ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แกรพโตไลต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


==อนุกรมวิธาน==
==อนุกรมวิธาน==
มีชื่อเริ่มแรกว่า “Graptolithus” โดย ปอนด์ โครตคนกาเดี้ยน คลีฟแลนหัวคุอวย ในปี ค.ศ. 1735 ซึ่งพิจารณาให้เป็นสารอนินทรีย์ของแร่ที่ตกผลึกเกิดลวดลายคล้ายซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1768 ในวารสาร [[Systema Naturae]] ฉบับที่ 12 ลินเนียส ได้ให้ Graptorithus sagittarius และ G. scalaris ว่าอาจเป็นซากดึกดำบรรพ์พืชและแกรฟโตไลต์ตามลำดับ หนังสือ Skånska Resa ฉบับปี ค.ศ. 1751 เขาได้แสดงรูปด้วยข้อความว่า “ซากดึกดำบรรพ์หรือแกรฟโตไลต์แปลกๆ” ซึ่งปัจจุบันจัดให้เป็น Climacographtus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งของแกรฟโตไลต์ไบเซอเรียล ต่อมาชื่อนี้ได้ถูกใช้อ้างอิงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจำเพาะ ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 Graptolithus ได้ถูกยกเลิกโดย [[ICZN]] ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเริ่มแรกเป็นชื่อเรียกกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่มีความคล้ายซากดึกดำบรรพ์ (Bulman, 1970: V 6)
มีชื่อเริ่มแรกว่า “Graptolithus” โดย วิว โครตคนกาเดี้ยน คลีฟแลนหัวคุอวย ตัวเล็กแต่อย่างอื่นใหญ่ งุงิอิอิ ในปี ค.ศ. 1735 ซึ่งพิจารณาให้เป็นสารอนินทรีย์ของแร่ที่ตกผลึกเกิดลวดลายคล้ายซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1768 ในวารสาร [[Systema Naturae]] ฉบับที่ 12 ลินเนียส ได้ให้ Graptorithus sagittarius และ G. scalaris ว่าอาจเป็นซากดึกดำบรรพ์พืชและแกรฟโตไลต์ตามลำดับ หนังสือ Skånska Resa ฉบับปี ค.ศ. 1751 เขาได้แสดงรูปด้วยข้อความว่า “ซากดึกดำบรรพ์หรือแกรฟโตไลต์แปลกๆ” ซึ่งปัจจุบันจัดให้เป็น Climacographtus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งของแกรฟโตไลต์ไบเซอเรียล ต่อมาชื่อนี้ได้ถูกใช้อ้างอิงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจำเพาะ ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 Graptolithus ได้ถูกยกเลิกโดย [[ICZN]] ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเริ่มแรกเป็นชื่อเรียกกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่มีความคล้ายซากดึกดำบรรพ์ (Bulman, 1970: V 6)


ตั้งแต่ทศวรรตที่ 1970 ที่[[กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน]]มีความก้าวหน้า แกรฟโตไลต์จึงถูกพิจารณาให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดที่สุดกับพวก[[เธอโรบรานช์]] ซึ่งในปัจจุบันเป็นสัตว์ทะเลที่หายากกลุ่มหนึ่งถูกจัดอยู่ในไฟลั่ม Hemichordata เปรียบเทียบได้กับสัตว์ในไฟลั่มเฮมิคอร์ดาต้าปัจจุบันพวก [[Cephalodiscus]] และ [[Rhabdopleura]] ซึ่ง Cephalodiscus มีทั้งสิ้น 18 ชนิดถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882
ตั้งแต่ทศวรรตที่ 1970 ที่[[กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน]]มีความก้าวหน้า แกรฟโตไลต์จึงถูกพิจารณาให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดที่สุดกับพวก[[เธอโรบรานช์]] ซึ่งในปัจจุบันเป็นสัตว์ทะเลที่หายากกลุ่มหนึ่งถูกจัดอยู่ในไฟลั่ม Hemichordata เปรียบเทียบได้กับสัตว์ในไฟลั่มเฮมิคอร์ดาต้าปัจจุบันพวก [[Cephalodiscus]] และ [[Rhabdopleura]] ซึ่ง Cephalodiscus มีทั้งสิ้น 18 ชนิดถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:34, 22 พฤษภาคม 2560

แกรฟโตไลต์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 510–350Ma แคมเบรียนตอนกลางถึงคาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง
Diplograptus ยุคออร์โดวิเชียนใกล้กับคานีย์สปริงส์ เทนเนสซี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Hemichordata
ชั้น: Graptolithina
Orders

แกรฟโตไลต์ (Graptolithina) เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์โดยทั่วไปพบจากหินตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนบนตลอดจนยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง แกรฟโตไลต์รุ่นแรกๆอาจเป็น Chaunograptus จากยุคแคมเบรียนตอนกลาง

ชื่อแกรฟโตไลต์มาจากภาษากรีกคำว่า “graptos” หมายถึงรอยขีดเขียน และคำว่า “lithos” หมายถึงหิน ด้วยซากดึกดำบรรพ์ของแกรฟโตไลต์มีลักษณะคล้ายรอยขีดเขียนบนพื้นหิน เดิมทีลินเนียสได้พิจารณาให้เป็นเพียงรอยภาพที่ไม่ใช่ซากดึกดำบรรพ์จริงๆ ต่อมามีผู้ศึกษาหลายท่านดังเช่น ดร.ทิโมธี ทอปเปอร์ ที่มีความเห็นว่าอาจเป็นพวกไฮโดรซัว ซึ่งผลงานต่อจากนั้นได้พิจารณาให้เป็นพวกเธอโรบรานซ์

อนุกรมวิธาน

มีชื่อเริ่มแรกว่า “Graptolithus” โดย วิว โครตคนกาเดี้ยน คลีฟแลนหัวคุอวย ตัวเล็กแต่อย่างอื่นใหญ่ งุงิอิอิ ในปี ค.ศ. 1735 ซึ่งพิจารณาให้เป็นสารอนินทรีย์ของแร่ที่ตกผลึกเกิดลวดลายคล้ายซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1768 ในวารสาร Systema Naturae ฉบับที่ 12 ลินเนียส ได้ให้ Graptorithus sagittarius และ G. scalaris ว่าอาจเป็นซากดึกดำบรรพ์พืชและแกรฟโตไลต์ตามลำดับ หนังสือ Skånska Resa ฉบับปี ค.ศ. 1751 เขาได้แสดงรูปด้วยข้อความว่า “ซากดึกดำบรรพ์หรือแกรฟโตไลต์แปลกๆ” ซึ่งปัจจุบันจัดให้เป็น Climacographtus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งของแกรฟโตไลต์ไบเซอเรียล ต่อมาชื่อนี้ได้ถูกใช้อ้างอิงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจำเพาะ ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 Graptolithus ได้ถูกยกเลิกโดย ICZN ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเริ่มแรกเป็นชื่อเรียกกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่มีความคล้ายซากดึกดำบรรพ์ (Bulman, 1970: V 6)

ตั้งแต่ทศวรรตที่ 1970 ที่กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีความก้าวหน้า แกรฟโตไลต์จึงถูกพิจารณาให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดที่สุดกับพวกเธอโรบรานช์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นสัตว์ทะเลที่หายากกลุ่มหนึ่งถูกจัดอยู่ในไฟลั่ม Hemichordata เปรียบเทียบได้กับสัตว์ในไฟลั่มเฮมิคอร์ดาต้าปัจจุบันพวก Cephalodiscus และ Rhabdopleura ซึ่ง Cephalodiscus มีทั้งสิ้น 18 ชนิดถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882

แกรฟโตไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนี

แกรฟโตไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่พบกระจายตัวได้ทั่วโลก โดยพบในปริมาณที่แปรเปลี่ยนตลอดช่วงธรณีกาลที่สามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินได้ทั่วโลก พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่สำคัญที่ใช้ระบุอายุของหินในมหายุคพาลีโอโซอิกได้ด้วยแกรฟโตไลต์มีวิวัฒนาการที่รวดเร็วก่อให้เกิดสายพันธุ์ที่หลากหลาย นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษสามารถแยกชั้นหินยุคออร์โดว้เชียนและชั้นหินยุคไซลูเรียนออกจากกันได้โดยใช้โซนของแกรฟโตไลต์ซึ่งมีหลายโซนที่มีช่วงอายุน้อยกว่าหนึ่งล้านปี ยุคน้ำแข็งทั่วโลกในช่วงปลายของยุคออร์โดวิเชียนได้ทำให้แกรฟโตไลต์หลายชนิดสูญพันธุ์ โดยชนิดที่พบในช่วงยุคไซลูเรียนเป็นผลมาจากการแตกแขนงสายพันธุ์มาจากแกรฟโตไลต์หนึ่งหรือสองชนิดเท่านั้นที่รอดพ้นยุคน้ำแข็งยุคออร์โดวิเชียนมาได้

นอกจากนี้แกรฟโตไลต์ยังถูกนำมาใช้ในการประมาณค่าความลึกและอุณหภูมิของน้ำได้ด้วย

รูปลักษณ์สัณฐาน

รูปลักษณ์สัณฐานของแกรฟโตไลต์จาก Encyclopædia Britannica.
เดนดรอยด์ Thallograptus sphaericola ติดกับคิสตอยด์แกรฟโตไลต์ Echinosphaerites aurantium ยุคออร์โดวิเชียนทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอสโตเนีย

โคโลนีของแกรฟโตไลต์แต่ละกลุ่มรู้จักกันในนามของ rhabdosome และมีจำนวนกิ่งก้านที่แปรผันเกิดจากซิคูล่าเดี่ยวๆเริ่มต้นอันหนึ่ง (ซูอิด) โดยซูอิดแต่ละอันจะอยู่ในโครงสร้างคล้ายรูปท่อหรือคล้ายรูปถ้วยที่เรียกว่า “เธคา” บางโคโลนีมีเธคาสองขนาดซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการมีลักษณะคู่ทางเพศ จำนวนกิ่งก้านและการจัดเรียงเธคาเป็นลักษณะที่สำคัญในการวินิจฉัยซากดึกดำบรรพ์แกรฟโตไลต์

แกรฟโตไลต์ที่มีลักษณะของกิ่งก้านที่แตกแขนงแบบกิ่งไม้ถูกจัดให้เป็นเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ (อันดับ Dendroidea) พบเป็นซากดึกดำบรรพ์รุ่นแรกๆในช่วงยุคแคมเบรียนและโดยทั่วไปจัดให้เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเลด้วยฐานที่มีลักษณะคล้ายราก แกรฟโตไลต์ที่มีกิ่งก้านสาขาน้อยจะวิวัฒนาการมาจากเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ในช่วงต้นของยุคออร์โดวิเชียนซึ่งจัดให้อยู่ในอันดับ Graptoloidea ที่เป็นแกรฟโตไลต์อาศัยลอยอยู่ในน้ำทะเล หรือลอยอย่างอิสระบนพื้นผิวน้ำทะเล หรือยึดเกาะกับสาหร่ายทะเลที่ร่องลอยไปในทะเล ที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ประสพความสำเร็จที่จัดเป็นแพงตรอนสัตว์ที่สำคัญจนกระทั่งได้ล้มตายสูญพันธุ์ไปในช่วงต้นของยุคดีโวเนียน ส่วนเดนดรอยด์แกรฟโตไลต์ดำรงเผ่าพันธุ์จนถึงยุคคาร์บอนิเฟอรัส

การกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์

ปรกติจะพบซากดึกดำบรรพ์แกรฟโตไลต์ในหินดินดานและหินโคลนซึ่งเป็นหินที่สะสมตังในท้องทะเลที่พบซากดึกดำบรรพ์น้อย หินเหล่านี้เกิดจากการสะสมตะกอนในทะเลลึกที่ไม่ค่อยมีกระแสน้ำหมุนวน มีปริมาณออกซิเจนน้อย และขาดสิ่งมีชีวิตที่จะมากินแกรฟโตไลต์เป็นอาหาร แกรฟโตไลต์ที่ตายก็จะตกจมลงสู่พื้นท้องทะเลถูกตะกอนปิดทับจนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามก็พบแกรฟโตไลต์ในหินปูนและหินเชิร์ตได้ด้วยเหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วหินเหล่านี้จะเกิดสะสมตัวในสภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์อื่นๆที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเล อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าที่ซากของแกรฟโตไลต์จะตกเป็นอาหารของสัตว์ดังกล่าว

ซากดึกดำบรรพ์ของแกรฟโตไลต์ปรกติจะพบแบนเรียบไปกับระนาบชั้นหินที่มันอยู่ ทั้งนี้อาจพบหนานูนขึ้นหากมันถูกแทนที่ด้วยแร่ไพไรต์ แกรฟโตไลต์มีรูปร่างที่แปรผันแต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ดังเช่น Dictoyonema หรือรูปร่างคล้ายใบเลื่อย หรือรูปร่างคล้ายส้อม ดังเช่น Didymographtus murchisoni ซากเหลือของแกรฟโตไลต์อาจเข้าใจผิดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์พืชโดยผู้พบเห็นทั่วไป

ปรกติแล้วแกรฟโตไลต์จะเกิดเป็นแผ่นฟิล์มสีดำบนพื้นผิวของแผ่นหิน บางครั้งจะเลือนลางจนยากที่จะสังเกตเห็น แต่หากเอียงแผ่นหินให้ทำมุมกับทิศทางของแสงจะทำให้เห็นเป็นร่องรอยเหลือบแสงชัดเจน นอกจากนี้อาจพบแกรฟโตไลต์ที่ถูกแทนที่ด้วยแร่ไพไรต์ได้ด้วยเหมือนกัน

แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ของแกรฟโตไลต์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษคืออ่าวอะเบอเรดดี ดายเฟด เวลล์ พบอยู่ในหินยุคออร์โดวิเชียน

ซากดึกดำบรรพ์แกรฟโตไลต์ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยพบมากในหินดินดานสีดำยุคดีโวเนียนตอนต้น บริเวณหลัก กม. ที่ 105.9 ของถนนสายเชียงใหม่-อำเภอฝาง โดยพบเป็นแกรฟโตไลต์สกุล Monographtus 3 ชนิด คือ M. hercynicus, M. yukonensis และ M. yukonensis fangensis

อ้างอิง

  • Bulman, 1970. In Teichert, C. (ed.). Treatise on Invertebrate Paleontology. Part V. Graptolithina , with sections on Enteropneusta and Pterobranchia. (2nd Edition). Geological Society of America and University of Kansas Press, Boulder, Colorado and Lawrence, Kansas, xxxii + 163 pp.

Jaroslav Kraft, Czech palaeontologist and a specialist in dendroid graptolites

เชื่อมต่อภายนอก