พัด สุภาภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลี ยงพัด
លី យ៉ុងផាត់
สมาชิกวุฒิสภากัมพูชา
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พัด สุภาภา

พ.ศ. 2501 (อายุราว 66 ปี)
เสาธง จังหวัดกำปอด ประเทศกัมพูชา
สัญชาติกัมพูชา
ไทย
พรรคการเมืองพรรคประชาชนกัมพูชา
คู่สมรสกิม เฮียง
บุตรลี อาพร
ลี เยาวลักษณ์
พัด บุนฮัว
อาชีพ
  • นักการเมือง
  • นักธุรกิจ

ออกญา ลี ยงพัด (เขมร: លី យ៉ុងផាត់ ลี ยุงผาต; จีน: 李永法; เกิด พ.ศ. 2501)[1] มีชื่อไทยว่า พัด สุภาภา[2] หรือ เสี่ยพัด เป็นสมาชิกวุฒิสภาและนักธุรกิจชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนและไทยเกาะกง[2] เขาเป็นเจ้าของบริษัทแอลวายพีกรุป (LYP Group) อันเป็นบริษัทขนาดใหญ่ของกัมพูชา ซึ่งดำเนินธุรกิจหลากหลาย ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ นิคมอุตสาหกรรม บ่อนกาสิโน ยาสูบ พลังงานไฟฟ้า และการท่องเที่ยว[3] มีธุรกิจหลักอยู่ในจังหวัดเกาะกงอันเป็นบ้านเกิด[4] ธุรกิจของพัดมักเชื่อมโยงกับข้อครหามากมาย เป็นต้นว่า การใช้แรงงานเด็ก การบังคับขับไล่ที่ดิน[4][5] รวมทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย[6]

พัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา[2] และยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565[7]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พัดเกิดที่อำเภอเสาธง จังหวัดกำปอด (ปัจจุบันคืออำเภอเขมรภูมินทร์ จังหวัดเกาะกง) ในครอบครัวชาวจีนไหหลำ[8] บางแห่งว่าเขามีเชื้อสายไทยจากเกาะกง[2] ครอบครัวของเขาเคยอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดตราดในช่วงสงครามในประเทศกัมพูชา จนได้รับสัญชาติไทย และได้ใช้นามสกุลสุภาภาของญาติในฝั่งไทย[6] ครั้นเมื่อเขมรแดงสิ้นอำนาจใน พ.ศ. 2522 พัดจึงกลับไปทำธุรกิจในเกาะกงอีกครั้ง โดยเริ่มจากการนำเข้าเครื่องยนต์เก่าจากสิงคโปร์ แล้วรับโอนธุรกิจนำเข้าบุหรี่จากต่างประเทศ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว[8] ปัจจุบันเขาถือสองสัญชาติ คือ กัมพูชาและไทย[9]

พัดสมรสกับกิม เฮียง (มีชื่อไทยว่า มานี สุภาภา)[10] มีบุตร ได้แก่ ลี อาพร (ชื่อไทยว่า อาพร สุภาภา),[10] ลี เยาวลักษณ์ (ชื่อไทยว่า เยาวลักษณ์ สุภาภา)[10] และพัด บุนฮัว[7][11][12] เยาวลักษณ์สมรสกับพู เซปิง (Phu Sae Ping) บุตรชายของกก อาน ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงของเกาะกงอีกคนหนึ่ง[13][14] ส่วนอาพร สมรสกับเซง เยอะ (Seng Nhak) ซึ่งเป็นนักธุรกิจเช่นกัน[7][11]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "Tycoon Ly Yong Phat Appointed as PM Personal Adviser". EAC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 คนสองแผ่นดิน, หน้า 196
  3. "TOP 10 TYCOONS". Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  4. 4.0 4.1 Hunt, Luke (2013-02-03). "Ly Yong Phat, the King of Koh Kong". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  5. Sokchea, Meas. "Opposition lawmaker lambastes Ly Yong Phat". Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  6. 6.0 6.1 "'พัด สุภาภา'ขาใหญ่เกาะกงตัวเชื่อม'แม้ว+ฮุนเซน'". คมชัดลึก. 20 พฤศจิกายน 2552. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 Sony, Ouch (2022-12-12). "Controversial Tycoon Ly Yong Phat Elevated to Hun Sen's Adviser, Others Promoted". VOD (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  8. 8.0 8.1 "ธุรกิจไทยเททุน 'เกาะกง' ผุดรง.เสื้อผ้าสำเร็จรูป-เหล็กแปรรูป-เครื่องดื่ม". ASEAN Learning Center. 4 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Ly Yong Phat". Media Ownership Monitor Cambodia 2017 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  10. 10.0 10.1 10.2 "ใช่ 'เสี่ยพัด' หรือไม่? แกะรอยนักธุรกิจกัมพูชาปริศนา คนเดินเกมผลปย.หมื่นล.โรงไฟฟ้าสตึงมนัม". อิศรา. 21 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. 11.0 11.1 Brook, Jack (2023-01-02). "Thai Fugitive Linked to Casino Fire Received Cambodian Citizenship, Shares Business Ties with Tycoon Ly Yong Phat". CamboJA News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  12. "Senator Ly Yong Phat's Family Given Preah Sihanouk State Land for Tourism Development". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  13. "For Richer and For Richer: CPP Scions Show off Wealth, Power in Elaborate Wedding Videos". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  14. LOUGHLIN, NEIL (2021). "Beyond Personalism: Elite Politics and Political Families in Cambodia". Contemporary Southeast Asia. 43 (2): 241–264. ISSN 0129-797X.
บรรณานุกรม
  • รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551. 208 หน้า. ISBN 978-974-05-7842-0.