พูดคุย:ราชวงศ์จิ้น

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์จิ้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศจีนและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศจีน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชวงศ์จิ้น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ย้ายเนื้อหามาจาก ประวัติศาสตร์จีน รอการปรับรวมกับเนื้อหาในหน้าหลักเดิม Markpeak 11:52, 26 เมษายน 2007 (UTC)

ราชวงศ์จิ้นตะวันตก, ราชวงค์จิ้นตะวันออก, ยุคสิบหกแคว้น, ราชวงศ์เหนือใต้: ยุคมืดของจีน[แก้]

ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 808-1131 ซือหม่าเอี๋ยน(司马炎)สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของสามก๊กก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง

ราชวงศ์จิ้นเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้ โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจลาจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน (刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ (汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ (晋愍帝)ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย

ราชวงศ์จิ้นตะวันออกก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพโยกย้ายราชธานีของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี

การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน

สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนู (匈奴)เซียนเปย(鲜卑) เจี๋ย (羯)ตี(氐)เชียง(羌) 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่

  1. เฉิงฮั่น(成汉) ตี ค.ศ. 304 – 347
  2. ฮั่นเจ้า(汉赵) ซงหนู ค.ศ. 304 – 329
  3. เฉียนเหลียง(前凉) ฮั่น ค.ศ. 317 – 376
  4. สือเจ้า(石赵) เจี๋ย ค.ศ. 319 – 351
  5. เฉียนเอี้ยน(前燕) เซียนเปย ค.ศ. 337 – 370
  6. หรั่นวุ่ย(冉魏) ฮั่น ค.ศ. 350 – 352
  7. เฉียนฉิน(前秦) ตี ค.ศ. 350 – 394
  8. โฮ่วฉิน(后秦) เชียง ค.ศ. 384 – 417
  9. โฮ่วเอี้ยน(后燕) เซียนเปย ค.ศ. 384 – 407
  10. ซีเอี้ยน(西燕) เซียนเปย ค.ศ. 384 – 394
  11. ซีฉิน(西秦) เซียนเปย ค.ศ. 385 – 431
  12. โฮ่วเหลียง(后凉) ตี ค.ศ. 386 – 403
  13. หนันเหลียง(南凉) เซียนเปย ค.ศ. 397 – 414
  14. หนันเอี้ยน(南燕) เซียนเปย ค.ศ. 398 – 410
  15. ซีเหลียง(西凉) ฮั่น ค.ศ. 400 – 421
  16. ซีสู(西蜀) ฮั่น ค.ศ. 405 – 413
  17. เซี่ย(夏) ซงหนู ค.ศ. 407 – 431
  18. เป่ยเอี้ยน(北燕) ฮั่น+เฉาเสี่ยน(เกาหลี) ค.ศ. 407 – 436
  19. เป่ยเหลียง(北凉) ซงหนู ค.ศ. 401 – 439
  20. ไต้(代) เซียนเปย ค.ศ. 315 – 376