พิธีสวนสนามวันชาติสาธารณรัฐจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิธีสวนสนามวันชาติสาธารณรัฐจีน เป็นพิธีสวนสนามของกองทัพสาธารณรัฐจีน จัดขึ่นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1936 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีการจัดสวนสนามในจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มจัดพิธีนี้อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ภายหลังการอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่เกาะไต้หวัน

ผู้เข้าร่วมพิธีสวนสนาม[แก้]

ลำดับขั้นตอนพิธีการ[แก้]

  1. ขบวนสวนสนามทุกกองพร้อมกันที่จุดรวมพล ในส่วนของกองทหารเกียรติยศประจำจุดที่หน้าพลับพลาพิธี
  2. เมื่อใกล้ถึงเวลา 10 นาฬิกา แตรเป่าสัญญาณเตรียมตัว วงดุริยางค์บรรเลงเพลงเดินสำหรับประธานาธิบดี จากนั้นประธานาธิบดีประจำที่แท่นพิธีการ
  3. ผู้บังคับการขบวนสวนสนาม สั่งทำความเคารพ ปืนใหญ่ยิงสลุตจำนวน 21 นัด วงดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติสาธารณรัฐจีน
  4. เมื่อสิ้นสุดการบรรเลงเพลงชาติ ผู้บังคับการขบวนสวนสนาม สั่งเรียบอาวุธ หลังจากนั้น ผู้บังคับการขบวนสวนสนามรายงาน
  5. ในระหว่างที่กองทหารเกียรติยศปรับรูปแถวเพื่อเข้าขบวนสวนสนาม ดุริยางค์บรรเลงเพลงประจำเหล่าทัพ ประกอบการสวนสนามทางอากาศโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
  6. วงดุริยางค์บรรเลงเพลงประจำเหล่าทัพ และ เคลื่อนขบวนประจำจุดหน้าพลับพลาพิธี
  7. ผู้บังคับการขบวนสวนสนาม และ ผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพทำความเคารพ ในขณะเดียวกันธงประจำเหล่าทัพสลุตธงเมื่อผ่านหน้าประธานาธิบดี
  8. กองผสมทำการสวนสนามผ่านหน้าพลับพลาพิธีจนครบทุกกอง จากนั้น เป็นขบวนสวนสนามยานยนต์ทหาร
  9. ทุกกองประจำจุดเตรียมตัววิ่งมายังหน้าพลับพลาพิธี ผู้บังคับการขบวนสวนสนาม สั่งวิ่ง ทุกหน่วยวิ่งเข้าประจำหน้าพลับพลาพิธี เพื่อรับฟังโอวาทจากประธานาธิบดี
  10. แตรเดี่ยวให้สัญญาณเลิกแถว ผู้บังคับกองผสมสั่งเลิกแถว ดุริยางค์บรรเลงเพลงเดิน

การสวนสนามแต่ละปี[แก้]

ปี Exercise Name ประธานาธิบดี สถานที่ ผู้บังคับขบวนสวนสนาม กำลังพล หมายเหตุ
ค.ศ. 1936 n/a หลิง เซิน และ เจียง ไคเชก นานกิง สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 25 ปี. พิธีสวนสนามที่จัดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวบนดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ของสาธารณรัฐจีน.
ค.ศ. 1949 n/a เฉิน เฉิง ไทเป Unknown พิธีสวนสนามที่จัดขึ้นครั้งแรกในเกาะไต้หวัน.
ค.ศ. 1951 n/a เจียง ไคเชก ไทเป Ai Ai สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบ 40 ปี.
ค.ศ. 1952 復華演習 เจียง ไคเชก ไทเป Tang Shou-chi 10,046
ค.ศ. 1953 n/a เจียง ไคเชก ไทเป Zhou Yuhuan 19,000
ค.ศ. 1954 n/a เจียง ไคเชก ไทเป Xu Rucheng Artillery battle underway in Quemoy. Flyby aircraft requisitioned for defense of Quemoy.
ค.ศ. 1955 光華演習 เจียง ไคเชก ไทเป Cheng Wei-yuan
ค.ศ. 1956 光復演習 เจียง ไคเชก ไทเป Liu Dinghan 21,500
ค.ศ. 1957 中興演習 เจียง ไคเชก ไทเป Hu Xin 12,000
ค.ศ. 1960 鼎興演習 เจียง ไคเชก ไทเป Chu Yuan-Cong
ค.ศ. 1961 復興演習 เจียง ไคเชก ไทเป Cheng Wei-yuan สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 50 ปี. (Golden Jubilee)
ค.ศ. 1963 復漢演習 เจียง ไคเชก ไทเป Yuan Guo-Zheng 15,370
ค.ศ. 1964 興漢演習 เจียง ไคเชก ไทเป Hau Pei-tsun Two F-104 aircraft collided after an air formation, killing both pilots
ค.ศ. 1975 大漢演習 เหยียน เจียกั้น ไทเป Zhang Jiajun
ค.ศ. 1978 漢威演習 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป Chiang Chung-ling
ค.ศ. 1980 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป
ค.ศ. 1981 漢武演習 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป Hsu Li-nung 11,966 สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 70 ปี.
ค.ศ. 1982 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป
ค.ศ. 1986 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 75 ปี. (Diamond Jubilee)
ค.ศ. 1987 เจี่ยง จิงกั๋ว ไทเป การสวนสนามของกองทัพเป็นครั้งสุดท้ายในยุคที่เจี่ยง จิงกั๋วดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี. จัดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม, ภายหลังจากวันชาติเพียงวันเดียว.
ค.ศ. 1988 光武演習 หลี่ เติงฮุย ไทเป Chen Tingchong 13,166
ค.ศ. 1991 華統演習 หลี่ เติงฮุย ไทเป Ro Wenshan 12,566 สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 80 ปี.
ค.ศ. 2007 同慶操演 เฉิน สุยเปี่ยน ไทเป Wu Sihuai 3,000 มีการแสดงแสงยานุภาพทางทหาร, และ ไม่มีการสวนสนามของกองทัพ
ค.ศ. 2011 หม่า อิงจิ่ว ไทเป 1,000+ สาธารณรัฐจีนก่อตั้งครบรอบ 1 ศตวรรษ (100 ปี) ก่อนเริ่มพิธี มีการแสดงกระโดดร่มจากเหล่าทหารพลร่มของกองทัพบกไต้หวัน จำนวน 12 นาย.[1] จำนวนทหารเข้าพิธี 1,000+ นาย, เครื่องบิน 71 ลำ และ ยานยนต์ทหาร 168 คัน.[2] ขบวนสวนสนามเดินเท้าจัดจาก วงดุริยางค์สามเหล่าทัพ และ กองทหารเกียรติยศสาธารณรัฐจีน.
ค.ศ. 2016 ไช่ อิงเหวิน ไทเป

การเปลี่ยนแปลง[แก้]

ตลอดช่วงสมัยประธานาธิบดี เจียง ไคเชก ได้มีการตรวจพลสวนสนาม ก่อนการเรื่มสวนสนาม จนถึงปี ค.ศ. 1964

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1975 กองทหารเกียรติยศสวนสนามปิดท้ายขบวนก่อนเข้ารับโอวาทจากประธานาธิบดี ซึ่งก่อนหน้านั้นกองทหารเกียรติยศสวนสนามเปิดขบวน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 10 October 2011, Skydiving show wows crowds on National Day, Focus Taiwan news
  2. Cindy Sui, 10 October 2011, Legacy debate as Republic of China marks 100 years, BBC News

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]