ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รอยัลไฮเนส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 13: บรรทัด 13:


[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ในทวีปยุโรป]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ในทวีปยุโรป]]

[[ar:السمو الملكي]]
[[cs:Královská Výsost]]
[[de:HRH (Anrede)]]
[[en:Royal Highness]]
[[fr:Son Altesse royale]]
[[it:Altezza reale]]
[[nl:Koninklijke Hoogheid]]
[[pt:Sua Alteza Real]]
[[ru:Королевское высочество]]
[[sv:Kunglig höghet]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:06, 9 มีนาคม 2556

รอยัลไฮเนส (อังกฤษ: Royal Highness) หรือ รอยัลไฮนิส (/ˈhʌɪnɪs/[1]) เป็นฐานันดรศักดิ์ของสมาชิกราชวงศ์บางชั้นในทวีปยุโรป มักใช้นำพระนามเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระราชบุตรในสมเด็จพระราชาธิบดีหรือสมเด็จพระราชินีนาถ

ฐานันดรศักดิ์รอยัลไฮเนสมีศักดิ์ต่ำกว่า "อิมพีเรียลไฮเนส" แต่สูงกว่า "แกรนด์ดิวคัลไฮเนส", "ไฮเนส" และ "เซรีนไฮเนส" เป็นต้น

ต้นกำเนิด

สารานุกรม หรือพจนานุกรมอันเป็นระบบว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และหัตถกรรมระบุว่าฐานันดรศักดิ์ "รอยัลไฮเนส" ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อพระคาร์ดินัล-อินฟันเตแฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรียพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระเจ้าเฟลีเปที่ 3 แห่งสเปนเสด็จเยี่ยมวิกตอร์ อามาเดอุสที่ 1 ดยุกแห่งซาวอยในระหว่างการเสด็จเยือนกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ท่านไม่ให้ดยุกเรียกท่านว่า ไฮเนส แต่ให้เรียกว่า รอยัลไฮเนส จึงถือว่า รอยัลไฮเนส มีบันทึกว่าใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1633[2]

พระบรมวงศานุวงศ์ไทย

เมื่อแปลพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ รอยัลไฮเนส เป็นคำนำพระนามาภิไธยและพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีพระอิสริยยศและสกุลยศชั้นเจ้าฟ้า จนถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า[3] เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn เป็นต้น

อ้างอิง