ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทูล ทองใจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วนา (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
วนา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[ไฟล์:สี่ทหารเสือ-จุฬารัตน์.jpg|thumb|สี่ทหารเสือของ[[วงดนตรีจุฬารัตน์]] จากซ้าย [[ปอง ปรีดา]], [[นคร ถนอมทรัพย์]], ทูล ทองใจ, [[พร ภิรมย์]]]]
[[ไฟล์:สี่ทหารเสือ-จุฬารัตน์.jpg|thumb|สี่ทหารเสือของ[[วงดนตรีจุฬารัตน์]] จากซ้าย [[ปอง ปรีดา]], [[นคร ถนอมทรัพย์]], ทูล ทองใจ, [[พร ภิรมย์]]]]


'''ทูล ทองใจ''' ([[1 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2470]] - [[1 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2538]]) มีชื่อจริงว่า '''น้อย ทองใจ''' นักร้องเพลงลูกทุ่งชาวสมุทรสงคราม เข้าสู่วงการจากการชักนำของ [[เบญจมินทร์]] (ตุ้มทอง โชคชนะ)
โดยอัดแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อ "พี่ทุยหน้าทื่อ" ก่อนจะโด่งดังกับเพลงโปรดเถิดดวงใจผลงานของเบญจมินทร์เช่นเดียวกันก่อนที่จะมาฝากให้อยู่กับ[[วงดนตรีจุฬารัตน์]] ของครู[[มงคล อมาตยกุล]] และได้รับการสนับสนุนจากครู[[ไพบูลย์ บุตรขัน]]


ทูล ทองใจ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 จากอาการ[[เส้นโลหิตในสมองแตก]]
ทูล   ทองใจ    ชื่อจริง  น้อย  ทองใจ  เกิดเมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.2470   ที่อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่อำเภอแม่กลอง   พ่อเป็นชาวจีน “แซ่ทอง” ต่อมาคุณพ่อเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ทองใจ”  แม่ชื่อ “นิ่ม  ทองใจ”  มีพี่น้อง  5 คน  ชาย 3  หญิง 2 ทูลเป็นคนที่ 3

        พ่อตายตั้งแต่ลูกๆอายุยังน้อย แม่มีสามีใหม่และได้ย้ายครอบครัวไปอยู่มหาชัย   ทูลจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงประกวดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี เพลงที่ชื่นชอบเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ “ค่ำแล้วในฤดูหนาว” ของครูล้วน  ควันธรรม  และเพลง “หยาดฟ้ามาดิน”  ของครูสมยศ  ทัศนพันธ์  ประกวดที่ไหนจะนำ 2เพลงนี้ขึ้นประกวดเสมอ และจะชนะเลิศทุกครั้งไป  ในขณะที่อายุได้ 19 ปี  เขาได้รับเกียรติจากผู้ใหญ่ให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้อง นับเป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุด ทำให้เขาภูมิใจไม่เคยลืม   หลังจากนั้นครูชาญชัย  บังบังศร แนะนำให้ไปร้องเพลงอยู่ที่ห้องอาหารจังหวัดภูเก็ต   ทนลำบากอยู่หลายปีเหมือนกัน จึงหวนกลับกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง
                ความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอาชีพเริ่มเป็นจริง  เมื่อได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัด  ขส.ทบ. ความสามารถในการร้องเพลง  ทำให้เขาได้เป็นนักร้องประจำวง “ลูกมาตุลี” ซึ่งเป็นวงดนตรีชื่อดังของกรมการขนส่งทหารบกในสมัยนั้น
                เมื่อออกจากวง “ลูกมาตุลี” ของ ขส.ทบ. ขณะนั้นมียศสิบเอก  ครูสิทธิ์  โมรากรานต์  นำไปพบกับครู “เบญจมินทร์”  ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงแรกให้ร้องบันทึกเสียง เมื่อปี พ.ศ.2499 ในเพลง “ทุยหน้าทื่อ” นำไปร้องสลับหน้าม่านโรงละครเฉลิมนครอยู่เป็นปีจนช่ำชอง ต่อมาในปี พ.ศ.2500  หลังจากครูเบญจมินทร์เดินทางกลับจากประเทศเกาหลี ก็นำเพลงมาให้ครูมงคล  อมาตยกุล เรียบเรียงเสียงประสานเพลง “โปรดเถิดดวงใจ”  ให้ ทูล   ทองใจ  ขับร้อง  ปรากฏว่าเพลง “โปรดเถิดดวงใจ” โด่งดังเป็นพลุแตกมาก  ทำให้ชื่อของทูล ทองใจเกิดขึ้นในวงการเพลง ต่อมาครูเบญจมินทร์แต่งให้ร้องอีกหลายเพลง เช่น“ปรารถนา”  และหลายต่อหลายเพลง  เนื่องจากครูเบญจมินทร์มีงานล้นมือ ทั้งงานด้านดนตรีและงานภาพยนตร์  จึงฝากทูล  ทองใจ ให้ครูมงคล อมาตยกุลอุปการะต่อ  และได้ครูไพบูลย์  บุตรขัน  แต่งเพลงให้อีกแรงหนึ่ง  ทำให้ชื่อเสียงของทูล  ทองใจ  นอกจากจะโด่งดังคับฟ้าในประเทศไทยแล้ว ยังดังไกลไปถึงประเทศลาว เป็นดาวค้างฟ้ามาตั้งแต่บัดนั้น

ทูล ทองใจ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 จากอาการความดันโลหิตสูงจนทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก เป็นปีที่เกิดสุริยุปราคา ที่มักจะพรากคนสำคัญไปหลายคน


== เกียรติยศ ==
== เกียรติยศ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:05, 12 ธันวาคม 2559

ทูล ทองใจ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2470[1]
น้อย ทองใจ
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (66 ปี)
โรงพยาบาลวชิระ กรุงเทพฯ
คู่สมรสนวลสวาท ชื่นชมบุญ
อาชีพนักร้อง
สังกัดวงดนตรีเบญจมินทร์และสหาย,วงดนตรีจุฬารัตน์. วงดนตรีมุกดาพันธ์. วงดนตรีทูลใจ
ไฟล์:สี่ทหารเสือ-จุฬารัตน์.jpg
สี่ทหารเสือของวงดนตรีจุฬารัตน์ จากซ้าย ปอง ปรีดา, นคร ถนอมทรัพย์, ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์


        ทูล   ทองใจ    ชื่อจริง  น้อย  ทองใจ  เกิดเมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.2470   ที่อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่อำเภอแม่กลอง   พ่อเป็นชาวจีน “แซ่ทอง” ต่อมาคุณพ่อเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ทองใจ”  แม่ชื่อ “นิ่ม  ทองใจ”  มีพี่น้อง  5 คน  ชาย 3  หญิง 2 ทูลเป็นคนที่ 3

        พ่อตายตั้งแต่ลูกๆอายุยังน้อย แม่มีสามีใหม่และได้ย้ายครอบครัวไปอยู่มหาชัย   ทูลจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงประกวดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี เพลงที่ชื่นชอบเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ “ค่ำแล้วในฤดูหนาว” ของครูล้วน  ควันธรรม  และเพลง “หยาดฟ้ามาดิน”  ของครูสมยศ  ทัศนพันธ์  ประกวดที่ไหนจะนำ 2เพลงนี้ขึ้นประกวดเสมอ และจะชนะเลิศทุกครั้งไป  ในขณะที่อายุได้ 19 ปี  เขาได้รับเกียรติจากผู้ใหญ่ให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้อง นับเป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุด ทำให้เขาภูมิใจไม่เคยลืม   หลังจากนั้นครูชาญชัย  บังบังศร แนะนำให้ไปร้องเพลงอยู่ที่ห้องอาหารจังหวัดภูเก็ต   ทนลำบากอยู่หลายปีเหมือนกัน จึงหวนกลับกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง                 ความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอาชีพเริ่มเป็นจริง  เมื่อได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัด  ขส.ทบ. ความสามารถในการร้องเพลง  ทำให้เขาได้เป็นนักร้องประจำวง “ลูกมาตุลี” ซึ่งเป็นวงดนตรีชื่อดังของกรมการขนส่งทหารบกในสมัยนั้น                 เมื่อออกจากวง “ลูกมาตุลี” ของ ขส.ทบ. ขณะนั้นมียศสิบเอก  ครูสิทธิ์  โมรากรานต์  นำไปพบกับครู “เบญจมินทร์”  ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงแรกให้ร้องบันทึกเสียง เมื่อปี พ.ศ.2499 ในเพลง “ทุยหน้าทื่อ” นำไปร้องสลับหน้าม่านโรงละครเฉลิมนครอยู่เป็นปีจนช่ำชอง ต่อมาในปี พ.ศ.2500  หลังจากครูเบญจมินทร์เดินทางกลับจากประเทศเกาหลี ก็นำเพลงมาให้ครูมงคล  อมาตยกุล เรียบเรียงเสียงประสานเพลง “โปรดเถิดดวงใจ”  ให้ ทูล   ทองใจ  ขับร้อง  ปรากฏว่าเพลง “โปรดเถิดดวงใจ” โด่งดังเป็นพลุแตกมาก  ทำให้ชื่อของทูล ทองใจเกิดขึ้นในวงการเพลง ต่อมาครูเบญจมินทร์แต่งให้ร้องอีกหลายเพลง เช่น“ปรารถนา”  และหลายต่อหลายเพลง  เนื่องจากครูเบญจมินทร์มีงานล้นมือ ทั้งงานด้านดนตรีและงานภาพยนตร์  จึงฝากทูล  ทองใจ ให้ครูมงคล อมาตยกุลอุปการะต่อ  และได้ครูไพบูลย์  บุตรขัน  แต่งเพลงให้อีกแรงหนึ่ง  ทำให้ชื่อเสียงของทูล  ทองใจ  นอกจากจะโด่งดังคับฟ้าในประเทศไทยแล้ว ยังดังไกลไปถึงประเทศลาว เป็นดาวค้างฟ้ามาตั้งแต่บัดนั้น

ทูล ทองใจ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 จากอาการความดันโลหิตสูงจนทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก เป็นปีที่เกิดสุริยุปราคา ที่มักจะพรากคนสำคัญไปหลายคน

เกียรติยศ

ทูล ทองใจ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง

รักใครไม่เท่าน้อง (พ.ศ. 2509) นางรอง(พ.ศ. 2514) ผลงานของครูพยงค์ มุกดา และ อยากบอกรักแต่ไม่กล้า (พ.ศ. 2522) ผลงานของ มงคล อมาตยกุล

ได้รับรางวัลพระราชทานจาการกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย จากเพลง "น้ำตาเทียน" ของครูไพบูลย์ บุตรขัน และเพลง "โปรดเถิดดวงใจ" ของครูเบญจมินทร์ ในปี พ.ศ. 2532 [2]

ผลงาน

  • ชุด โปรดเถิดดวงใจ

1 เดือนต่ำดาวตก ไพบูลย์ บุตรขัน

2 จอมขวัญใจ ร้อยแก้ว รักไทย

3 โปรดเถิดดวงใจ เบญจมินทร์

4 น้ำตาเทียน ไพบูลย์ บุตรขัน

5 ยังรักยังหลง

6 เนื้อทิพย์

7 รังรักในจินตนาการ ไพบูลย์ บุตรขัน

8 ขนิษฐา ไพบูลย์ บุตรขัน

9 จูบซับน้ำตา

10 แสบทรวง ไพบูลย์ บุตรขัน

11 ซุ้มรักเก่า

12 ใจหาย

13 รักจนขาดใจ ไพบูลย์ บุตรขัน

14 กระท่อมชาวไร่ สันต์ ศิลป์ประสิทธิ์

  • ชุด นิราศเวียงพิงค์

1 นิราศเวียงพิงค์

2 คืนอำลา

3 คืนนั้นสวรรค์ล่ม ไพบูลย์ บุตรขัน

4 จินตนารำลึก

5 นกเขาขันฉันครวญ ไพบูลย์ บุตรขัน

6 หวนคะนึง

7 รักฝังใจ

8 นางแก้ว

9 ฝันสวาท

10 เหนือดวงชีวา ไพบูลย์ บุตรขัน

11 แล้วจะรู้ว่าพี่รัก ไพบูลย์ บุตรขัน

12 ดอยสาวครวญ

  • ชุด อ่านหัวใจ

1 อ่านหัวใจ

2 เชลยรัก

3 ห้องรัก

4 กลิ่นสไบนาง

5 กลิ่นปรางนางหอม

6 พี่ทุยหน้าทื่อ

7 เธอรู้หรือเปล่า

8 ปรางชมพู

9 ไกลน้อง

10 ไพรรำพึง

11 รสสวาทวาย

12 น้ำตานาง

13 รักสุดหัวใจ

14 รอยรักในอารมณ์

  • ชุด เหนือฝัน

1 เหนือฝัน

2 ไพรระกำ

3 คืนพี่ครวญ

4 แขไข

5 กระท่อมวิปโยค

6 มนต์เมืองเหนือ

7 ใครทำเธอร้องไห้

8 สวรรค์จำลอง

9 ในห้องหัวใจ

10 ตัดสวาท

11 แก่งสะพือ

12 วาสนา

13 มนต์สวาท

14 อยากบอกว่ารัก

15 เทวี

16 สวนสน

  • ชุด นางรอง

1 นางรอง

2 นางหงส์

3 นางครวญ

4 นางอาย

5 สาส์นรักฉบับล่า

6 กอดหมอนนอนเพ้อ

7 ในฝัน

8 นางห้าม

9 นางนอน

10 เทพธิดาหลงฟ้า

11 เรือนหอสีฟ้า

12 ยังรักเธอคนเดียว

13 กลับมาเถิดดวงใจ

14 แว่วเสียงชะนี

  • ชุด อันเป็นดวงใจ

1 อันเป็นดวงใจ

2 ขอบฟ้ากำแพงดิน

3 คืนนั้น

4 บ่วงมาร

5 ปรารถนา

6 กลิ่นแก้มนาง

7 จูบมัดจำ

8 จากเหนือเมื่อหมนาว

9 น้องนางเมืองใต้

10 สุดาดอกฟ้า

11 ลืมพี่

12 กระดังงาลนไฟ

13 ดอกทานตะวัน

14 ฝากหัวใจ

เกร็ดชีวิต

- ถูกเรียกว่า เจ้าชายรัตติกาล

ฉายา นักร้องเสียงระฆังเงิน
           เทพบุตรเสียงกังสดาล

-มีลีลาการร้องที่พริ้วไหวอ่อนช้อยราวกับหางหงส์ ตามคำของใครคนหนึ่งในความฝัน

- หลายบทเพลงมีเนื้อหาในเชิงอีโรติก[3]

- ยึดแนวเสียง ชาญ เย็นแข สมยศ ทัศนพันธ์ และวัลลภ วิชุกร

- เพลงหลายเพลงที่แต่งโดยครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยให้นักร้องคนอื่นร้องมาก่อน เช่น มนต์เมืองเหนือ ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์ เพลง น้ำตาเทียน ขับร้องครั้งแรก โดยสมจิตร ตัดจินดา

- เพลงโปรดเถิดดวงใจ มีครูเบญจมินทร์ ประพันธ์คำร้องทำนอง โดยเบญจมินทร์ มีครูมงคลเล่นเปียโน ส่วนเสียงแอคคอเดียนเป็นของ ชาญชัย บัวบังศร

- นคร ถนอมทรัพย์ (กุง กาดิน) เคยกล่าวว่าสไตล์การร้องของครู ทูล ทองใจ ไม่ใช่ลูกทุ่ง

- บางแห่งจัดให้ทูล ทองใจ เป็นนักร้องไทยสากลลูกกรุง

- เป็นนักร้องในยุคแรก ๆ ที่ขายได้ล้านแผ่น

- ถ้าไปตามชนบท จะได้ยินเพลงของ ทูล ทองใจ เปิดตอนเช้ามืด

- ความโด่งดัง ของ ทูล ทองใจ โด่งดังมากจนตอนที่ไปร้องเพลงที่เชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นำช้างมาต้อนรับเลยทีเดียว

- ทูล ทองใจ บันทึกแผ่นเสียงไว้มากกว่า 700 เพลง เพลงที่มีชื่อเสียง เช่น โปรดเถิดดวงใจ(เพลงแรกที่ดังและดังระดับตำนาน),ในฝัน, เหนือฝัน, ปรารถนา, กลิ่นปรางนางหอม, น้ำตาเทียน(บันทึเสียงครั้งแรกโดยสมจิตร ตัดจินดา) มนต์เมืองเหนือ (บันทึกเสียงครั้งแรกโดย สมยศ ทัศนพันธ์), รังรักในจินตนาการ, นิราศเวียงพิงค์, คืนนั้นสวรรค์ล่ม, เสียงดุเหว่าแว่ว, กระท่อมชาวไร่, บ่วงมาร ,ตัดไม่ขาด(เพลงเดียวกับที่ สุเทพ วงศ์กำแหงร้อง),กระท่อมวิปโยค, พี่ทุยหน้าทื่อ (เพลงแรกที่บันทึกเสียง) , คืนอำลา, คืนนั้น ,คืนพี่ครวญ, นางรอง (รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน) , นางอาย ,นางครวญ, นางห้าม , นางนอน , นางหงส์ ,รักใครไม่เท่าน้อง (แผ่นเสียงทองคำพระราชทานเพลงแรก) , จูบมัดจำ , อ่านหัวใจ ,สอนพี่ให้รัก,นกเขาขันฉันครวญ, แว่วเสียงชะนี,อันเป็นดวงใจ , ความรักครองใจ , เหนือดวงชีวา ,รักสุดหัวใจ,รักจนขาดใจ, รอยรักในอารมณ์ ,แล้วจะรู้ว่าพี่รัก,เธอรู้หรือเปล่า, กลิ่นแก้มนาง , รักฝังใจ,กระต่ายเต้น,เทพธิดาหลงฟ้า,ปรางชมพู , กลิ่นสไบนาง , ห้องรัก, ซุ้มรักเก่า , แสบทรวง , สาส์นรักฉบับล่า , ลืมพี่ , เดือนต่ำดาวตก , แสงจันทร์แห่งความหลัง,น้ำเหนือบ่า , เพลงรักเพลงคิดถึง,สวนสน ,ดอกทานตะวัน,กระดังงาลนไฟ, ความหลังฝังใจ , ไพรระกำ , ไพรรำพึง , เดินดงหลงป่า , ความหลังฝังใจ, อยากบอกรักแต่ไม่กล้า (บันทึกเสียงครั้งแรกโดย ไชยยศ อมาตยกุล ในเพลง ในดวงใจ) , แขไข , ไกลน้อง , จอมขวัญใจ, ผานางคอย, แก่งสะพือ, จากเหนือเมื่อหนาว, น้องนางเมืองใต้, สุราษฎร์ธานี เป็นต้น-->

- ปรากฏตัวครั้งแรกและครั้งเดียวในภาพยนตร์ไทยเรื่อง เป็ดน้อย ของอัศวินภาพยนตร์ พ.ศ. 2511 แสดงเป็นตนเองในฉากถูกลูกกำนัน ลักพาตัวให้มาร้องเพลงในงานที่บ้าน (ร้องสดเพลงโปรดเถิดดวงใจ) ซึ่งดัดแปลงมาจากเหตุการณ์จริงในชีวิต โดยใช้เสียงตนเองพากย์ลงฟิล์มด้วย

    คำพูดที่มักจะได้ยินผู้คนพูดกันบ่อยๆอยู่เสมอๆเมื่อเอ่ยถึง ทูล คือหาไม่ได้อีกแล้ว ไม่มีอีกแล้ว ไม่มีใครเทียบเทียม
   โปรดเถิดดวงใจ คือเพลงที่นักจัดรายการวิทยุนิยมตั้งเป็นเพลงไตเติ้ลกันมากที่สุดสมัยหนึ่ง

อ้างอิง

  • เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0