ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมอลำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


[[ไฟล์:ฉวีวรรณ ดำเนิน.jpg|thumb|160px|ฉวีวรรณ ดำเนิน]]
[[ไฟล์:ฉวีวรรณ ดำเนิน.jpg|thumb|160px|ฉวีวรรณ ดำเนิน]]
[[บุญช่วง เด่นดวง]] ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง
[[บุญช่วง เด่นดวง]] ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)
[[ไฟล์:หมอลำบุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน.jpg|thumb|180px|บุญช่วง เด่นดวง]]
[[ไฟล์:หมอลำบุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน.jpg|thumb|180px|บุญช่วง เด่นดวง]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:26, 23 ธันวาคม 2563

หมอแคนกำลังบรรเลงเพลงให้กับหมอลำ
การประชันกันของหมอลำซิ่งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

หมอลำ (อีสาน: หมอลำ; ลาว: ໝໍລຳ) เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำพื้น ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง

คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง

ประเภทของหมอลำ

หมอลำ นั้นจะมีประเภทของการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

หมอลำกลอน

หมอลำกลอน เป็นหมอลำที่มีความเก่าแก่มาก และเป็นที่นิยมในอดีต ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวโดยจะมีการลำแบบชิงชู้ ชิงทรัพย์ และจะมีการพูดคำสอยแทรกเข้ามาระหว่างการลำด้วยทำให้เกิดความตลกขบขัน ซึ่งเป็นสีสันของการแสดง หมอลำกลอนจะประกอบไปด้วย หมอลำฝ่ายชาย หมอลำฝ่ายหญิง และหมอแคน ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการลำ คือ แคน ซึ่งใช้ในการกำกับจังหวะและดูลายในการลำ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ มักจะจ้างไปในงานกฐิน และงานผ้าป่า เป็นต้น

หมอลำกลอนที่มีชื่อเสียง

ฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (หมอลำ)

ไฟล์:ฉวีวรรณ ดำเนิน.jpg
ฉวีวรรณ ดำเนิน

บุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)

ไฟล์:หมอลำบุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน.jpg
บุญช่วง เด่นดวง

ประเภทของทำนองการลำ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น