ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แชมพู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kppeaceman (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มการอ้างอิง
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


== ส่วนประกอบ ==
== ส่วนประกอบ ==
=== ส่วนประกอบที่มักใช้ ===
=== ส่วนประกอบที่มักใช้ === ก้อนเบ้อเร้อ
ได้แก่ [[สารชำระล้าง]] ([[:en:detergent|detergents]]) หรือ [[สารลดแรงตึงผิว]] ([[:en:surfactant|surfactants]]) แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มได้แก่
ได้แก่ [[สารชำระล้าง]] ([[:en:detergent|detergents]]) หรือ [[สารลดแรงตึงผิว]] ([[:en:surfactant|surfactants]]) แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มได้แก่
* สารชำระล้างชนิดประจุลบ (anionic surfactants)
* สารชำระล้างชนิดประจุลบ (anionic surfactants)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:35, 25 สิงหาคม 2560

ขวดแชมพูในยุคแรก

แชมพู[1] หรือ ยาสระผม หมายถึง สิ่งปรุงแต่งของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ใช้ขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลว ครีม เจล ผงหรือเม็ด ก้อน หรือฟอง

ส่วนประกอบ

=== ส่วนประกอบที่มักใช้ === ก้อนเบ้อเร้อ ได้แก่ สารชำระล้าง (detergents) หรือ สารลดแรงตึงผิว (surfactants) แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มได้แก่

  • สารชำระล้างชนิดประจุลบ (anionic surfactants)
  • สารชำระล้างชนิดประจุบวก (cationic surfactants)
  • สารชำระล้างชนิดไม่มีประจุ (nonionic surfactants)
  • สารชำระล้างชนิดมีสองประจุ (amphoteric surfactants)

ส่วนประกอบเสริม

  • สารปรับสภาพเส้นผม (conditioning agent)
  • สารเพิ่มฟอง (foam builder)
  • สารช่วยทำให้ข้น (thickening agent)
  • สารช่วยทำให้ใส (clarify agent)
  • สารช่วยให้ทึบแสง (opacifying agent)
  • สารกันการรวมตัวหรือสารซีเควสเตอร์ (sequestering agent)
  • สารปรับความเป็นกรดด่าง (pH adjuster)
  • สารกันเสีย (preservative)
  • ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี น้ำหอม สารขจัดรังแค สมุนไพร น้ำมันจากสัตว์ ฯลฯ

มาตรฐานอุตสาหกรรมไทย

แชมพูจัดเป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ดังนั้นจะต้องมีคุณลักษณะทั่วไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องสำอาง: ข้อกำหนดทั่วไป (มอก. 152-2539) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแชมพู (มอก. 162-2541) ดังนี้

  1. ต้องไม่มีสารหรือวัตถุห้ามใช้ตามข้อ ก. 1 (มอก. 152-2539)
  2. สารที่กำหนดปริมาณการใช้ ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดในภาคผนวก ข. (มอก. 152-2539)
  3. สีที่ใช้ในเครื่องสำอาง ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในภาคผนวก ค. (มอก. 152-2539)
  4. การระคายเคืองต่อผิวหนัง ต้องไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ดัชนีการระคายเคืองต่อผิวหนังต้องไม่เกิน 1 โดยเมื่อทดสอบตามภาคผนวก ง. (มอก. 152-2539)
  5. ความคงสภาพ คืออยู่ในสภาพที่ดี ไม่แปรสภาพหรือเสื่อมคุณภาพในระยะเวลาตามที่กำหนด (มอก. 152-2539)
  6. ต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่นใดที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงจากกรรมวิธีผลิตตามปกติวิสัยและสิ่งแปลกปลอมอื่นใดที่ไม่ควรมีอยู่ในสารต่างๆของส่วนประกอบแชมพู
  7. คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด (มอก. 152-2539)
  8. ต้องผ่านคุณลักษณะการใช้งาน 2 ประการ
    1. ความสามารถในการขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองบนเส้นผมและหนังศีรษะ ทั้งในน้ำอ่อนและน้ำกระด้าง
    2. ความสามารถที่ทำให้ผมนุ่มสลวย หวีและจัดทรงได้ง่าย
  9. ความเป็นกรด-ด่างในช่วง 5.0 – 8.0 (ยกเว้นแชมพูสำหรับเด็ก ค่าความเป็นกรด-ด่างในช่วง 6.5 – 7.5)
  10. ต้องไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา
  11. สารขจัดรังแค (เฉพาะแชมพูสำหรับขจัดรังแค) ต้องมีสารขจัดรังแคตามชนิดและปริมาณที่ระบุไว้ที่ฉลาก ไม่เกินร้อยละ 2.0
  1. แชมพูแก้ผมร่วง[1]