ข้ามไปเนื้อหา

พุทราอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุทราอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
ปลอดภัยจากการคุกคาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rhamnaceae
สกุล: Ziziphus
สปีชีส์: Z.  mauritiana
ชื่อทวินาม
Ziziphus mauritiana
Lam.

พุทราอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ziziphus mauritiana Lam.) หรือ เบอร์ (อังกฤษ: ber) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhamnaceae มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอินเดีย

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

พุทราอินเดียเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบรูปทรงไข่แกมกลมขนาดประมาณ 1 นิ้ว บริเวณลำต้นและกิ่งจะมีหนามแหลม ดอกจะออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น ผลมีเปลือกสีเขียว รูปทรงมีทั้งที่เป็นแบบทรงกลมถึงรูปรี ปลายผลรูปร่างกลมถึงแหลม มีหลายขนาด ผลแก่จะมีสีเหลือง แก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รสชาติมีทั้งแบบที่หวานสนิท เปรี้ยวอมหวานหรือฝาด มีเมล็ดเดียวอยู่กลางลูก

การขยายพันธุ์

[แก้]

โดยทั่วไป ต้นพุทรามักจะเกิดขึ้นเองในที่ราบสภาพดินทั่วไปในป่า ซึ่งการขยายพันธุ์ สามารถทำได้ทั้งเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์

[แก้]
  1. เปลือกลำต้น ใช้ต้มกินแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้อาเจียน
  2. ใบ นำมาตำสด ๆ ใช้สุมศีรษะ แก้อาการเป็นหวัดคัดจมูก
  3. ผลสุก เป็นผลไม้ทานสดหรือแปรรูปโดยการกวนหรือดอง มีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ และคุณสมบัติเป็นยาระบาย
  4. ผลดิบ มีรสฝาด ใช้รักษาอาการไข้

อ้างอิง

[แก้]