ง-หลังวันแรกของการผ่าตัด)

3.ทานยาปฏิชีวนะและยาต้านอาการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้ออันเนื่องมาจากขั้นตอนของการรักษา

4.ประคบน้ำอุ่นในวันถัดมาหากเกิดอาการบวม หรือ ปวดตึงบริเวณแผลผ่าตัด

5.ตัดไหมประมาณ 1 สัปดาห์ให้หลัง

6.หากเกิดอาการชาริมฝีปาก หรือลิ้น อาจให้ทานวิตามิน B1,6,12(ตามปริมาณการใช้ที่หมอแนะนำอย่างเคร่งครัด)

อ้างอิง[แก้]