ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คิวมูโลนิมบัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ก่อกวน
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Big Cumulonimbus.JPG|thumb|right|250px|คิวมูโลนิมบัสที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน]]
[[ไฟล์:Big Cumulonimbus.JPG|thumb|right|250px|คิวมูโลนิมบัสที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน]]
[[ไฟล์:3 tourist helping artist blacksmith in finland.JPG|thumb|ลักษณะของแท่งทั่งตีเหล็กที่ใช้เปรียบเทียบกับลักษณะของเมฆคิมมูโลนิมบัส]]
[[ไฟล์:3 tourist helping artist blacksmith in finland.JPG|thumb|ลักษณะของแท่งทั่งตีเหล็กที่ใช้เปรียบเทียบกับลักษณะของเมฆคิวมูโลนิมบัส]]
'''คิวมูโลนิมบัส''' ({{lang-en|cumulonimbus}}) มีชื่อเรียกมาจาก[[ภาษาละติน]] cumulus "กองของสิ่งของ" และ nimbus "พายุฝน, เมฆพายุ" คิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง<ref name="Cumulonimbus">{{cite book |editor=World Meteorological Organization |title=Cumulonimbus, International Cloud Atlas |volume=I |year=1975 |url=http://library.wmo.int/pmb_ged/wmo_407_en-v1.pdf |pages=48–50 |isbn=92-63-10407-7 |accessdate=28 November 2014}}</ref> โดยมีความสัมพันธ์กับ[[พายุฟ้าคะนอง]] และอากาศที่มีลักษณะแปรปรวน ก่อตัวขึ้นจากไอน้ำซึ่งได้รับการนำพาพัดขึ้นด้านบนด้วยกระแสลมแรง สามารถพบได้ในแบบเดี่ยว รวมเป็นกลุ่ม หรือตาม[[แนวปะทะอากาศเย็น]] คิวมูโลนิมบัสสามารถทำให้เกิดฟ้าผ่า หรือสภาพอากาศที่รุนแรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด อักษรย่อสำหรับคิวมูโลนิมบัส คือ Cb และสัญลักษณ์ [[ไฟล์:Clouds CL 9.svg|25px]]<ref name="Cumulonimbus">{{cite book |editor=World Meteorological Organization |title=Cumulonimbus, International Cloud Atlas |volume=I |year=1975 |url=http://library.wmo.int/pmb_ged/wmo_407_en-v1.pdf |pages=48–50 |isbn=92-63-10407-7 |accessdate=28 November 2014}}</ref>
'''คิวมูโลนิมบัส''' ({{lang-en|cumulonimbus}}) มีชื่อเรียกมาจาก[[ภาษาละติน]] cumulus "กองของสิ่งของ" และ nimbus "พายุฝน, เมฆพายุ" คิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง<ref name="Cumulonimbus">{{cite book |editor=World Meteorological Organization |title=Cumulonimbus, International Cloud Atlas |volume=I |year=1975 |url=http://library.wmo.int/pmb_ged/wmo_407_en-v1.pdf |pages=48–50 |isbn=92-63-10407-7 |accessdate=28 November 2014}}</ref> โดยมีความสัมพันธ์กับ[[พายุฟ้าคะนอง]] และอากาศที่มีลักษณะแปรปรวน ก่อตัวขึ้นจากไอน้ำซึ่งได้รับการนำพาพัดขึ้นด้านบนด้วยกระแสลมแรง สามารถพบได้ในแบบเดี่ยว รวมเป็นกลุ่ม หรือตาม[[แนวปะทะอากาศเย็น]] คิวมูโลนิมบัสสามารถทำให้เกิดฟ้าผ่า หรือสภาพอากาศที่รุนแรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้เกิดพายุ[[ทอร์นาโด]] อักษรย่อสำหรับคิวมูโลนิมบัส คือ Cb และสัญลักษณ์ [[ไฟล์:Clouds CL 9.svg|25px]]<ref name="Cumulonimbus">{{cite book |editor=World Meteorological Organization |title=Cumulonimbus, International Cloud Atlas |volume=I |year=1975 |url=http://library.wmo.int/pmb_ged/wmo_407_en-v1.pdf |pages=48–50 |isbn=92-63-10407-7 |accessdate=28 November 2014}}</ref>


==ลักษณะโดยทั่วไป==
==ลักษณะโดยทั่วไป==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:16, 16 พฤศจิกายน 2563

คิวมูโลนิมบัสที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
ลักษณะของแท่งทั่งตีเหล็กที่ใช้เปรียบเทียบกับลักษณะของเมฆคิวมูโลนิมบัส

คิวมูโลนิมบัส (อังกฤษ: cumulonimbus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน cumulus "กองของสิ่งของ" และ nimbus "พายุฝน, เมฆพายุ" คิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง[1] โดยมีความสัมพันธ์กับพายุฟ้าคะนอง และอากาศที่มีลักษณะแปรปรวน ก่อตัวขึ้นจากไอน้ำซึ่งได้รับการนำพาพัดขึ้นด้านบนด้วยกระแสลมแรง สามารถพบได้ในแบบเดี่ยว รวมเป็นกลุ่ม หรือตามแนวปะทะอากาศเย็น คิวมูโลนิมบัสสามารถทำให้เกิดฟ้าผ่า หรือสภาพอากาศที่รุนแรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด อักษรย่อสำหรับคิวมูโลนิมบัส คือ Cb และสัญลักษณ์ [1]

ลักษณะโดยทั่วไป

โดยทั่วไปแล้วพบร่วมกับเมฆคิวมูลัสที่มีขนาดเล็กกว่า ฐานของคิวมูโลนิมบัสสามารถกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างหลายไมล์ ในระดับความสูงต่ำถึงสูงปานกลาง โดยประมาณ 200-4,000 เมตร จุดยอดสูงสุดสามารถขึ้นไปถึง 6,000 เมตร หรือสูงมากถึง 21,000 เมตร[2]

คิวมูโลนิมบัสที่มีการก่อตัวอย่างสมบูรณ์จะมีลักษณะเรียบคล้าย "แท่งทั่ง" ที่ใช้ในการตีขึ้นรูปเหล็ก การก่อตัวในลักษณะนี้เกิดเนื่องมาจากกระแสลมที่ช่วยในการยกตัวขึ้นไปมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วบริเวณชั้นโทรโพพอส ชั้นเมฆส่วนที่เป็นแนวราบของคิวมูโลนิมบัสในบางครั้งจะอยู่นำหน้าส่วนที่เป็นแนวตั้งเป็นระยะทางหลายไมล์ โดยทั่วไปแม้จะเป็นคิวมูโลนิมบัสขนาดเล็กแต่ก็มีขนาดที่ใหญ่กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเมฆประเภทอื่น ๆ

ภาพแสดงวงจรชีวิตของคิวมูโลนิมบัส

คุณสมบัติ

คิวมูโลนิมบัสสามารถทำให้เกิดฝนตกหนักและฝนฟ้าคะนองหากมีพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มากพอ เช่น วันที่มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน ความชื้นจากมวลอากาศที่หนึ่งจะถูกทำให้ระเหยอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาคือการก่อตัวของกลุ่มมวลอากาศใหม่ในระยะทางที่ห่างออกไปใกล้ ๆ และก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดอันตรายในฤดูหนาวได้เช่นเดียวกัน คือ ก่อให้เกิดพายุฤดูหนาวที่มีฟ้าคะนองและทำให้เกิดหิมะตกหนัก โดยทั่วไปคิวมูโลนิมบัสพบในภูมิอากาศเขตร้อน

วงจรชีวิต

ลักษณะโดยทั่วไป คิวมูโลนิมบัสต้องการความชื้น มวลอากาศที่ไม่เสถียร และแรงยกตัวที่ช่วยในการดันตัวขึ้น (ความร้อน) เพื่อใช้ในการก่อตัว ลำดับสถานะการก่อตัวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อตัว ระยะพัฒนาเต็มที่ และระยะหดตัว[3] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของมวลอากาศที่เหมาะสมในขณะนั้น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Cumulonimbus, International Cloud Atlas (PDF). Vol. I. pp. 48–50. ISBN 92-63-10407-7. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  2. Haby, Jeff. "Factors Influencing Thunderstorm Height". theweatherprediction.com. สืบค้นเมื่อ 17 June 2011.
  3. Michael H. Mogil (2007). Extreme Weather. New York: Black Dog & Leventhal Publisher. pp. 210–211. ISBN 978-1-57912-743-5.