พืชที่ถูกละเลยและมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นพุทราอินเดีย (Z. mauritiana)

พืชที่ถูกละเลยและมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย (อังกฤษ: Neglected and Underutilized Crops; NUS) คือ พืชที่โดยปกติสามารถนำมาใช้เป็นอาหาร เป็นพืชเส้นใย ทำเป็นอาหารสัตว์ เป็นพืชน้ำมัน หรือเป็นพืชมีคุณสมบัติทางยา พืชจำพวกนี้ยังมีการศึกษาน้อยถึงศักยภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหาร สารอาหาร สุขภาพ รายได้ และความเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นพืชที่นักวิจัยและคนอื่นๆ มองข้ามความสำคัญ

ภาพรวม[แก้]

NUS ถูกปลูกอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ปัจจุบันมีเพียงพืช 3 ชนิด คือ ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานส่วนใหญ่ของโลก มี 95 % ของอาหารบนโลกได้มาจากพืชเพียง 30 ชนิด ในขณะที่ยังเหลือพืชอีกประมาณ 7,500 ชนิดบนพื้นโลกที่สามารถกินได้ ซึ่งพืชเหล่านี้ถูกจัดให้เป็นพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย และพืชที่ถูกละเลย รวมถึงพืชที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในอดีตแต่ปัจจุบันลดน้อยลง พืชจำพวก NUS นอกจากจะมีศักยภาพด้านการค้าแล้ว พืชดังกล่าวยังเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถในการปรับตัวต่อดินและสภาพอากาศ

พืชที่ถูกจัดว่าเป็น underutilized crops มีคุณสมบัติ 3 ประการดังนี้

1.มีคุณประโยชน์ทางอาหารและพลังงาน

2.นำมาปลุกได้ หรือ เคยปลูกในอดีตแต่ปัจจุบันมีการปลูกน้อยลง

3.การเพาะปลูกน้อยเมื่อเทียบกับพืชอื่น

Neglected and Underutilized crops มีลักษณะสำคัญดังนี้

1.มีคุณประโยชน์ในแง่ของความหลากหลายและมีศักยภาพสูงในการเพิ่มรายได้ ช่วยในเรื่องความมั่นคงของอาหาร มีสารอาหารสูง

2.มีความสัมพันธ์ในแง่การปรับตัวกับพื้นที่ปลูกหรือแหล่งกำเนิดได้ดี

3.เป็นทั้งพืชในท้องถิ่นและพืชการค้า หรือพืชป่าที่มีข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยา การเพาะปลูก และการนำไปใช้น้อย

4.ปรับตัวได้ในระบบนิเวศน์เฉพาะและแหล่งกำเนิด

5.มีข้อจำกัดของระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์

6.นำมาใช้ในประเพณีระดับท้องถิ่น

7.ถูกรวบรวมจากป่าและนำมาผลิตเพื่อการค้า

8.ได้รับความสนใจน้อยจากการวิจัย นักส่งเสริม เกษตรกร ผู้วางแผนระดับนโยบาย ผู้ผลิตทางเทคโนโลยี และผู้บริโภค

9.อาจเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีสารทางยา