ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
* 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/2293.PDF แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษ กรมทหารรักษาวัง] </ref>
* 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/2293.PDF แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษ กรมทหารรักษาวัง] </ref>
* 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองโท<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/477.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า] </ref>
* 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองโท<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/477.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า] </ref>
* 8 ธันวาคม พ.ศ. 2457 มหาเสวกโท<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/2097_1.PDF พระราชทานยศ] </ref>
* 14 มกราคม พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2619.PDF พระราชทานยศนายเสือป่า] </ref>
* 14 มกราคม พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2619.PDF พระราชทานยศนายเสือป่า] </ref>
* 13 ธันวาคม พ.ศ. 2461 พันตรีพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/2360.PDF พระราชทานยศทหารบก] </ref>
* 13 ธันวาคม พ.ศ. 2461 พันตรีพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/2360.PDF พระราชทานยศทหารบก] </ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 10 สิงหาคม 2563

จางวางโท มหาเสวกโท พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2428
ถึงแก่กรรม7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (39 ปี)
ตระกูลสิงหเสนี
บิดาพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
มารดาคุณหญิงเชย อนุชิตชาญไชย

จางวางโท มหาเสวกโท นายพลเสือป่า พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) (3 สิงหาคม 2428-7 กุมภาพันธ์ 2468) ขุนนางชาวไทย อดีตอัครราชทูตประจำ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม และอดีตอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา

ประวัติ

พระยาบุรีนวราษฐ์มีชื่อเดิมว่า ชวน สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2428 เป็นบุตรชายของ พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) ที่เกิดแต่ คุณหญิงเชย อนุชิตชาญไชย ผู้เป็นภรรยาเอกโดยเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวและคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 3 คนที่เกิดจาก คุณหญิงเชย

จบการศึกษาจาก โรงเรียนราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเนื่อง บุรีนวราษฐ์ ผู้เป็นธิดาของ พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)

จางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคฝีในลำคอเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468[1]

รับราชการ

ในปี พ.ศ. 2452 ท่านได้เข้ารับราชการใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขานุการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงเทพรัตน์นรินทร์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2452 จากนั้นจึงย้ายมารับราชการในกรมมหาดเล็ก ในตำแหน่งปลัดบัญชาการกรมมหาดเล็กและได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 3 เอก เทียบเท่าชั้นหุ้มแพรเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2453 ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงบุรีนวราษฐ์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2453 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 ตรี เทียบเท่าชั้นจ่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกันท่านก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 เอก เทียบเท่าชั้นหัวหมื่น จากนั้นในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาบุรีนวราษฐ์ พร้อมกับเลื่อนยศเป็น จางวางตรี ในวันเดียวกัน

ยศและบรรดาศักดิ์

  • เลขานุการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2452 หลวงเทพรัตน์นรินทร์ ถือศักดินา ๖๐๐[2]
  • ปลัดบัญชาการกรมมหาดเล็ก
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2453 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 3 เอก (เทียบเท่าชั้นหุ้มแพร)[3]
  • 13 มกราคม พ.ศ. 2453 หลวงบุรีนวราษฐ์[4]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 ตรี (เทียบเท่าชั้นจ่า)[5]
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่ เลขานุการกองเสือป่า[6]
  • 29 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระบุรีนวราษฐ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
  • 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 เอก (เทียบเท่าชั้นหัวหมื่น)[8]
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายกองตรี[9]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระยาบุรีนวราษฐ์ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 จางวางตรี[11]
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[12]
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองโท[13]
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2457 มหาเสวกโท[14]
  • 14 มกราคม พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า[15]
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2461 พันตรีพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[16]

ตำแหน่ง

  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ[17]
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 กรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง[18]
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 ราชเลขานุการในพระองค์[19]
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2458 องคมนตรี[20]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2462 อรรคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และเบลเยียม[21]
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2465 อรรคราชทูตพิเศษประจำสหรัฐอเมริกา[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ข่าวตาย
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  6. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  7. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  8. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  9. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  10. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  11. แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
  12. แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษ กรมทหารรักษาวัง
  13. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  14. พระราชทานยศ
  15. พระราชทานยศนายเสือป่า
  16. พระราชทานยศทหารบก
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศและผู้รั้งตำแหน่งสมุหพระราชมณเฑียร
  18. แจ้งความกรมมหาดเล็กหลวง เรื่อง ให้จางวางตรี พระยาบุรีนวราษฐ์ เป็นกรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
  19. แจ้งความกรมราชเลขานุการ
  20. รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี (หน้า ๑๑๖)
  21. พระบรมราชโองการ
  22. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอรรคราชทูต
  23. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๒๔๒๑)
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  25. พระราชทานตราวชิรมาลา
  26. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน (หน้า ๑๘๐๒)
  27. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๔๒๕)
  28. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๑๙๖๗)
  29. พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
  30. พระราชทานตราวัลลภาภรณ์