พายุไซโคลนโบลา (พ.ศ. 2513)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไซโคลนโบลา (พ.ศ. 2513)
พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
พายุไซโคลนโบลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ประมาณหนึ่งวันก่อนขึ้นฝั่ง
พายุไซโคลนโบลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ประมาณหนึ่งวันก่อนขึ้นฝั่ง
พายุไซโคลนโบลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ประมาณหนึ่งวันก่อนขึ้นฝั่ง
ก่อตัว 3 พฤศจิกายน 2513
สลายตัว 13 พฤศจิกายน 2513
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 3 นาที:
185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต ≥ 500,000 คน
(พายุหมุนเขตร้อนที่อันตรายที่สุด)
ความเสียหาย 86.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2513)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบัน บังกลาเทศ), อินเดีย
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2513

พายุไซโคลนโบลา (อังกฤษ: Bhola cyclone) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เข้าปะทะปากีสถานตะวันออก (ประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) และรัฐเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2513 มันเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่อันตรายที่สุดที่เคยบันทึกไว้และเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อันตรายที่สุด มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500,000 รายในพายุ[1] ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากน้ำท่วมที่เกิดจากพายุในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา พายุไซโคลนนี้เป็นพายุไซโคลนลูกที่หกของฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2513 และเป็นฤดูกาลที่มีความรุนแรงที่สุด[2]

พายุไซโคลนก่อตัวขึ้นเหนืออ่าวเบงกอลตอนกลางในวันที่ 8 พฤศจิกายนและเดินทางขึ้นไปทางเหนือ ถึงจุดสูงสุดด้วยความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันที่ 11 พฤศจิกายนและขึ้นฝั่งบนชายฝั่งของปากีสถานตะวันออก ในบ่ายวันรุ่งขึ้น กระแสลมของพายุทำลายหมู่เกาะนอกชายฝั่ง ทำลายหมู่บ้านและทำลายพืชผลทั่วทั้งภูมิภาค ได้รับผลกระทบอย่างหนักในอัพซิซิลาและทาซูมัตดิน กว่า 45% ของประชากรทั้งหมด 167,000 คนถูกพายุสังหาร

รัฐบาลปากีสถานซึ่งนำโดยนายพลยาเฮีย ข่าน หัวหน้ารัฐบาลทหารได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความล่าช้าในการจัดการการบรรเทาทุกข์หลังจากเกิดพายุ จากผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นในปากีสถานตะวันออกและสื่อต่างประเทศ ในช่วงหลังการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหนึ่งเดือนหลังจากนั้น ฝ่ายค้านสันนิบาตอวามีได้รับชัยชนะอย่างล้นหลามจากภายในประเทศ และเป็นต้นเหตุของความไม่สงบระหว่างปากีสถานตะวันออกและรัฐบาลกลาง เรียกว่าสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ ซึ่งนำไปสู่พันธุฆาตบังกลาเทศในปี 2514 ในท้ายสุดนั้นเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการตั้งประเทศบังกลาเทศ

อ้างอิง[แก้]