พ่อรวยสอนลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อรวยสอนลูก  
Rich Dad Poor Dad.jpg
ผู้ประพันธ์โรเบิร์ต คิโยซากิ, ชารอน แอล. เลชเตอร์
ศิลปินปกโจ ทาจิ
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ชุดซีรีส์พ่อรวย
ประเภทการเงินส่วนบุคคล, ความเป็นผู้ประกอบการ, ธุรกิจ, การลงทุน, เศรษฐศาสตร์
สำนักพิมพ์วอร์เนอร์บุ๊กเอ็ด
วันที่พิมพ์1 เมษายน ค.ศ. 2000
ชนิดสื่อปกแข็งและปกอ่อน
หน้า207 หน้า
ISBN0-446-67745-0
OCLC43946801
332.024 22
LC ClassHG179 .K565 2000

พ่อรวยสอนลูก (อังกฤษ: Rich Dad Poor Dad) เป็นหนังสือ ค.ศ. 1997 ที่เขียนโดยโรเบิร์ต คิโยซากิ และชารอน เลชเตอร์ ซึ่งสนับสนุนความสำคัญของการรู้หนังสือทางการเงิน (การศึกษาทางการเงิน), อิสรภาพทางการเงิน และสร้างความมั่งคั่งด้วยการลงทุนในทรัพย์สิน, การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์, การเริ่มต้นและการเป็นเจ้าของธุรกิจ รวมถึงการเพิ่มความฉลาดทางการเงิน (ไอคิวทางการเงิน) เพื่อปรับปรุงธุรกิจและความสามารถทางการเงิน โรเบิร์ต คิโยซากิ ออกหนังสือตามมาคือพ่อรวยสอนลูก #2 เงินสี่ด้าน และพ่อรวยสอนลงทุน เขามีหนังสืออย่างน้อยหนึ่งโหลที่ได้รับการตีพิมพ์

พ่อรวยสอนลูกได้รับการเขียนในสไตล์ของนิทานคติสอนใจ โดยอิงจากชีวิตของคิโยซากิที่แสดงแก่คนทั่วไป[1] บุคคลในฐานะ "พ่อรวย" เป็นพ่อของเพื่อนที่สะสมความมั่งคั่งอันเนื่องมาจากการประกอบการและการลงทุนที่ชาญฉลาด ในขณะที่ "พ่อจน" ซึ่งเป็นพ่อของคิโยซากิ ซึ่งเขาบอกว่าทำงานหนักมาตลอดชีวิต แต่ไม่เคยได้รับความมั่นคงทางการเงิน ไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยว่าพ่อรวย ชายผู้ให้คำแนะนำคิโยซากิทั้งหมดสำหรับการใช้ชีวิตที่ร่ำรวยนั้น เคยมีอยู่จริงหรือไม่ และไม่เคยมีใครมีพยานหลักฐานถึงความมั่งคั่งมากมายมหาศาลที่ได้รับโดยคิโยซากิก่อนที่จะมีการเผยแพร่พ่อรวยสอนลูกในปี ค.ศ. 1997[2]

การตอบรับ[แก้]

การยกย่องและสนับสนุน[แก้]

พ่อรวยสอนลูกมียอดขายมากกว่า 32 ล้านเล่ม[3] ในกว่า 51 ภาษาในกว่า 109 ประเทศ โดยอยู่ในอันดับหนังสือขายดีเดอะนิวยอร์กไทมส์มานานกว่าหกปี[4] โดยเปิดตัวซีรีส์หนังสือและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์บางส่วน[5] พิธีกรรายการทอล์กโชว์อเมริกันและเจ้าแม่สื่ออย่างโอปราห์ วินฟรีย์ ได้รับรองหนังสือในรายการของเธอ ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงเป็นนักแสดง วิลล์ สมิธ ผู้ซึ่งบอกว่าเขาสอนลูกชายเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางการเงินโดยการอ่านหนังสือ[6] สถานีโทรทัศน์สาธารณะพีบีเอส โคเซ ได้ออกอากาศรายการนำเสนอโรเบิร์ต คิโยซากิ 55 นาทีในหัวข้อ "แนวทางสู่ความมั่งคั่ง" ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งสรุปสาระสำคัญหนังสือพ่อรวยสอนลูกของเขาเป็นหลัก พีบีเอสยังให้เกียรติโรเบิร์ต คิโยซากิ ด้วยรางวัลความเป็นเลิศด้านการศึกษาในปี ค.ศ. 2005[7] นอกจากนี้ ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ร่วมการประพันธ์กับคิโยซากิในปี ค.ศ. 2006 ในผลงานชื่อชวนคุณให้รวย และหนังสือเล่มที่สองชื่อว่าผู้ประกอบการมือทอง ในปี ค.ศ. 2011[8] ส่วนผู้ประกอบการแฟชั่นอเมริกันและนักลงทุน เดย์มอนด์ จอห์น เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่เขาโปรดปราน[9] และแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน บิ๊ก เค.อาร์.ไอ.ที. ได้ทำเพลงที่ชื่อว่า "ริชแดดพูรแดด" แม้ว่ามันจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังสือก็ตาม[10]

การวิจารณ์[แก้]

จอห์น ที. รีด ซึ่งเป็นคนติเตียนของโรเบิร์ต คิโยซากิ กล่าวว่า "พ่อรวยสอนลูกมีคำแนะนำที่ผิดมาก, มีคำแนะนำที่แย่มาก มีคำแนะนำบางอย่างที่เป็นอันตราย และแทบไม่มีคำแนะนำที่ดีเลย" นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า "พ่อรวยสอนลูกเป็นหนึ่งในหนังสือแนะนำทางการเงินที่งี่เง่าที่สุดที่ผมเคยอ่าน มันมีข้อผิดพลาดทางข้อเท็จจริงมากมาย และรายงานของเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย"[11] ซึ่งคิโยซากิให้การโต้แย้งกับบางคำแถลงของรีด[12] ส่วนร็อบ วอล์กเกอร์ ซึ่งเป็นผู้วิจารณ์ตำหนิ กล่าวว่าหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยเรื่องไร้สาระ และบอกว่าคำกล่าวอ้างของคิโยซากิมักจะคลุมเครือ, การเล่าเรื่อง "เหมือนปั้นน้ำเป็นตัว" และหนังสือเล่มนั้นส่วนมากก็คือ "พัฒนาตัวเองแบบสำเร็จรูป" การสังเกตลักษณะทั่วไปที่คาดการณ์ได้ของหนังสือดังกล่าวปรากฏในพ่อรวยสอนลูก นอกจากนี้เขายังวิจารณ์ข้อสรุปของคิโยซากิเกี่ยวกับชาวอเมริกัน, วัฒนธรรมอเมริกัน และวิธีการของคิโยซากิ[1]

ความสำเร็จในการพิมพ์[แก้]

เดิมหนังสือเล่มนี้ได้มีการจัดพิมพ์เองในปี ค.ศ. 1997 ก่อนที่จะได้รับการยกขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ที่กลายเป็นหนังสือขายดีของนิวยอร์กไทมส์ ซึ่งมียอดขายกว่า 32 ล้านเล่ม และมาเป็นชื่อเสียงประจำบ้าน[13] ในหนังสือเสียงของเขา เลือกที่จะรวย คิโยซากิกล่าวว่าผู้จัดพิมพ์ทุกรายทำให้เขาผิดหวัง และบานส์แอนด์โนเบิลปฏิเสธที่จะจัดให้มีสินค้าหนังสือเล่มนี้ในตอนแรก เขาให้ความสำคัญกับรายการทอล์กโชว์และรายการวิทยุ ซึ่งดิโอปราห์วินฟรีย์โชว์มีอิทธิพลอย่างมากต่อยอดขายหนังสือ[14] ส่วนในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 พ่อรวยสอนลูกฉบับครบรอบ 20 ปี ได้รับการตีพิมพ์ และในบทนำของฉบับครบรอบ 20 ปี โรเบิร์ต ที. คิโยซากิ ยืนยันว่ามีการจำหน่ายหนังสือประมาณ 40 ล้านเล่มทั่วโลก[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Walker, Rob. "If I Were a Rich Dad" in Slate, June 20, 2002.
  2. Olen, Helaine. "Rich Dad, Poor Dad, Bankrupt Dad? Cc;JoeChege". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-02.
  3. "Top Selling Personal Finance Book of All Time; Rich Dad Poor Dad NOW Available for FREE Download!". www.businesswire.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  4. "New York Times Best Selling Author of Rich Dad Poor Dad Robert Kiyosaki" (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  5. "Rich Dad, Poor Dad Review - Revisited Ten Years Later". Investor Junkie. สืบค้นเมื่อ 24 January 2016.
  6. Will Smith on making his kids read Rich Dad Poor Dad. 24 September 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2016 – โดยทาง YouTube.
  7. "PBS Honors The Rich Dad Company with Excellence In Education Award – Press Releases on CSRwire.com". www.csrwire.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  8. Susanna Kim (Oct 12, 2012). "'Rich Dad, Poor Dad' Author Files for Bankruptcy for His Company". ABC News. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  9. "The Making of FUBU — An Interview with Daymond John". Tim Ferriss. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  10. "Video: Big K.R.I.T. Explains the "Rich Dad Poor Dad" Video". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-31. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  11. Reed, John T. (September 3, 2015). "Spare us the finance evangelists and their false profits". สืบค้นเมื่อ 2015-09-03.
  12. Robert Kiyosaki. "Robert Kiyosaki's Public Response to John T. Reed's Review of "Rich Dad Poor Dad"". สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
  13. "GURUSPEAK : Robert Kiyosaki". The Financial Express. สืบค้นเมื่อ 24 January 2016.
  14. Choose to be Rich, Audiobook ASIN: B000CSXWXW
  15. Kiyosaki, Robert T. (2017). Rich Dad, Poor Dad. Plata Publishing. p. 7. ISBN 9781612680194.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Rich Dad Poor Dad: What the Rich Dad Teach Their Kids About Money That the Poor and Middle Class Do Not!, by Robert Kiyosaki and Sharon Lechter. Warner Business Books, 2000. ISBN 0-446-67745-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]