ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมากฮอส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 79: บรรทัด 79:
</gallery>
</gallery>


==อ้างอีีรึรรคนนนตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตฃ==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:เกมกระดาน]]
[[หมวดหมู่:เกมกระดาน]]
[[หมวดหมู่:หมากฮอส]]
[[หมวดหมู่:หมากฮอส]]
[[หมวดหมู่:เกมกลยุทธ์นามธรรม]]
[[หมวดหมู่:เกมกลยุทธ์นามธรรม]]
{{โครงเกมกระดานและเกมที่เล่นอยู่บนโต๊ะ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:20, 23 กันยายน 2560

หมากฮอส
ประเภทของเกมเกมกระดาน
Abstract strategy game
จำนวนผู้เล่น2
โอกาสสุ่มไม่มี
ทักษะที่จำเป็นกลยุทธ์

หมากฮอส (ภาษาอังกฤษแบบบริติช: draughts, ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน: checkers) เป็นกลุ่มเกมกระดานวางแผนสำหรับผู้เล่นสองคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเดินหมากเหมือนกันในแนวทแยงและการยึดบังคับโดยโดดข้ามหมากฝั่งตรงข้าม หมากฮอสพัฒนามาจาก Alquerque

ประวัติ

ประวัติกีฬาหมากฮอส เชื่อกันว่า หมากฮอส ก็คือกีฬาที่ดัดแปลงมาจาก หมากรุก นั่นเอง โดยดัดแปลงนำเอามาแต่เบี้ย และกำหนดกฎกติกาให้มีความง่ายขึ้น เล่นง่ายขึ้น แม้แต่เด็กยังเรียนรู้การเล่นหมากฮอสได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเดินของหมากฮอส จะคล้ายกับการเดินของควีน ในหมากรุก แต่ไม่สามารถเดินถอยหลังได้ จนกว่าจะเดินไปยังสุดกระดาน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการเดินตามกติกาที่ตั้งไว้ หมากรุกมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดียทางตอนเหนือ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1113 ส่วนหมากฮอสเริ่มเล่นกันที่ประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. 2090 ก่อนที่จะเริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมไปทั่วโลก ในระยะแรก หมากฮอสยังไม่ได้รับการยอมรับ และได้รับการขนานนามว่าเป็นหมากสำหรับผู้หญิง และกติกาของหมากฮอสแต่ละท้องถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เช่น บางประเทศ หมากจะกินฮอสไม่ได้ บางประเทศใช้ตาราง 10 x 10 ช่อง มีหมากข้างละ 20 เป็นต้น หมากฮอสสากล มีการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก ผู้เล่นจะมีหมากข้างละ 12 ตัว ฝ่ายสีดำจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน เมื่อฝ่ายใดเข้าฮอส ก็จะนำหมากสีเดียวกัน วางซ้อนกันอีก 1 ตัว ฮอสจะเดินหน้าหรือถอยหลังกี่ช่องก็ได้ แต่ได้แค่แนวทแยงแนวเดียวเท่านั้น และการเล่นหมากฮอสในปัจจุบันได้ถูกค้นคว้าทดลองการเดินในแง่มุมต่าง ๆ มาแล้วหมดสิ้น นักเล่นหมากฮอสที่เก่ง ๆ สามารถเดินเพื่อให้เสมอกันได้กี่กระดานก็ได้ ยกเว้นต้องการเดินเสี่ยงเพื่อเอาชนะ ในการแข่งขันหมากฮอส จึงเต็มไปด้วยการเล่นที่เสมอกัน เช่นการแข่งขันชิงแชมป์ระหว่างแอนดรูว์ แอนเดอสัน แชมป์โลกหมากฮอสคนแรก กับเจมส์ วิลลีย์ นักหมากฮอสที่มีชื่อเสียงที่สุดในอดีต มีการเสมอกันถึง 54 กระดาน กีฬาหมากฮอสจึงได้ฉายาว่า เป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน ภายหลังได้เปลี่ยนกติกามาใช้กติกา 2 ก้าวบังคับ 47 วิธี และ 3 ก้าวบังคับ 137 วิธี สำหรับการเปิดหมาก ซึ่งเราได้ดัดแปลงนำมาใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ได้มีการจัดการแข่งขันประเภททีมระหว่างประเทศขึ้นครั้งแรก ระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ปี พ.ศ. 2448 อังกฤษแข่งกับสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันยังจัดการแข่งขันกันอยู่[1]

ตัวเดิน

  • เบี้ย (อังกฤษ: Men) เป็นตัวเดินเริ่มแรกที่เดินได้ทีละช่องเท่านั้น
  • ฮอส (อังกฤษ: Kings) เมื่อเบี้ยเดินจนสุดกระดานของฝ่ายตรงข้ามเบี้ยตัวนั้นจะเป็นฮอสสามารถเดินได้จนสุดกระดานแต่บางประเทศเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้ทีละช่อง
  • การกินสองต่อ ถ้ากินไปหนึ่งตัวแล้วในแถวนั้นยังมีหมากซึ่งด้านหลังไปหนึ่งช่องต้องไม่มีหมากหรือขอบกระดาน ถ้าตัวนั้นเป็นฮอส

ประเภท

ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าและพอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน

ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน คำอธิบายเพิ่มเติม
หมากฮอสมาเลเซีย/หมากฮอสสิงคโปร์ 30 12x12 ไม่แน่นอน
หมากฮอสตุรกี 16 8x8 ขาว การจัดหมากเหมือนหมากรุกสากลแต่แค่ไปข้างหน้าอีก 1 ช่องการเดินก็ไม่เหมือนกับหมากฮอสทั่วไป
หมากฮอสพม่า 12 8x8 ขาว
หมากฮอสเช็ก 12 8x8 ขาว

ประเภทเบี้ยกินข้างหน้าและหลังได้พอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน

ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน คำอธิบายเพิ่มเติม
หมากฮอสรัสเซีย 12 8x8 ขาว
หมากฮอสสากล 20 10x10 ขาว
หมากฮอสบราซิล 12 8x8 ขาว
หมากฮอสแคนาดา 30 12x12 ขาว

ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าเท่านั้นพอเป็นฮอสเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้แต่เดินได้แค่ 1 ช่อง

ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน คำอธิบายเพิ่มเติม
หมากฮอสอังกฤษ 12 8x8 ดำ เป็นหมากฮอสที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นหมากฮอสสากล
หมากฮอสอิตาลี 12 8x8 ขาว

หมากฮอสที่รูปร่างตัวกระดานและการเล่นแตกต่างจากหมากฮอสอื่น

อ้างอีีรึรรคนนนตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตฃ