พูดคุย:ราชสกุล

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชสกุล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชสกุล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุลสำหรับราชสกุลแห่งราชวงศ์จักรี[แก้]

ราชบัณฑิตยสถานได้รับคำถามจากประชาชนอยู่เสมอเกี่ยวกับการใช้คำว่า "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชสกุลว่า มีระเบียบการใช้อย่างไร จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถานฉบับนี้จึงขอนำเรื่องความเป็นมาและระเบียบการใช้สร้อย “ณ อยุธยา” ต่อท้ายนามสกุล ดังนี้

เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศเพิ่มเครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชตระกูล” ซึ่งมีความว่า มีพระราชดำริถึงนามสกุลที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้ที่สืบต่อจากราชตระกูลลงมาโดยสายต่าง ๆ นั้น ต่อไปภายหน้านามสกุลเหล่านี้อาจไปปะปนกับนามสกุลสามัญ จนไม่อาจทราบได้ว่า นามสกุลใดเป็นนามสกุลสำหรับราชตระกูล เพราะไม่มีเครื่องหมายเป็นที่สังเกต และเนื่องจากมีพระราชดำริที่จะดำรงนามสกุลสำหรับราชตระกูลให้ยืนยงอยู่ชั่วกัลปาวสาน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า บรรดานามสกุลซึ่งได้ทรงขนานพระราชทานแก่ผู้สืบสายราชตระกูลนั้น ให้มีคำว่า “ณ กรุงเทพ” เพิ่มท้ายนามสกุลนั้น และห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่มิได้สืบสายราชตระกูลใช้คำ “ณ กรุงเทพ” เป็นนามสกุลหรือต่อท้ายนามสกุลของตน

แม้แต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษให้ใช้นามสกุลสำหรับราชตระกูลได้ จะเติมคำ “ณ กรุงเทพ” ลงด้วยไม่ได้

ต่อมา ในวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล” ความว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้สืบสายแต่ราชสกุลใช้คำว่า “ณ กรุงเทพ” ต่อท้ายนามสกุลนั้น มีพระราชดำริว่า คำว่า “กรุงเทพ” นั้น เป็นคำที่ใช้นำหน้านามมหานครซึ่งเป็นราชธานี เช่น ใช้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา” เป็นนามของพระนครศรีอยุธยาเมื่อครั้งเป็นราชธานี และใช้คำว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์” เป็นนามของพระมหานครราชธานีในปัจจุบัน ดังนั้น คำว่า “กรุงเทพ” จึงมีความหมายถึงราชธานี ๒ แห่ง โดยไม่แน่ชัดว่าเป็นแห่งใด และเนื่องจากมีพระราชดำริว่า พระบรมราชวงศ์นี้เดิมเป็นสกุลอันมหาศาลที่มีมาตั้งแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนจาก “ณ กรุงเทพ” เป็น “ณ อยุธยา” ตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ซึ่งตรงกับวันมหาจักรี

ในวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า ในขณะนั้นการออกพระนามหม่อมเจ้าโดยใช้พระนามของพระบิดาต่อท้ายเพื่อให้ทราบว่าเป็นหม่อมเจ้าในกรมใดหรือพระองค์ใด นั้น เมื่อได้มีการพระราชทานนามสกุลสำหรับเจ้าต่างกรมและพระองค์เจ้าแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้นามสกุลต่อนามหม่อมเจ้าแทนการใช้นามกรมเช่นแต่ก่อน แต่หม่อมเจ้าซึ่งทรงสถาปนาให้มีพระเกียรติยศเป็นพระองค์เจ้าไม่ต้องใช้นามสกุลต่อท้ายพระนาม

และทรงระบุว่า สร้อย "ณ อยุธยา" นั้น ถ้าเป็นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ไม่ต้องใช้เพราะมีคำแสดงศักดิ์ในราชตระกูลปรากฏอยู่แล้ว

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่มีสกุลยศตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไปไม่ต้องใช้นามสกุลต่อท้ายพระนาม

ส่วนผู้ที่มีสกุลยศหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงใช้นามสกุลต่อท้ายนาม โดยมิต้องมีสร้อย "ณ อยุธยา"

สำหรับผู้ที่สืบสายจากราชสกุลที่มิได้มีสกุลยศเป็นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ให้ใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุล

นอกจากนี้ สตรีสามัญซึ่งสมรสกับผู้ที่สืบสายจากราชสกุลทั้งที่มีสกุลยศและไม่มีสกุลยศ ต้องใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุลด้วย

อนึ่ง การใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุลนั้น ใช้สำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชสกุลฝ่ายบุรุษเท่านั้น ส่วนทายาทของสายราชสกุลที่เป็นสตรีนำนามราชสกุลของตนมาใช้ได้ แต่จะใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ไม่ได้.

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗

เรียนปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องพระพี่นางน้องยาและน้องนางในรัชกาลที่ ๑ ครับ[แก้]

เกี่ยวกับสมเด็จพระพี่นางทั้งสองพระองค์นั้น มิได้ทรงเป็นองค์ต้นราชสกุลใดๆ เพราะพระโอรสเป็นองค์ต้นราชสกุลนั้น ไม่มีปัญหาครับ แต่ว่าพระนามของพระโอรสนั้น ไม่ใช่ให้ออกว่า "สมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้า (พระนาม) กรม (พระนามกรม) " หรือครับ ดังเช่นพระโอรสในพระพี่นางพระองค์น้อย ในรัชกาลที่ ๑ ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เมื่อผลัดรัชกาลแล้วกลายเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ไป ดังนี้ไม่ถือเป็นการลดพระอิสริยยศลงหรือครับ (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ พระองค์นี้แม้องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงเคารพยำเกรงมาก ถึงขนาดไม่กล้าผิดคำสัญญาที่ให้ไว้ตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งในการทรงพระผนวช ในฐานะเจ้าฟ้าพระราชนัดดา กับเจ้าฟ้าพระราชโอรส เจ้าฟ้าพระราชโอรสสมควรเป็นนาคเอก ผนวชก่อน แต่รัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ทรงยอม ทรงอนุโลมให้พระเจ้าหลานเธอผนวชก่อน จะเห็นได้ว่าด้วยความเกรงพระทัยดังนี้ ไม่น่ามีเหตุให้ไปลดพระอิสริยยศลงได้นะครับ)

อนึ่งพระเจ้าน้องยาเธอต่างพระชนนีในรัชกาลที่ ๑ คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา นั้นมิเคยทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้านะครับ เพราะมีความดีความชอบตั้งแต่อัญเชิญพระบรมอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิบดีมาถวายฯ จึงทรงสถาปนาในครั้งแรกเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา เลย (อันต่างจากพระพี่นางที่เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ มีคำ "สมเด็จ" นำหน้าพระนาม)

พระพี่นางทั้งสองพระองค์นั้น รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพิเศษ เพราะพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ (สวรรคต?) ไปเสียแล้ว ทั้งพระมาตุจฉา ซึ่งเป็นพระมารดาในพระองค์เจ้าหญิงกุก็ได้สิ้นพระชนม์ (อนิจกรรม?) ไปแล้วเช่นกัน จึงไม่มีผู้ใดที่สมควรจะประดิษฐานไว้ในที่พระบรมราชชนนี จึงทรงอนุโลมสถาปนาสมเด็จพระพี่นางทั้งสองพระองค์ ให้ดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งทรงเทียบที่กรมพระเทพามาตย์ พระบรมราชชนนี แต่ก่อนกาล การออกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ นั้นจะมิเป็นการลดพระยศลงหรือครับ (ผมเคยมีเอกสารเกี่ยวกับการทรงสมโภชกรุงรัตนโกสินทร 200 ปี แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว รู้สึกว่าจะออกพระนามว่า กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี และกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางในรัชกาลที่ ๑

เรียนปรึกษามาด้วยความเคารพครับ --Oh~my goDnesS 11:38, 7 มีนาคม 2007 (UTC)

สากล[แก้]

คำว่า "ราชสกุล" ใช้กับเจ้านายต่างประเทศได้หรือเปล่าครับ และสงสัยว่าราชสกุลหมายความถึงเฉพาะเจ้านายสมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมาเท่านั้นหรือ --Horus | พูดคุย 03:35, 29 กันยายน 2556 (ICT)

คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 17 มิถุนายน 2563[แก้]

กรุณาเปลี่ยนต้นสกุล ภุมรินทร เป็น ภุมรินทร์ เพราะ เริ่มแรกมีการแปลภาษาไทยผิดไปจากภาษาอังกฤษ คำว่าBhumrindra เมื่อเป็นภาษาไทยไม่ใช่ภุมรินทร แต่เป็น ภุมรินทร์ และไม่มีใครนามสกุลภุมรินทร ณ อยุธยา ที่ถูกต้องคือ ภุมรินทร์ ณ อยุธยา Ickj1 (คุย) 22:17, 17 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@Ickj1: ขอดูหลักฐานหน่อยครับ --Horus (พูดคุย) 17:49, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 ไม่สำเร็จ --Geonuch (คุย) 20:31, 29 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]