ข้ามไปเนื้อหา

พระองค์เจ้าเกิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระองค์เจ้าเกิด
ประสูติกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
สิ้นพระชนม์กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
พระมารดาหม่อมเหม
ศาสนาเถรวาท
ถูกกล่าวหาสมรู้ร่วมคิดในการชู้สาว
รับโทษสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

พระองค์เจ้าเกิด หรือ พระองค์เจ้าฉาย หรือ พระองค์เจ้าฉัตร เป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ ประสูติแต่หม่อมเหม

พระประวัติ

[แก้]

พระองค์เจ้าเกิด เป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ ประสูติแต่หม่อมเหม ทรงมีพระนามอื่นอีกว่า พระองค์เจ้าฉาย หรือ พระองค์เจ้าฉัตร

พ.ศ. 2278 ในต้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขณะที่ทรงพระประชวรอยู่นั้น กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดยอดเกาะ ได้เสด็จย้ายมาอยู่ที่วัดโคกแสง ภายในพระนคร เมื่อได้ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประชวรจึงได้มาเข้าเฝ้าอยู่เนือง ๆ เนื่องจากกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ทรงสนิทกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศอย่างมาก ทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์เกิดความระแวงขึ้น พระองค์จึงตรัสให้พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดไปนิมนต์เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เข้ามายังพระราชวังหน้าเพื่อมาเยี่ยมพระราชบิดา เมื่อเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสด็จมาถึง พระองค์ได้ใช้พระแสงดาบฟันเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ แต่ไม่ทรงได้รับบาดเจ็บเพียงถูกแต่ผ้าจีวรขาดเท่านั้น เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงเกรงพระราชอาญาแล้วจึงเสด็จไปยังตำหนักกรมหลวงอภัยนุชิต

หลังจากนั้น เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และพระองค์ตรัสถามว่า เหตุใดผ้าจีวรจึงขาด เจ้าฟ้าพระฯ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรว่ากรมขุนเสนาพิทักษ์หยอกท่าน เมื่อเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้ว กรมหลวงอภัยนุชิตได้เสด็จมาอ้อนวอนและตรัสว่าถ้าท่านไม่ช่วยในคราวนี้เห็นทีกรมขุนเสนาพิทักษ์คงสิ้น เจ้าฟ้าพระฯ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์จึงตรัสว่าคงมีแต่ร่มกาสาวพัตรเท่านั้นที่จะช่วยได้ กรมหลวงอภัยนุชิตจึงพากรมขุนเสนาพิทักษ์เสด็จออกผนวชทันทีที่วัดโคกแสง มีพระนามฉายาว่า "สิริปาโล"[1]

ในครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธกรมขุนเสนาพิทักษ์มาก มีพระราชดำรัสให้ค้นหาตัวจนทั่วพระราชวัง แต่พบเพียงพระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดที่สมรู้ร่วมคิดเท่านั้น จึงมีพระราชดำรัสให้นำตัวทั้ง 2 พระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร". สืบค้นเมื่อ 23 March 2013.[ลิงก์เสีย]