ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมยราบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
.
→‎การกระจายพันธุ์: เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตามชื่อทั่วไปที่ไม่เป็นทางการหลากหลายชื่อ อาทิ sensitive plant, humble plant, shameful plant และ touch-me-not ในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง chuimui ด้วย<ref name=GRIN>{{cite web | title= ''Mimosa pudica'' L.|url=http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?24405 | work=Germplasm Resources Information Network (GRIN)|publisher=United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Area|accessdate=2008-03-22}}</ref> สำหรับภาษาไทย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ไมยราบ"
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตามชื่อทั่วไปที่ไม่เป็นทางการหลากหลายชื่อ อาทิ sensitive plant, humble plant, shameful plant และ touch-me-not ในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง chuimui ด้วย<ref name=GRIN>{{cite web | title= ''Mimosa pudica'' L.|url=http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?24405 | work=Germplasm Resources Information Network (GRIN)|publisher=United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Area|accessdate=2008-03-22}}</ref> สำหรับภาษาไทย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ไมยราบ"


==การกระจายตัวของสายพันธุ์==
==การกระจายพันธุ์==
ไมยราบมีถิ่นกำเนิดใน[[ทวีปอเมริกา]] ปัจจุบันสามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น [[สิงคโปร์]], [[บังกลาเทศ]], [[ไทย]], [[อินเดีย]], [[เนปาล]], [[อินโดนีเซีย]], [[มาเลเซีย]], [[ฟิลิปปินส์]], [[เวียดนาม]], [[กัมพูชา]], [[ลาว]], [[ญี่ปุ่น]] และ[[ศรีลังกา]] รวมถึงถูกนำเข้าในหลายภูมิภาคทั่วโลกและจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานใน[[แทนซาเนีย]], [[เอเชียใต้]], [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]], [[ออสเตรเลีย]] และหมู่เกาะใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] แต่ไม่ถูกจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานใน[[ยูกันดา]], [[กานา]], [[ไนจีเรีย]], [[เซเชลส์]], [[มอริเชียส]] และ[[เอเชียตะวันออก]]<ref name=Usambara>{{cite web |url=http://www.tropical-biology.org/research/dip/species/Mimosa%20pudica.htm |title=Mimosa pudica |work=Usambara Invasive Plants |accessdate=2008-03-25 |publisher=Tropical Biology Association |url-status=dead |archiveurl=https://web.archive.org/web/20080919232904/http://www.tropical-biology.org/research/dip/species/Mimosa%20pudica.htm |archivedate=2008-09-19 }}</ref>
ไมยราบมีถิ่นกำเนิดอยู่ใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] และ[[ทวีปอเมริกากลาง]] และภายหลังถูกมนุษย์นำออกไปยังบริเวณต่าง ๆ ของโลก และมักถูกจัดว่าเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น|สายพันธุ์รุกราน]] อาทิเช่น [[แทนซาเนีย]] [[เอเชียใต้]] [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] [[เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก|เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิก]]<ref name=Usambara>{{cite web |url=http://www.tropical-biology.org/research/dip/species/Mimosa%20pudica.htm |title=Mimosa pudica |work= Usambara Invasive Plants |accessdate=2008-03-25 |publisher=Tropical Biology Association}}</ref> ไมยราบถูกจัดว่าเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น|สายพันธุ์รุกราน]]ใน [[ออสเตรเลีย]] และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชใน[[ดินแดนตอนเหนือ]]<ref>{{cite web |url=http://www.nt.gov.au/nreta/natres/weeds/ntweeds/declared.html |title=Declared Weeds in the NT – Natural Resources, Environment and The Arts |accessdate=2008-03-25 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20080226133716/http://www.nt.gov.au/nreta/natres/weeds/ntweeds/declared.html <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate = 2008-02-26}}</ref> และ[[รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย]] แม้ว่าจะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่นั่น<ref>{{cite web|url=http://agspsrv95.agric.wa.gov.au/dps/version02/01_plantview.asp?page=7&contentID=60& |title=Declared Plants- Sensitive plant common (Mimosa pudica) |accessdate=2008-03-25}}</ref> นอกจากนี้ไมยราบยังเป็นพืชควบคุมใน [[รัฐควีนส์แลนด์]] อีกด้วย<ref name=Biosecurity>{{cite web |url=http://www.dpi.qld.gov.au/cps/rde/xbcr/dpi/IPA-Common-Sensitive-Plant-PP38.pdf |archiveurl=http://web.archive.org/web/20090419005950/http://www.dpi.qld.gov.au/cps/rde/xbcr/dpi/IPA-Common-Sensitive-Plant-PP38.pdf |archivedate=2009-04-19 |title=Common Sensitive Plant |accessdate=2008-03-25 |work=Invasive plants and animals|publisher=Biosecurity Queensland}}</ref> ไมยราบถูกนำเข้าไปใน [[กาน่า]] [[ไนจีเรีย]] [[เซเชลส์]], [[มอริเชียส]] [[เอเชียตะวันออก]] อีกด้วย แต่ไม่ถูกพิจราณาว่าเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น|สายพันธุ์รุกราน]]ในพื้นที่เหล่านั้น <ref name=Usambara/> ใน [[สหรัฐอเมริกา]], พืชชนิดนี้ขึ้นใน[[รัฐฟลอริดา]] [[เกาะฮาวาย]] [[รัฐเวอร์จิเนีย]] เกาะของ[[รัฐแมริแลนด์]] [[เครือรัฐเปอร์โตริโก]] [[รัฐเท็กซัส]] และในเกาะของ[[รัฐเวอร์จิเนีย]]<ref>[http://plants.usda.gov/java/profile?symbol=MIPU8 Distribution of ''Mimosa pudica'' in the United States of America] Natural Resources Conservation Service, United States Department of Agriculture.</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:46, 22 ตุลาคม 2563

ไมยราบ
(Mimosa pudica)
ช่อดอก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Mimosoideae
สกุล: Mimosa
สปีชีส์: M.  pudica
ชื่อทวินาม
Mimosa pudica
L.[1]
ฝักและเมล็ดของไมยราบ

ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa pudica (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน

ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด

ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ [2]ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ[3]

คำบรรยาย

ดอกไมยราบ
ใบไมยราบกำลังหุบเข้าหากันหลังจากถูกสัมผัส
ฝักไมยราบแก่จัดบนต้น หรือเถา
ต้นไมยราบทั้งต้น ประกอบไปด้วย ลำต้นที่เต็มไปด้วยหนาม กิ่งก้านสาขาต่าง ๆ ช่อดอก ดอกแห้ง ฝักเมล็ด และใบประกอบที่หุบ และที่ไม่หุบ

ไมยราบเป็นพืชที่มีลำต้นผอมเรียว แตกกิ่งก้านสาขามาก มีหนามตามลำต้นประปรายจนถึงหนาแน่น ลำต้นอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร (5 ฟุต) ลำต้นของไมยราบจะตั้งตรงเมื่อยังเล็ก แต่จะเริ่มเลื้อย และชอนไช ไปตามพื้นผิวต่าง ๆ โดยจะเกาะอยู่ตามที่ต่ำ ตามพื้น และเกาะอยู่อย่างหลวม ๆ ใบของต้นไมยราบเป็นใบประกอบขึ้นอยู่ตามต้น

ใบของต้นไมยราบเป็นใบประกอบคู่ โดยมีใบประกอบอยู่หนึ่งถึงสองชุด แต่ละชุดประกอบด้วยใบเดี่ยว 10–26 ใบ ก้านใบสามารถมีหนามขึ้นอยู่ได้เช่นเดียวกับลำต้น ไมยราบมีดอกเป็นดอกกลุ่มลักษณะเป็นช่อสีชมพูอ่อน หรือม่วงบนก้านช่อดอกที่งอกออกมาจากข้อระหว่างลำต้นและก้านใบในช่วงกลางฤดูร้อน จำนวนดอกจะขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยที่ต้นแก่จะมีดอกมากกว่าต้นที่มีอายุน้อยกว่า ช่อดอกมีลักษณะกลมถึงวงรี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 8–10 มม. (ไม่รวมเกสรตัวผู้ที่ยื่นออกมา). กลีบดอกจริงมีสีแดง และก้านดอกจริงมีสีชมพูถึงม่วง เมื่อมองใกล้ ๆ ดอกอาศัยลมและแมลงในการผสมเกสร [4] มีผลเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยฝักเมล็ด 2–8 ฝัก แต่ละฝักยาว 1–2 ซม. มีเส้นใยงอกมาจากขอบฝักเป็นฝอย ๆ เมื่อถึงเวลาที่สมควร ฝักเมล็ดจะแยกออกเป็น 2–5 ส่วนซึ่งมีเมล็ดสีน้ำตาล บางเมล็ดยาว 2.5 มม. เมล็ดมีเปลือกหุ้มช่วยควบคุมการงอกเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม [5]

การหุบของใบ

วิดีโอแสดงการหุบของใบไมยราบหลังจากได้รับการสัมผัส

ไมยราบเป็นที่รู้จักในด้านความสามารถพิเศษของมันในด้านการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของพืช เช่นเดียวกับพืชอักหลากหลายสายพันธ์ มันได้รับความสามารถในการตอบสนองต่อแสงโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะใบหรือ "หุบ" ใบ โดยสามารถหุบใบในตอนกลางคืน และบานในตอนกลางวัน[6] ความสามารถของพืชประเภทนี้ได้รับการศึกษาเป็นครั้งแรกโดย Jean-Jacques d'Ortous de Mairan.

นอกจากนี้ใบของไมยราบยังสามารถหุบเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าประเภทต่างๆ เช่น การสัมผัส การเป่า หรือการเขย่า การตอบสนองเช่นนี้ถูกเรียกว่า การเคลื่อนไหวเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวเกิดขึ้น เมื่อบริเวณใด บริเวณหนึ่งของเซลล์พืช สูญเสียแรงดันของเหลวซึ่งเป็นแรงที่ถูกกระทำลงบนผนังเซลล์โดยน้ำภายในแวคิวโอลของเซลล์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ของเซลล์ เมื่อต้นพืชถูกรบกวน บริเวณบางบริเวณบนก้านใบจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยสารเคมี อาทิ โปแตสเซียม ไอออน ซึ่งนำน้ำออกจากแวคิวโอล และแพร่ออกมาจากเซลล์ในที่สุดซึ่งทำให้เซลล์สูญเสียความดันภายในเซลล์ไป และเซลล์ก็ยุบตัวลง ความแตกต่างของความดันในบริเวณที่แตกต่างกันของเซลล์เป็นผลให้ใบเดี่ยวแต่ละใบหุบเข้าหากัน และใบประกอบทั้งใบก็ยุบตัวลง ปฏิกิริยานี้สามารถส่งผ่านไปยังใบใกล้เคียงได้ คุณลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป สำหรับพืชในวงศ์ย่อยสีเสียด ในวงศ์ถั่ว ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมไมยราบจึงวิวัฒนาการคุณลักษณะเช่นนี้ขึ้นมา แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านคิดว่าพืชสามารถใช้ความสามารถเช่นนี้เพื่อย่อส่วนลงเพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากสัตว์กินพืช โดยสัตว์ต่าง ๆ อาจจะกลัวพืชที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และจะเลือกกินพืชที่มีปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่า คำอธิบายหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วสามารถขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ไปได้[ต้องการอ้างอิง]

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ และการให้ชื่อทวินาม

Mimosa pudica เป็นชื่อทวินามที่ถูกบรรยายขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2296 โดย คาโรลัส ลินเนียส โดยถูกตีพิมพ์ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Species Plantarum[7] โดยชื่อเฉพาะ หรือชื่อทวินามของสปีชี่ส์นี้ Pudica ในภาษาละติน แปลว่า "เหนียมอาย" หรือ "หดตัว" ตามการตอบสนองด้วยการหดตัวของมันเมื่อถูกสัมผัส

ชื่อทั่วไป

สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตามชื่อทั่วไปที่ไม่เป็นทางการหลากหลายชื่อ อาทิ sensitive plant, humble plant, shameful plant และ touch-me-not ในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง chuimui ด้วย[8] สำหรับภาษาไทย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ไมยราบ"

การกระจายพันธุ์

ไมยราบมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ปัจจุบันสามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น สิงคโปร์, บังกลาเทศ, ไทย, อินเดีย, เนปาล, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, ญี่ปุ่น และศรีลังกา รวมถึงถูกนำเข้าในหลายภูมิภาคทั่วโลกและจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานในแทนซาเนีย, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ไม่ถูกจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานในยูกันดา, กานา, ไนจีเรีย, เซเชลส์, มอริเชียส และเอเชียตะวันออก[9]

อ้างอิง

  1. "Mimosa pudica information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  2. สุนทร ปุณโณทก. ยากลางบ้าน. กทม. โรงพิมพ์สุวิทย์ ยี แอด. 2526
  3. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
  4. "Mimosa pudica L." (PDF). US Forest Service. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  5. Chauhan, Bhagirath S. Johnson; Davi, E. (2009). "Germination, emergence, and dormancy of Mimosa pudica". Weed Biology and Management. 9 (1): 38–45. doi:10.1111/j.1445-6664.2008.00316.x.
  6. Raven, Peter H.; Evert, Ray F.; Eichhorn, Susan E. (January 2005). "Section 6. Physiology of Seed Plants: 29. Plant Nutrition and Soils". Biology of Plants (7th ed.). New York: W. H. Freeman and Company. p. 639. ISBN 978-0-7167-1007-3. LCCN 2004053303. OCLC 56051064.
  7. "Mimosa pudica". ดัชนีชื่อพืชของออสเตรเลีย (Australian Plant Name Index, APNI), ฐานข้อมูล IBIS. ศูนย์วิจัยความหลากทางชีวภาพทางพืช รัฐบาลประเทศออสเตรเลีย.
  8. "Mimosa pudica L." Germplasm Resources Information Network (GRIN). United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Area. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  9. "Mimosa pudica". Usambara Invasive Plants. Tropical Biology Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.

porn

ดูเพิ่ม