พระอุไทย
สมเด็จพระอุไทย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกัมพูชา | |||||||||
พระมหาอุปราชแห่งกัมพูชา | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2161-2170 | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | พระไชยเชษฐาที่ 2 | ||||||||
พระมหาอุปโยราชแห่งกัมพูชา | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2170-2185 | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | พระศรีธรรมราชาที่ 2 พระองค์ทองราชา พระปทุมราชา | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน | ||||||||
ราชสกุล | ราชสกุลตระซ็อกประแอม | ||||||||
พระราชบิดา | พระบรมราชาที่ 7 | ||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระภัควดีสุชาติชาตามหากษัตรี | ||||||||
ประสูติ | พ.ศ. 2120 | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ. 2185 |
สมเด็จพระปทุมสุริยวงษ์ราชามหาอุปโยราช หรือ สมเด็จพระอุไทย (ឧទ័យរាជាទី១; 2120-5 มกราคม 2185) เจ้าชายแห่งกัมพูชาซึ่งเป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2171 ถึง พ.ศ. 2185
พระอุไทยเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของ พระบรมราชาที่ 7 หรือ พระศรีสุพรรณมาธิราช พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช (รัชทายาทหรืออุปราช) ในปี พ.ศ. 2161 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ หลังการเสด็จสวรรคตของ พระไชยเชษฐาที่ 2 ในพระอิสริยยศที่ พระมหาอุปโยราช (ឧភយោរាជ)
พระอุไทยอภิเษกกับอดีตพระคู่หมั้นของ พระศรีธรรมราชาที่ 2 ซึ่งพระศรีธรรมราชาที่ 2 พยายามก่อกบฏต่อสู้กับพระองค์แต่พ่ายแพ้และถูกสำเร็จโทษพร้อมกับอดีตพระคู่หมั้น ในปี พ.ศ. 2174 พระองค์ทองราชา (พญาหนู) พระอนุชาของพระศรีธรรมราชาที่ 2 จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา พระองค์ทองราชาเสด็จสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2183 เจ้าพระยาจันท์ พระราชโอรสของ พระไชยเชษฐาที่ 2 ที่ประสูติแต่พระสนมมีสิทธิที่จะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป แต่พระอุไทยก็ได้บีบให้เจ้าพระยาจันท์มอบราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสของพระองค์คือ พระปทุมราชา
กับความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาว จาม และ มาเลย์ เจ้าพระยาจันท์ปลงพระชนม์พระอุไทยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2185[1] ในเวลาเดียวกัน พระปทุมราชา เสด็จออกไปล่าสัตว์เจ้าพระยาจันท์ตามไปกุมพระองค์พระปทุมราชาและนำมาสำเร็จโทษที่ อุดงมีชัย และเจ้าพระยาจันท์ได้ขึ้นเสด็จขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ the historical background - Shodhganga, page. 30
- Bernard Philippe Groslier avec la collaboration de C.R. Boxer Angkor et le Cambodge au XVIe siècle d'après les sources portugaises et espagnoles, p. 26 Tableau III « Succession d'Ang Chan » P.U.F (Paris) 1958;
- Chroniques Royales du Cambodge de 1594 à 1677. École française d'Extrême Orient. Paris 1981 ISBN 2855395372
- Achille Dauphin-Meunier Histoire du Cambodge Presses universitaires de France, Paris 1968 Que sais-je ? n° 916.