ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดบ้านแพน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
|}
|}
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
1.http://www.thailandtemples.org/watbanpan/index.html
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:43, 28 พฤษภาคม 2560

วัดบ้านแพน พระนครศรีอยุธยา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบ้านแพน
ที่ตั้งเลขที่ ๑๒๕ หมู่ ๑ ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูปศิลาแลงศิลปะอู่ทอง
เจ้าอาวาสพระมงคลวุฒาจารย์ (ทองพูน ฐิตสีโล)
เวลาทำการเปิดทุกวัน
จุดสนใจสักการบูชา หลวงพ่อเพชร พระประธานศิลปะอู่ทองในอุโบสถ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบ้านแพน เป็นวัดราษฏร์ ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำน้อย เลขที่ ๑๒๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อาณาเขต

บริเวณพื้นที่ตั้งวัดบ้านแพนแต่เดิมนั้นเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ริมแม่น้ำน้อย มีเนื้อที่ ๓๔ ไร่ ๑ งาน ๖๗ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๓๐๐ มีมีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑๔ แปลง เนื้อที่ ๑๕๑ ไร่ ๒ งาน ๒๑ ตารางวา มีอาณาเขต ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับทางสาธารณะ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับคลองสามกอ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำน้อย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำปลายนาเก่า

ประวัติ

เดิมชื่อวัดจันทรคูหาวาส สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. ๒๒๘๐ ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว วัดบ้านแพนคงได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้อยู่บนเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่า เวลาต่อมาเมื่อพระยาตาก ได้กอบกู้เอกราช และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงธนบุรี ก็ทรงเร่งฟื้นฟูทำนุบำรุงบ้านเมืองเป็นการใหญ่ ทั้งในส่วนของกรุงธนบุรี ที่ทรงใช้เป็นพระนครหลวงราชธานีแห่งใหม่ และในส่วนของกรุงศรีอยุธยาเดิม วัดบ้านแพนก็เช่นเดียวกัน ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๐ ในสมัยกรุงธนบุรี แต่มิได้ระบุไว้ว่าใครเป็นผู้ดำเนินการ ภายหลังเมื่อย้ายพระนครมายังกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ปัจจุบันสิ่งที่ยังหลงเหลือมาจากอดีต คือ พระประธานในอุโบสถ ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปศิลาแลง ศิลปะอู่ทอง

ชื่อบ้านนามเมือง

มูลเหตุของการตั้งชื่อวัดนั้น ตำนานเก่าแก่ของท้องถิ่นบอกเล่าไว้ว่า แต่เดิมมีสำเภาใหญ่ล่องมาทางคลองรางจระเข้โดยหารู้ไม่ว่า บริเวณปากคลองนี้มีกระแสน้ำวนเชี่ยวกราก เรือสำเภาจึงเสียการทรงตัว กระแทกเข้าริมตลิ่ง แล้วบ่ายหัวไปอีกทาง สำเภากระแทกเข้ากับทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างไร้ทิศทาง จนเรือล่วงเข้าสู่ท้ายคลองจึงจมลงอย่างสงบนิ่ง มีเพียงเสากระโดงโผล่ขึ้นเหนือน้ำ ส่วนข้าวของและสัมภาระที่ติดมากับเรือต่างลอยกระจายอยู่ทั่วไป ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ต่างเข้าช่วยเหลือตามกำลัง ส่วนหนึ่งลากเอาเสื่อลำแพนที่ลอยไปติดเนินดินขึ้นตากแดดจนแห้ง ภายหลังจึงเรียกชื่อแห่งนั้นว่า “บ้านแพน”ส่วนกกที่ลอยไปติดใกล้โคกใหญ่ชาวบ้านได้ช่วยกันนำตากบนโคก จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “โคกเสื่อ” ส่วนพ่อค้าสำเภา หลังจากเรืออับปาง ก็ตัดสินใจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดเตือนใจในสัจธรรมของชีวิต และนำเสากระโดงเรือตั้งไว้เป็นสัญลักษณ์ แล้วขนานนามวัดว่า “วัดเสากระโดงทอง” บริเวณที่นำเสื่อลำแพนไปตากนั้น เป็นพื้นที่ในการครอบครองของวัดจันทรคูหาวาส ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดบ้านแพน” ส่วนเนินดินนั้นเมื่อสายน้ำเปลี่ยนทิศทางผ่านมายังจุดนั้น จึงกลายเป็นชุมทางเรือและการค้าขาย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเสนา

เสนาสนะ

  • อุโบสถ
  • หอไตร
  • ศาลาการเปรียญ
  • หมู่กุฏิสงฆ์

ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับเจ้าอาวาสวัดบ้านแพน ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
- -
- -
- -
- -
พระครูปริยัติคุณูปการ (วาสน์ ธมฺมโชโต) - พ.ศ.๒๕๒๗
พระมงคลวุฒาจารย์ (พูน ฐิตสีโล) พ.ศ. ๒๕๒๗ - ปัจจุบัน

อ้างอิง

1.http://www.thailandtemples.org/watbanpan/index.html