พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์

พิกัด: 13°43′43″N 100°31′56″E / 13.728736°N 100.532163°E / 13.728736; 100.532163
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์
แผนที่
ก่อตั้งตุลาคม 2562 (2019-10)
ที่ตั้งพัฒน์พงศ์, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[1] เปิดใน พ.ศ. 2562 บนถนนพัฒน์พงศ์ซอย 2 มีการจัดแสดงนิทรรศการเชิงโต้ตอบ วัตถุต่าง ๆ และพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นซ้ำใหม่[2] โดยครอบคลุมประวัติศาสตร์ของย่านพัฒน์พงศ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 เมื่อตระกูลพัฒน์พงศ์พานิชซื้อที่ดินจนถึงการพัฒนาที่เกิดขึ้นตามมา[3] ฉายแสงไฟส่องให้เห็นถึงซีไอเอที่อยู่ในพัฒน์พงศ์ผ่านสายการบินลับขององค์กรอย่าง "Civil Air Transport" และ "Air America" และนำเสนอสงครามเย็น สงครามเวียดนาม และสงครามลับในประเทศลาวในบริบทของย่านพัฒน์พงศ์[4]

นิทรรศการส่วนที่สองเกี่ยวกับการพัฒนาต่อมาของย่านพัฒน์พงศ์จนกลายเป็นย่านสถานบันเทิงที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และจนกลายเป็นย่านโคมแดงในที่สุด ซูเปอร์สตาร์ที่มาเยี่ยมเยือนและถ่ายทำภาพยนตร์ที่พัฒน์พงศ์อย่างเดวิด โบอี, โรเบิร์ต เดอ นีโร, ฌ็อง-โกลด ว็อง ดาม และคริสโตเฟอร์ วอลเคน ได้ประทับรอยการมีอยู่ของย่านนี้ลงในวัฒนธรรมประชานิยม[5]

พิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งนี้ตั้งอยู่บนชั้นสองของตึกห้า ข้างใต้ไนต์คลับ Black Pagoda และเปิดทุกวัน[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Raj, Mark Ryan (29 ตุลาคม 2019). "History of Bangkok's 'soi of sex' at Patpong Museum now open in Bangkok's famous red-light district". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2019.
  2. Itthipongmaetee, Chayanit (27 พฤศจิกายน 2019). "Secret History of Sex: Relive Patpong's 70 vivid years at new museum". Coconuts Bangkok. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2019.
  3. Janssen, Peter (29 พฤศจิกายน 2019). "Patpong: the rise of Bangkok's most famous red light district". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.
  4. Ehrlich, Richard S. "Secrets of Bangkok red light zone laid bare in new museum". ซีเอ็นเอ็น (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.
  5. "Patpong Museum". BK Magazine (ภาษาอังกฤษ). 3 ธันวาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.

13°43′43″N 100°31′56″E / 13.728736°N 100.532163°E / 13.728736; 100.532163