พระราชครูวามเทพมุนี (หว่าง รังสิพราหมณกุล)
พระราชครูวามเทพมุนี | |
---|---|
เกิด | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2410 |
เสียชีวิต | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (59 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | เนื้องอก |
บิดามารดา |
|
มหาเสวกตรี พระราชครูวามเทพมุนี (หว่าง รังสิพราหมณกุล) (22 ธันวาคม 2410 - 11 มิถุนายน 2470) อดีตประธานพระครูพิธีพราหมณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 อดีตองคมนตรี
ประวัติ
[แก้]พระราชครูวามเทพมุนี มีนามเดิมว่า หว่าง รังสิพราหมณกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2410 ในช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรชายของ พระครูอัษฎาจารย์ (แจ้ง รังสิพราหมณกุล) ต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมพราหมณ์พิธีและรับประทวนตราตั้งเป็นที่ ขุนศรีสบสมัย ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2440 ขณะอายุได้ 30 ปีได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงญาณสยมภูว์ ถือศักดินา ๖๐๐ [1] จากนั้นในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2453 ซึ่งตรงกับต้นรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงราชมุนี ปลัดกรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๖๐๐[2]
กระทั่งปีถัดมาคือในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2454 ที่ พระที่นั่งพิมานปฐม พระราชวังสนามจันทร์ หลวงราชมุนีได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระครูวามเทพ เจ้ากรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๘๐๐ [3] จากนั้นในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 พระครูวามเทพได้รับพระราชทานยศ เสวกตรี [4] ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ พระครูวามเทพ เป็น เสวกโท[5]
กระทั่งวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2457 เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระครูวามเทพ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระราชครูวามเทพมุนี รามเวทีศรีไสยศาสตร์ อนุษฎกวาทโกศล จางวางกรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๑๐๐๐[6] ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พระราชครูวามเทพมุนีได้รับพระราชทานยศเป็น เสวกเอก [7] จากนั้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 พระราชครูวามเทพมุนีได้รับพระราชทานยศเป็น มหาเสวกตรี [8]
พระราชครูวามเทพมุนีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเนื้องอกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 59 ปี[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[10]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[12]
- พ.ศ. 2466 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[15]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[16]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๖๔๓)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการในกระทรวงวัง (หน้า ๑๓๙๙)
- ↑ ตั้งและเลื่อนยศ (หน้า ๔๘๗)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๔๑๙)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๕, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗๒, ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๑, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖