ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารกรุงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
== ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ==
== ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ==
* ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2556 <ref>[http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=BBL&selectPage=5 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่] เซ็ทเทรดดอตคอม</ref>
* ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2556 <ref>[http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=BBL&selectPage=5 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่] เซ็ทเทรดดอตคอม</ref>
{|class="wikitable"
|-style="background:gainsboro"
| ลำดับที่ || รายชื่อผู้ถือหุ้น || จำนวนหุ้นสามัญ || สัดส่วนการถือหุ้น
|-
| 1 || [[บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด]] || 593,380,811 || 31.09%
|-
| 2 || บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก || 69,025,811 || 3.62%
|-
| 3 || STATE STREET BANK EUROPE LIMITED || 59,731,915 || 3.13%
|-
| 4 || BNY MELLON NOMINEES LIMITED || 49,800,296 || 2.61%
|-
| 5 || STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY || 48,584,216 || 2.55%
|}

== ดูเพิ่ม ==
* [[สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ]]

== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
บรรทัด 74: บรรทัด 56:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.bangkokbank.com/ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]
* [http://www.bangkokbank.com/ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]
*

{{ธนาคารไทย}}
{{SET 100}}

{{เรียงลำดับ|กรุงเทพ}}
{{เรียงลำดับ|กรุงเทพ}}
[[หมวดหมู่:ธนาคารไทย]]
[[หมวดหมู่:ธนาคารไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:19, 15 กันยายน 2560

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:BBL
ISINTH0001010014 Edit this on Wikidata
รูปแบบธนาคารพาณิชย์
ก่อตั้ง1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี)
ผู้ก่อตั้งหลวงรอบรู้กิจ
สำนักงานใหญ่เลขที่ 333 ถนนสีลม
แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ให้บริการ
ไทย ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
บริการสถาบันการเงิน
เว็บไซต์www.bangkokbank.com

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED) SET:BBL[4] จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 โดยข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกัน มีสโลแกนที่ว่า "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน"

รายงานผลการสำรวจธนาคารยอดเยี่ยมในประเทศกำลังพัฒนาประจำปี 2546 ซึ่งตีพิมพ์ใน นิตยสารโกลบอล ไฟแนนซ์ ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2546 ได้กล่าวถึง ธนาคารกรุงเทพ ว่าเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[5]

ประวัติ

อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ
เสาป้ายของธนาคารกรุงเทพ สาขาบุรีรัมย์

ธนาคารกรุงเทพเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ มีพนักงานเริ่มแรกเพียง 23 คน กรรมการผู้จัดการใหญ่ท่านแรกคือ หลวงรอบรู้กิจ ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

กรรมการผู้จัดการท่านที่ 2 คือ ชิน โสภณพนิช ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารที่ครอบครองตำแหน่งได้นานที่สุดถึง 25 ปี (พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2520) นายชิน โสภณพนิช เป็นบุคคลที่มีแนวคิดริเริ่มที่ให้ธนาคารขยายเครือข่ายสาขาไปยังท้องที่ที่ห่างไกลทั่วประเทศ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์ จนทำให้ธนาคารเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออก และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ธนาคารได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นรูป ดอกบัวหลวง ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ธนาคารกรุงเทพได้ไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศ แห่งแรกคือที่ ฮ่องกง ต่อมาได้ไปเปิดที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้ไปเปิดที่ สิงคโปร์

กรรมการผู้จัดการท่านที่ 3 คือ บุญชู โรจนเสถียร เป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนการบริหารงานครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ธนาคารมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

กรรมการผู้จัดการท่านที่ 4 คือ ชาตรี โสภณพนิช เป็นผู้นำธนาคารกรุงเทพเข้าสู่ยุคทอง ผลประกอบการของธนาคารกรุงเทพในปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2535 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า และเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทำกำไรสุทธิมากกว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ณ ช่วงสมัยนั้น และ เป็น 1 ใน 200 ธนาคารชั้นนำของโลก และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ จากซอยธนาคารกรุงเทพ ถนนเสือป่า (ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมนั้น ก็ได้ถูกลดฐานะมาเป็นสาขาพลับพลาไชย และบางส่วนกลายมาเป็นอาคารพลับพลาไชย)[ต้องการอ้างอิง]มาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 333 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ใช้สำนักงานแห่งนี้มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

กรรมการผู้จัดการท่านที่ 5 คือ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นผู้ที่มีผลงานด้านกิจการธนาคารในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ธนาคารกรุงเทพเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก

กรรมการผู้จัดการท่านที่ 6 คือ ชาติศิริ โสภณพนิช เป็นบุตรชายคนโตของ ชาตรี โสภณพนิช เพียงระยะเวลาแค่ 3 ปีในการบริหารตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เศรษฐกิจไทยที่รุ่งเรืองมานานถึง 30 ปี ก็ได้อวสานลง ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก หลังจากที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว สถาบันการเงินหลายรายไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ประสบปัญหาล้มละลาย สถาบันการเงินที่เหลือประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพราะลูกค้าหลายราย ล้วนประสบปัญหาทางการเงิน ท่ามกลางอุปสรรค์เช่นนี้ นายชาติศิริ โสภณพนิช กลับแก้ "วิกฤติ" ให้เป็น "โอกาส" โดยการเสริมสร้างรากฐานทางการเงินให้แข็งแรงขึ้นอีกครั้ง

ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศ[6]มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 2.42 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 1,113 สาขา เครื่องเอทีเอ็มกว่า 7,500 เครื่อง สาขาไมโคร (Micro Branch) ที่เปิดให้บริการ 7 วัน มีเครือข่ายสาขาต่างประเทศทั้งหมด 32 แห่ง และสำนักงานตัวแทนอีกหนึ่งแห่งในเขตเศรษฐกิจสำคัญ 15 แห่ง

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2556 [7]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น