พูดคุย:ศาสนาพุทธ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาพุทธ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ศาสนาพุทธ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
ศาสนาพุทธ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความ[แก้]

เกี่ยวกับชื่อบทความ ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/การตั้งชื่อหมวดหมู่-บทความศาสนา --octahedron80 14:23, 12 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

English Buddhism Page[แก้]

I'm helping write the English Buddhism page. I think the input of somebody from a Buddhist country would really help. Please join in here: http://en.wikipedia.org/wiki/Buddhism 98.64.30.248 05:05, 18 มิถุนายน 2551 (ICT)

แทรกความคิดส่วนตัวมาก[แก้]

บทความแทรกความคิดส่วนตัวมาก ไม่วิชาการเสียเลย. --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.91.19.194 (พูดคุย | ตรวจ) 13:02, 22 กันยายน 2552 (ICT)

ช่วยชี้ให้เห็นด้วยนะครับ ไม่ใช่กล่าวกันลอย ๆ อย่างไรก็ตามคุณก็สามารถช่วยแก้ไขได้ ไม่ต้องบ่นอย่างนี้ --octahedron80 13:10, 22 กันยายน 2552 (ICT)

ผิดหลายเรื่องนะครับ เช่น ธาตุลมไม่ใช่ gas ซึ่งเป็นบัญญัติ, แต่วาโยธาตุหมายถึงแรงเคลื่อนไหว ที่มีอยู่ในกลาปนั้นๆ (ดู ลักขณาทิจตุกกของวาโย), จริยธรรมที่เขียนในบทความนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก จริยธรรมในพระไตรปิฎก กว้างขวางกว่านี้มาก เช่น จริยานานัตตญาณนิทเทส ในปฏิสัมภิทามรรค, และใช้ในเรื่องกรรมบถ เช่น ทานัญจะ ธัมมจริยัญจะ ในขุททกปาฐะและสุตตนิบาต, เรื่องไตรลักษณ์ คนเขียน อ่านเองแล้วเข้าใจไหม ถ้าเข้าใจ ผมจะถามว่า ไตรลักษณ์ เป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ ? เอาหลักฐานชัดๆมาแสดงด้วย เป็นต้น ครับ.

ไปพิจารณาดู ครับ, ผมไม่แก้ เพราะผมแก้ได้ คนอื่นก็มาแก้ทับได้เหมือนกัน, สู้ชี้หลักฐานลงไปดีกว่า. --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.91.19.194 (พูดคุย | ตรวจ) 11:38, 12 ตุลาคม 2552 (ICT)

จริยธรรม[แก้]

เรื่องจริยธรรมเขาอธิบายแล้วว่าไม่ได้หมายถึงจริยธรรมในพระไตรปิฎกแต่หมายถึงจริยธรรมสากลของนานาศาสนาที่เน้นเฉพาะหน้าที่ ส่านธาตุลมใครเขาก็รู้ในระดับบริสุทธว่าไฟ คืออบอุ่น ลมเคลื่อนไหว น้ำเกาะกุมแต่เขาอธิบายให้คนรู้น้อยกว่าคุณเข้าใจครับ บทความนี้เขาจะเน้นความเป็นสากลของศาสนาพุทธในรูปศาสนาเปรียบเทียบเทียบครับ จึงต้องมีนิยามที่อธิบายอภิปรัชญาพุทธ เช่นเต่ามีหยินหยาง อิสลามมีอัลเลาะห์ครับ ชื่อเทป

  • ผมคิดว่าถ้าจะกล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นสากล รบกวนเพิ่มแหล่งอ้างอิงครับ เรื่องพวกนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ไม่ใช่กล่าวอ้างลอย ๆ --Horus | พูดคุย 20:30, 15 มกราคม 2553 (ICT)
    • "ใครเขาก็รู้" จริงเหรอครับ ผมอ่านแล้วไม่เห็นจะรู้เรื่องเลยสักนิดเดียว :) --octahedron80 22:33, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

ถ้าอย่างนั้นก็กำหนดเพียงแค่จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม ในส่วนของจำกัดความแค่พจนานุกรมน่าจะเพียงพอ ดีกว่า ไม่เน้นจริยธรรมของพุทธศาสนาซึ่งกว้าง แต่แค่จริยธรรม คือธรรมที่ควรประพฤติ คุณธรรม ธรรมที่เป็นความดี ศิลธรรม สีลข้อห้าม ธรรมข้อควรกระทำ ดีกว่าไหมครับ (ขอความเห็น ) ถ้าคิดว่าอะไรผิดก็แก้ครับ เพื่อเห็นแก่ศาสนาครับ ไม่ใช่ว่าไปเฉยๆครับ สารานุกรม มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านควบคุมอยู่ขนาดผมลง บทความก็ไม่ใช่จะผ่านง่ายๆถ้ามันไม่เป็นสารานุกรม นะครับ ไตรลักษณ์นี้ผมว่าเป็นปรมัตถ์นะ เพราะเป็รสภาวะแท้ ไม่ใช่สมมุติที่ป็นบัญญัติแน่ ดังนั้นจัด อริยสัจจ์ในปรมัตถ์น่าจะถูกต้องแล้ว หรือคิดเห็นกันว่าไงครับนักปราขญ์ทุกท่าน

ผมว่าจัดแบบใหม่มันใช้เฟ้อไปนะครับ หลักการสำคัญมากไป อีกทั้งตัดพีชนิยามออกไป คิดว่าคนที่รู้พุทธศาสนาน้อยจะไม่เข้าใจแน่ๆ ข้ออนุญาติแก้นะครับ

  • วิกิพีเดียต้องการเขียนในเชิงวิชาการครับ ความคิดเห็นขอละไว้หน่อย --Horus | พูดคุย 20:18, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
    • ประเด็นของบทความนี้คือ "พระพุทธศาสนา" ควรมีแต่คำสอนเด่นๆที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ถ้าเรากล่าวเกินไปถึงศาสนาอื่นมันก็นอกประเด็นไปแล้ว อีกอย่างถ้าหลักการจริยธรรมใดๆเป็นหลักการสากล เราก็ควรอธิบายไว้ในบทความจริยธรรมซึ่งตรงประเด็นกว่า มิควรเจาะจงเพียงพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นความกตัญญู ศาสนาอื่นก็อาจสอนความกตัญญูเช่นกัน (หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความกตัญญูมิใช่เอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา) ควรไปเขียนรวมกันที่บทความความกตัญญู แล้วเอาคำสอนในศาสนาหลักต่างๆไปเปรียบเทียบในนั้น รวมอยู่ในที่เดียว ดีกว่าจะแยกไปเขียนตามบทความศาสนาต่างๆ --octahedron80 22:42, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

โปรดอย่าแก้ไปมา[แก้]

ขอร้องเถอะครับ กรุณาแก้ไขอย่างเป็นกลาง และอย่ามองว่าเป็นศานาที่เรารู้ฝ่ายเดียว ฝรั่งเขาก็รู้ และเขียนดีกว่าเราอีก (en:Buddism) ดังนั้น ศึกษาการเขียนของฝรั่งเขาก็ดีนะครับ เผื่อจะทำให้ชาวพุทธที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างถูกต้องตาสว่างขึ้นบ้าง --Horus | พูดคุย 20:01, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

ผมเห็นการตัดคำว่าผู้สร้างโลกออก และศาสนาสากล และในส่วนของประวัติดูด่ายังไงไม่รู้ ขอโทษเถอะคนศาสนาอื่นป่ะครับ อย่างความสำคัญของพระไตรปิฎกว่าราก แก่น ของศาสนาเพื่อบอกศาสนิก ผมไม่ไว่ใจครับ แค่เนี้ย

อ๋อ ไม่ใช่หรอกครับ ผมก็คนพุทธนี่แหละ แต่ผมก็ไม่เห็นจะต้องอวดศาสนาของตัวเองว่าวิเศษเลิศเลอกว่าศาสนาอื่นตรงไหน --Horus | พูดคุย 20:46, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
ส่วนศาสนาสากล ผมว่าน่าจะเป็นคริสต์กับอิสลามมากกว่า มีคนนับถือเป็นพันล้านคนโน่น และส่วนประวัติ กรุณาดู ประวัติพระพุทธศาสนา ผมเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และมองไม่ออกว่ากำลังด่าศาสนาของตัวเองตรงไหน --Horus | พูดคุย 20:50, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

เนื้อหาต้องมีการแสดงออกทั้งสองด้านจึงจะมีความเป็นกลางได้ มิใช่สรรเสริญอย่างเดียว มิใช่กล่าวร้ายเสื่อมถอยอย่างเดียว เพราะว่า มุมมองที่เป็นกลางคือความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยไม่มีการประนีประนอมใด ๆ แต่สิ่งที่ใส่ทั้งสองข้างของตาชั่งต้องเป็นข้อเท็จจริงล้วนๆ มีแหล่งอ้างอิงรองรับ มิใช่ความคิดเห็นของผู้เขียน ส่วน "ประวัติ" ของบทความนี้อยู่ที่หน้าแยก หน้านี้เป็นการสรุปความเท่านั้นครับ อ่านแล้วก็ไม่มีปัญหาใดเพราะทุกอย่างเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง--octahedron80 21:44, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

ในส่วนของ "หลักการสำคัญของพุทธศาสนา" อาจต้องเรียบเรียงใหม่ โดยเฉพาะย่อหน้า "อริยสัจ" นั้น ลงรายละเอียดมากเกินไป มีศัพท์เฉพาะทางต่างๆผุดขึ้นมาก แทนที่จะไปเขียนในบทความ อริยสัจ คนที่ไม่รู้ซึ้งในปรัชญามากนักก็อ่านไม่รู้เรื่อง (เราไม่ควรอนุมานว่าคนอ่านทุกคนจะมีความรู้ในด้านนั้นเป็นอย่างดี) อีกทั้งไม่มีแหล่งอ้างอิงประกอบ ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าที่เขียนนั้นถูกหรือเปล่า อาจต้องย่อให้เหลือใจความสำคัญจริงๆเท่านั้นพอ รายละเอียดปลีกย่อยไปเขียนในบทความแยก --octahedron80 22:04, 1 มีนาคม 2553 (ICT)

ส่วนหนึ่งของ ศาสนาพุทธ[แก้]

อันเก่าที่เป็นธงธรรมจักร ก็ดีอยู่แล้ว ชัดเจนดี พระรัตนไตย มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จุดหมายสูงสุดคือนิพพาน นิกายมีเถรวาท มหายาน วชิรยาน ก็ชัดเจน ทำไมใส่ไอ้ที่มันดูงงๆแบบอันนี้เข้ามาล่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 2403:6200:8840:133F:201C:8E07:3268:75D5 (พูดคุย | ตรวจ) 16:42, 15 มีนาคม 2564 (ICT)