ฟอเรสต์ซิตี (รัฐยะโฮร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวนครฟอเรสต์ซิตีจากทางหลวง ทางขวาเห็นอาคารคาร์เนเลียนทาวเวอร์ (Carnelian Tower) ซึ่งเป็นจุดหมายตาหนึ่งของเมือง

ฟอเรสต์ซิตี (อังกฤษ: Forest City) เป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบผสมผสานและเมืองเอกชน ตั้งอยู่ในอิสกันดาร์ ปูเตอรี รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย บนพื้นที่ 1,370 เฮกเตอร์ โครงการนี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2006 ในฐานะโครงการระยะเวลายี่สิบปี และเสนอครั้งแรกที่เบลต์แอนด์โร้ดอินนิชิเอทีฟของประเทศจีน[1]

โครงการได้รับการอนุมัติโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจิบ ราซัก ในปี 2016 ภายใต้การอนุมัติของสุลต่านแห่งยะโฮร์ อิบราฮิม อิสมาอิล[2] ฟอเรสต์ซิตีเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง Esplanade Danga 88 บริษัทสาขาของบริษัท Kumpulan Prasarana Rakyat Johor (KPRJ) ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐ ร่วมกัย คันทรีการ์เดนโฮลดิง (CGPV) โดยที่ CGPV ถือหุ้น 60% ส่วน KPRJ ถือหุ้นที่เหลือ 40 %[3] ฟอเรสต์ซิตีอยู่ภายใต้การดูแลโดยสภานครอิสกันดาร์ปูเตอรี และ องค์การพัฒนาท้องถิ่นภูมิภาคอิสกันดาร์

โครงการฟอเรสต์ซิตีเป็นโครงการที่เป็นที่ครหาอย่างมากในสังคม เป้าหมายหลักของโครงการหลัก ๆ แล้วไม่ใช่ชาวมาเลเซีย แต่กลับเป็นชนชั้นกลางตอนบนจากจีนที่กำลังมองหาการกระจายความมั่งคั่งไว้ในต่างแดน ผ่านการเสนอขายอสังหาริมทรัพย์ริมทะเลที่ราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับเมืองชายฝั่งในจีนอย่างเซี่ยงไฮ้[4][5] อย่างไรก็ตาม ยอดขายจากจีนได้ชะงักลงหลังสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนประกาศใช้นโยบายควบคุมเงินตรา ซึ่งมีกำหนดยอดใช้จ่ายนอกประเทศจีนของพลเมืองจีนอยู่ที่ไม่เกิน 50,000 ดอลล่าร์สหรัฐ[5][6] ยอดขายที่ตกต่ำถูกทำให้แย่ลงอีกด้วยวิกฤตการเมืองในประเทศมาเลเซียและการระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้โครงการมีผู้บรรยายไว้ว่าเป็น "เมืองร้าง" ในปี 2022[7][8] โครงการนี้ยังสร้างบนที่ดินถมขึ้นมาใหม่ ยังถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าทำให้เกิดการทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์และพืชในพื้นที่[9]

ถึงแม้จะทำการตลาดไว้เป็น "นครนอกชายฝั่ง ที่ก่อมลภาวะต่ำ อนุรักษ์ผืนดิน ตอบสนองต่อระบบนิเวศ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ" ("an energy-efficient, ecologically sensitive, land-conserving, low-polluting offshore city") แต่โครงการนี้กลับสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก โดยเฉพาะการถมที่ดินขึ้นมาบนพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งซึ่งมีความไวมากในเชิงระบบนิเวศ (ecologically sensitive coastal wetlands) โครงการนี้จึงสร้างความเสียหายที่มิอาจกู้คืนได้ให้แก่ระบบนิเวศในบริเวณนั้น[4][10]

ข้อมูลจากเดือนมิถุนายน 2023 มีบริการความบันเทิงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จได้แก่ โรงแรมฟอเรสต์ซิตีมารีน่า (Forest City Marina Hotel), โรงแรมกอล์ฟฟอเรสต์ซิตี (Forest City Golf Hotel)[11], สนามกอล์ฟเลกาซี แจ็ก นิกกลาวส์ (Jack Nicklaus Legacy Course) เปิดให้บริการในปี 2018 บนพื้นที่ 7,386 หลา เป็นสนามกอล์ฟ พาร์-72 ที่กินพื้นที่ผ่าป่าชายเลน ผลงานออกแบบโดยแจ็ก นิกกลาวส์ (Jack Nicklaus) และบุตร แจ็ก นิกกลาวส์ ที่สอง (Jack Nicklaus II)[12], สนามกอล์ฟคลาสสิก เลียง กัว คุน (Liang Guo Kun Classic Course) เปิดให้บริการในปี 2019 ผลงานออกแบบโดย เลียง กัว คุน (Liang Guo Kun)[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bloomberg News (23 June 2017). "The $100 Billion City Next to Singapore Has a Big China Problem". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
  2. "Malaysia's Forest City to hand over more than 20,000 residential units this year as it unveils new golf course". South China Morning Post. 9 Sep 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2020. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  3. "Forest City, Country Garden Pacificview". 13 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2020. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  4. 4.0 4.1 Saha, Sagatom (21 November 2019). "Chinese Companies Are Worse at Business Than You Think". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2020. สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ monga
  6. Ryan, Ong (14 April 2017). "The Forest City debacle: 4 lessons to learn buying overseas property". 99.co. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  7. Descalsota, Marielle. "Malaysia's $100 billion luxury estate was supposed to be a 'living paradise.' Instead, 6 years into development, it's a ghost town full of empty skyscrapers and deserted roads — take a look". Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  8. Mohamad Sani, Ahmad Sadiq (16 May 2022). "The ghost town of Forest City". MalaysiaNow (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  9. Shaw, Albert; Ourbis, Sylvian. "Malaysia's Forest City and the Damage Done". thediplomat.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  10. Adis, Khalil. "Study: Forest City project has done more harm than good". www.khaliladis.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
  11. "Forest City maintain quality of courses". The Star (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.
  12. "More to beauty of Legacy Course than meets the eye". www.thesundaily.my (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.
  13. "Forest City Golf Resort - LGK Classic Course". planetgolf.com. สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.