ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2001:44C8:4503:C0EF:3935:6398:D4D4:B582 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 118.175.254.233
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
วาฬนํ้าเงินก็มิใช่ปลา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
โลมามีรูปร่างคล้ายปลาแต่มิใช่ปลา
{{Taxobox
| name = โลมา
| image = Bottlenose Dolphin KSC04pd0178.jpg
| fossil_range = {{Fossil range|10|0}}<small>[[Miocene|ไมโอซีน]]&nbsp;– [[ปัจจุบัน]]</small>
| image_width = 250px
| image_alt =
| image_caption = [[โลมาปากขวด]]
| regnum = [[Animalia]]
| phylum = [[Chordata]]
| classis = [[Mammalia]]
| ordo = [[Cetacea]]
| subordo = [[Odontoceti]]
| familia = *[[Delphinidae]]
*[[Iniidae]]
*†[[Lipotidae]]
*[[Platanistidae]]
*[[Pontoporiidae]]
|}}
'''โลมา''' เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]]จำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งใน[[ทะเล]], [[น้ำจืด]] และ[[น้ำกร่อย]] มีรูปร่างคล้าย[[ปลา]] คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็น[[eutheria|สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีรก]] จัดอยู่ใน[[อันดับวาฬและโลมา]] (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย [[วาฬ]]และโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่า[[วาฬ]]มาก และจัดอยู่ใน[[Odontoceti|กลุ่มวาฬมีฟัน]] (Odontoceti) เท่านั้น

โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือ<ref name="สัตว์">''วาฬและโลมา'' หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)</ref>


==ศัพทมูลวิทยาและเทพปกรณัม==
==ศัพทมูลวิทยาและเทพปกรณัม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:14, 6 พฤศจิกายน 2562

โลมามีรูปร่างคล้ายปลาแต่มิใช่ปลา

ศัพทมูลวิทยาและเทพปกรณัม

คำว่า "Dolphin" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกโลมา มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า δελφίς "เดลฟิส" (Delphis) ในเทพปกรณัมกรีก ไดอะไนซัส เทพเจ้าแห่งไวน์และการเฉลิมฉลอง และหนึ่งในเทพโอลิมปัส ได้แปลงกายลงมาเป็นมนุษย์ ชื่อ เดลฟิส และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรียไปยังเกาะนาซอส ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไดอะไนซัสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เดลฟิสถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เดลฟิสจำต้องแสดงตนเป็นเทพเจ้า และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจและกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปกลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา ทั้งยังเป็นผู้ช่วยของเทพเจ้าแห่งมหาสมุทร คือ โพไซดอน อีกด้วย ด้วยเหตุนี้โลมาจึงได้รับเกียรติจากโพไซดอน บันดาลให้เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า กลุ่มดาวโลมา (Delphinus)[1]

คำว่า "โลมา" ในภาษาไทย มีรากฐานมาจากคำว่า "ลูมบาลูมบา" (Lumba-lumba) ในภาษามลายู ในภาษาในทวีปเอเชียอื่น ๆ โลมามักมีการเปรียบเทียบกับหมู เช่น ในภาษาจีน โลมามีความหมายตรงตัวว่า "ลูกหมูทะเล" (海豚) และ ในภาษาเวียดนาม โลมามีความหมายตรงตัวว่า "ปลาหมู" (Cá heo)

ลักษณะ

โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรโดยทั่วไป ลักษณะของโลมาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ มีรูปร่างเพรียวยาวคล้ายตอร์ปิโดหรือกระสวย ส่วนใหญ่มีปลายปากยื่นแหลม แต่ก็มีบางชนิดที่มีส่วนหัวกลมมนคล้ายแตงโมหรือบาตรพระ มีหางแบนในแนวนอน ไม่ใช่แนวตั้งเหมือนปลา เพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำในแนวขึ้น-ลง ไม่มีขนปกคลุมลำตัว ไม่มีเกล็ด รวมทั้งไม่มีเมือกด้วย[2]

นอกจากนี้แล้วยังมีอวัยวะต่าง ๆ ทุกส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะจะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูกของโลมามีไว้เพื่อหายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์อื่น ๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเป็นรูกลม เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาหรือสัตว์น้ำอย่างอื่น และจมูกของโลมาตรงส่วนนี้ไม่สามารถใช้ในการรับกลิ่นได้เหมือนกับสัตว์อื่นทั่วไป ซึ่งในบรรดาวาฬมีฟันทุกชนิดต่างก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด[3] หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูขนาดเล็กติดอยู่ด้านข้างของหัวเท่านั้น มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถรับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะโลมาเหมือนวาฬตรงที่เป็นสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยคลื่นเสียงที่ปล่อยออกมา โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง โลมามีดวงตาไม่เล็กเหมือนอย่างวาฬ แววตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลากลางคืนตาก็จะเป็นประกาย คล้ายตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปโลมาจะมีสีผิวแบบ 2 สีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข้ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข้มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

โลมาถือเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว มีอัตราความเร็วในการว่ายน้ำประมาณ 55-58 กิโลเมตร/ชั่วโมง[4]

สติปัญญา

โลมานั้นเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมาก เชื่อว่า ความฉลาดของโลมานั้นเทียบเท่าเด็กตัวเล็ก ๆ เลยทีเดียว หรือเป็นไปได้ว่าอาจจะฉลาดกว่าชิมแปนซี ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดด้วยซ้ำ ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดของสมองเมื่อเทียบกับลำตัวแล้วนับว่าใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โดยเฉพาะโลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวใหญ่แล้ว ถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดสมองใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์[5] และสมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำและการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของประสาทการรับกลิ่น, การมองเห็น และการได้ยิน จนอาจเชื่อได้ว่าแท้จริงแล้ว โลมาอาจมีความฉลาดเทียบเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ ซึ่งจากความฉลาดแสนรู้ของโลมา จึงทำให้เป็นที่นิยมนำมาฝึกแสดงโชว์ต่าง ๆ ตามสวนสัตว์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ [6]

นอกจากนี้แล้ว โลมายังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมชอบช่วยเหลือมนุษย์ยามเมื่อเรือแตกหรือใกล้จะจมน้ำ ทั้งนี้เพราะโลมาเป็นสัตว์ที่รักสนุกและขี้เล่น ที่โลมาช่วยชีวิตมนุษย์อาจเป็นเพราะต้องการเข้ามาเล่นสนุกเท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็นสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกโลมาเสียชีวิตระหว่างคลอด จะพบว่าแม่โลมาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด[7] โดยปกติแล้ว เนื้อโลมาไม่ใช่อาหารหลักเหมือนสัตว์เศรษฐกิจทั่วไป แต่ก็มีบางประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นนิยมบริโภคเนื้อโลมาและวาฬ เดิมญี่ปุ่นนั้นล่าวาฬเป็นหลัก แต่ต่อมาได้มีการอนุรักษ์และกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น จึงหันมาล่าโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก[1]

การจำแนก

โดยทั่วไปแล้ว โลมาจะถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Delphinidae ซึ่งจำแนกออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ทั้งสิ้น 17 สกุล ได้แก่[8]

โลมาแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ราว 40 ชนิด แต่ก็ยังมีโลมาบางประเภทที่ถูกจัดออกเป็นวงศ์ต่างออกไป ได้แก่

  • Iniidae (โลมาแม่น้ำอเมซอน)
  • Phocoenidae (พอร์พอยส์, โลมาขนาดเล็ก)
  • Platanistidae (โลมาแม่น้ำอินเดีย)
  • Pontoporiidae (โลมาแม่น้ำลา พลาตา)
  • Lipotidae (โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง)[9] [6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 δελφίς, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library
  2. วาฬและโลมา
  3. "เปิดโลกสัตว์หรรษา". ไทยพีบีเอส. August 21, 2016. สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
  4. หน้า 104, ความสามารถพิเศษของสัตว์. "โลกเร้นลับของสิ่งมีชีวิต" แปลโดย ขวัญนุช คำเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ มกราคม 2543) ISBN 974-472-262-2
  5. "โลมา"ฉลาดรองจากคน! จากข่าวสด
  6. 6.0 6.1 โลมา จากพจนานุกรมออนไลน์
  7. ภาพน้ำตาซึม!! แม่โลมาตะเกียกตะกายยื้อชีวิตลูกน้อย จากผู้จัดการออนไลน์
  8. "Delphinidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ สัตว์

แหล่งข้อมูลอื่น