ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง
เส้นทางการเดินทางในข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง | |
ก่อตั้ง | 2013 ค.ศ. 2017 (ประชุม) |
---|---|
วัตถุประสงค์ | สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค |
ที่ตั้ง |
|
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | เอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลาง, อเมริกา |
ผู้นำ | สี จิ้นผิง, หลี่ เค่อเฉียง |
ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง (อังกฤษ: Belt and Road Initiative) หรือเดิมเรียก หนึ่งเข็มขัด หนึ่งเส้นทาง (อังกฤษ: One Belt One Road; จีน: 一带一路) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั่วโลกที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้ในปี 2556 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและองค์การระหว่างประเทศเกือบ 70 แห่ง[1][2] ถือเป็นศูนย์กลางของนโยบายต่างประเทศของสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3]
"เข็มขัด" หมายถึง เส้นทางทางบกสำหรับการขนส่งทางถนนและราง เรียก "เข็มขัดเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม" ส่วน "ถนน" หมายความถึง เส้นทางทะเล หรือเส้นทางสายไหมทางทะเลคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2560[3]
รัฐบาลจีนเรียกข้อริเริ่มนี้ว่าเป็น "การประมูลราคาเพื่อเสริมการเชื่อมถึงกันในภูมิภาคและรับอนาคตที่สว่างไสว"[4] ผู้สังเกตการณ์บางคนมองว่าเป็นแผนการครองโลกของจีนสำหรับเครือข่ายการค้าทั่วโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง โครงการนี้มีวันที่แล้วเสร็จที่กำหนดไว้ในปี 2592[5] ซึ่งประจวบกับการครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Belt and Road Initiative". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
- ↑ "Overview – Belt and Road Initiative Forum 2019". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "The pandemic is hurting China's Belt and Road Initiative". The Economist. 4 June 2020. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
- ↑ "China unveils action plan on Belt and Road Initiative". Gov.cn. Xinhua. 28 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2018. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
- ↑ "CrowdReviews Partnered with Strategic Marketing & Exhibitions to Announce: One Belt, One Road Forum". PR.com. 25 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.