ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เรียบร้อยแล้ว
บรรทัด 108: บรรทัด 108:
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏ|กาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏ|กาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์|ราชภัฏกาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์|ราชภัฏกาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี]]
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยนครพนม]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย]]
{{DEFAULTSORT:มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์}}
__FORCETOC__
__INDEX__
__NEWSECTIONLINK__

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:47, 12 กุมภาพันธ์ 2561

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
ไฟล์:มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.png
คติพจน์ภาคภูมิถิ่นอีสาน แหล่งวิชาการชุมชน สร้างคนดีมีคุณธรรม
ประเภทรัฐ
ดำเนินงาน20 เมษายน พ.ศ. 2540–9 กันยายน พ.ศ. 2558 (ควบรวมเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์)
อธิการบดีผศ.นพพร โฆสิระโยธิน
อธิการบดีผศ.นพพร โฆสิระโยธิน
นายกสภามหาวิทยาลัยศ เกียรติคุณ.ดร.สุมนต์ สกลไชย
ที่ตั้ง
เลขที่ 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
เว็บไซต์www.ksu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Kalasin Rajabhat University) ในอดีตเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540โดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2542 เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร[1]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 สมัยนายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ขออนุมัติ และมีมติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ สถาบันราชภัฏนครพนม และสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์

ในระยะแรกได้ดำเนินการในรูปของ "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์" ซึ่งสามารถเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาได้เป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา พ.ศ. 2542 และปริญญาตรี ในปีการศึกษา พ.ศ. 2544

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์" พร้อมกับสถาบันราชภัฏอีก 4 แห่งข้างต้น และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์"

การควบรวมมหาวิทยาลัย

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[2][3] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คณะ

คณะ/หลักสูตร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น