ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยาไอซ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7080105 สร้างโดย 2001:3C8:182D:4126:799B:F9A9:DDA9:7753 ([[User talk:2001:3C8:182D:4126:799B:F9A9:DDA9:7753|พูดคุ...
อิอิ
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


== ลักษณะของเม็ดยา ==
== ลักษณะของเม็ดยา ==
ยาไอซ์เป็นผลึกคล้าย[[น้ำแข็ง]] จึงเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่า[[ยาบ้า]]มากจึงมีคนเรียกว่า'''หัวยาบ้า'''
ยาไอซ์เป็นผลึกคล้าย[[น้ำแข็ง]] จึงเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่า[[ยาบ้า]]มากจึงมีคนเรียกว่า'''หัวยาบ้าอิอิ'''


== การนำไปใช้ ==
== การนำไปใช้ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:38, 16 กรกฎาคม 2560

ยาไอซ์ เป็นสารเสพติดในกลุ่มแอมเฟตามีน อนุพันธ์หนึ่งของยาบ้า จัดเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ลักษณะของเม็ดยา

ยาไอซ์เป็นผลึกคล้ายน้ำแข็ง จึงเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้ามากจึงมีคนเรียกว่าหัวยาบ้าอิอิ

การนำไปใช้

ละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด บางคนนำไปเผาไฟแล้วสูดดมควันเหมือนการเสพยาบ้า ยาตัวนี้ทำให้อารมณ์เคลิบเคลิ้มสนุกสนานสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ทำให้ติดได้ง่ายกว่า และมีอันตรายต่อร่างกาย อารมณ์และสังคมของผู้เสพมากกว่ายากลุ่มแอมเฟตามีนอื่นๆ ไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างแพง มักจะใช้กันในสังคมไฮโซ นายนันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ นักจิตวิทยา ศูนย์บำบัดจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ยาไอซ์จะใช้เหมือนกับยากลุ่มยาบ้าอื่นๆ คือ สูดดม กลืนหรือสอดใส่ทวารหรืออาจใช้วิธีการสูบหรือฉีด ซึ่งผลจากยาจะรวดเร็วกว่า ผลกระทบของยาไอซ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย น้ำหนัก ปริมาณและวิธีการใช้ยาเสพติด

ผลของยาไอซ์

ผลของยาไอซ์ที่มีต่อร่างกาย

รูม่านตาขยาย เหงื่อออกมาก การมองเห็นพร่ามัว วิงเวียน ร่างกายซูบผอม ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการหายใจสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและผิดปกติ มือและนิ้วสั่น คลื่นเหียนอาเจียน ที่สำคัญคือมีภาวะผิดปกติเสียหายอย่างถาวรของเส้นโลหิตในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ในปริมาณสูง หรืออาจจะช็อกหมดสติไปได้

ผู้ใช้ยาไอซ์เป็นระยะเวลานาน

ผู้ใช้ยาไอซ์เป็นระยะเวลานานจะมีคือ มีอาการซึมเศร้ารุนแรง ลดความอยากอาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว หวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำ มีคhวามผิดปกติของปอดและไต ซึ่งอาจถึงตายได้ ประสาทหลอน มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน มีโรคต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจ นอกจากนั้นการฉีดยาไอซ์เข้าทางเลือดทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสทางกระแสเลือด เช่น ตับอักเสบ B และ C โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกัน

การบำบัดรักษา

มีรายงานว่าผู้ใช้ยาไอซ์และยากลุ่มยาบ้าอื่นๆ ไม่ค่อยเข้ารับการบำบัดรักษาเหมือนผู้ใช้ยาเสพติดอื่น

อ้างอิง