พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความชีวประวัติของบุคคลนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ วิกิพีเดียไม่สนับสนุนให้มีอัตชีวประวัติ หรือประวัติการทำงาน นอกเหนือจากนั้นถ้าคุณเห็นว่าบุคคลนี้ไม่ใช่บุคคลสำคัญให้ทำการแจ้งลบ |
พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร)[1] (นามเดิม:ประทวน เส็งจีน) เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่ารูปปัจจุบัน ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมพ.ศ. 2475 ณ บ้านเลขที่ 49 หมู่ 1 ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท บิดาชื่อ ช่วง เส็งจีน มารดาชื่อ พยุง เส็งจีน ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ วัดบำรุงธรรม ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยมีพระปลัดเจริญ วัดพาณิชวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนพ.ศ. 2495 ณ วัดบำรุงธรรม ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยมีพระปลัดเจริญ วัดพาณิชวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสำราญ กาญจนาโภ (พระมงคลชัยสิทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า, อดีตเจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์) วัดใหม่บำรุงธรรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระบำเรอ กิตฺติญาโณ วัดใหม่บำรุงธรรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
[แก้]1. ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท
2. เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า
3. หัวหน้าศูนย์พระปริยัตินิเทศก์จังหวัดชัยนาท
4. ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพธิ์งาม
5. กรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดโพธิ์งาม
วิทยฐานะ
[แก้]พ.ศ. 2491 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบำรุงธรรม ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2495 สอบนักธรรมเอก ได้ในสำนักเรียนคณะจังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. 2501 สอบประโยค ป.ธ.4 ได้ในสำนักเรียนคณะจังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. 2502 สอบได้ครูพิเศษประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2508 สำเร็จพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พธ.บ.)
งานปกครอง
[แก้]พ.ศ. 2513 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า และเป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์
พ.ศ. 2524 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์
พ.ศ. 2527 เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโพธิ์งาม
พ.ศ. 2529 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์
พ.ศ. 2551 เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า
พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า
พ.ศ. 2555 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท
งานการศึกษา
[แก้]พ.ศ. 2504 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักศาสนศึกษาวัดใหม่จันทราราม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. 2508 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี และเป็นอาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษา วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2517 เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง และบาลีสนามหลวง
พ.ศ. 2527 เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี วัดโพธิ์งาม ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2528 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระปริยัตินิเทศก์ ประจำจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2532 ได้รับการยกย่องจากกรมการศาสนาให้เป็นสำนักเรียนดีเด่นแผนกบาลีประจำภาค ๓ ได้รับงบประมาณจากกรมการศาสนา
พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ฝ่ายส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2536 ได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2536 เป็นผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดโพธิ์งาม
พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน ส่งเสริมพระภิกษุ - สามเณร ภายในวัดให้ได้รับการศึกษาทั้งแผนก ธรรม - บาลี และสามัญศึกษา จนจบปริญญาตรีโดยได้ดำเนินการจัดหาทุนการศึกษาให้ทุกรูป
พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน ส่งเสริมให้ศิษย์วัด (ที่มาจากบ้านภูมิเวท จังหวัดนนทบุรี) ซึ่งยังไม่จบชั้นประถมศึกษา ได้ เข้าเรียนในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา โดยทางวัดออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
พ.ศ. 2549 ได้รับเกียรติบัตรยกย่อง จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เป็นวัดที่จัดอุทยานการศึกษาขึ้นภายในวัด
พ.ศ. 2550 ได้รับประทานโล่เกียรติคุณ บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่เยาวชน สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์
พ.ศ. 2551 ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นภายในวัด
พ.ศ. 2551 ได้รับเกียรติบัตรยกย่อง จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
งานสาธารณูปการ
[แก้]งานด้านการก่อสร้าง
[แก้]พ.ศ. 2546 สร้างวิหารหลวงพ่อสาม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผา กว้าง 8.50 เมตร ยาว 22.50 เมตร ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นจำนวนเงิน 3,0199,999 บาท (สามล้านหนึ่งหมื่นเก้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
พ.ศ. 2548 สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด ซึ่งได้จัดรวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา และพิพิธภัณฑ์ของใช้พื้นบ้าน มีห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าทั้งคดีโลก และคดีธรรมของชุมชน เป็นอาคารลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 11.50 เมตร ยาว 18.80 เมตร ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นจำนวนเงิน 2,984,860 บาท (สองล้านเก้าแสนแปดหมื่นสี่พันแปดร้อยหกสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. 2551 สร้างกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดโพธิ์งาม คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นจำนวนเงิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,004,859 บาท (เก้าล้านสี่พันแปดร้อยห้าสิบเก้าบาทถ้วน)
พ.ศ. 2551 สร้างห้องสุขา จำนวน 20 ห้อง เป็นลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 877,280 บาท (แปดแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. 2552 สร้างซุ้มประตูวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดปากคลองมะขามฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์เป็นจำนวนเงิน 2,698,980 บาท (สองล้านหกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. 2552 สร้างกำแพงบริเวณหน้าวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์เป็นจำนวนเงิน 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. 2552 ดำเนินการก่อสร้างห้องสุขา จำนวน 20 ห้อง เป็นลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 1,228,192 บาท (หนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยเก้าสิบสอง)
งานด้านการปฏิสังขรณ์
[แก้]พ.ศ. 2546 บูรณปฏิสังขรณ์ และต่อเติมอาคารเรียนพระปริยัติธรรม ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2547 บูรณปฏิสังขรณ์ และต่อเติมศาลาการเปรียญหลวงปู่ศุข ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 157,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2548 บรูณะปฏิสังขรณ์พระเกศแก้วจุฬามณี ลักษณะเจดีย์ ๕ องค์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2549 บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง ที่วัดโพธิ์งาม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2549 บูรณปฏิสังขรณ์วิหารบรรจุศพ พระมงคลชัยสิทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2549 บูรณปฏิสังขรณ์สระน้ำรอบบริเวณที่บรรจุศพ พระมงคลชัยสิทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. 2549 บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 586,706 บาท (ห้าแสนแปดหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกบาทถ้วน)
พ.ศ. 2550 ซ่อมแซมกุฏิสงฆ์ ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง และห้องสุขา จำนวน 10 ห้อง เป็นลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ที่วัดโพธิ์งาม ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2552 ซ่อมแซมโรงเก็บรถให้เป็นสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 729,000 บาท (เจ็ดแสนสองหมื่นเก้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2552 ซ่อมแซมหอประชุมวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เป็นศาลาหลวงปู่ศุข ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 5,500,000 บาท (ห้าล้านห้าแสนบาทถ้วน)
รวมเป็นเงิน ด้านการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น 22,572,037 บาท (ยี่สิบสองล้านห้าแสนเจ็ดหมื่นสองพันสามสิบเจ็ดบาทถ้วน)
สมณศักดิ์
[แก้]พ.ศ. 2516 เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ (ทผจล.ชพ.) ที่ "พระครูประภากรวิชัย"
พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ เปรียญ ที่ "พระปริยัติชยากร"
พ.ศ. 2552 เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ที่ "พระราชสุทธิโสภณ วิมลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
อ้างอิง
[แก้]บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |