พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) | |
---|---|
เจ้าเมืองชุมพร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2353 – 2367 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
ก่อนหน้า | พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ถิ่น) |
ถัดไป | พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยม) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ซุ่ย 9 เมษายน พ.ศ. 2318 อาณาจักรธนบุรี |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2375 (57 ปี) พระนคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
ศาสนา | อิสลามซุนนี ต่อมา พุทธเถรวาท |
บุตร | พระยาเพชรกำแหงสงคราม |
บุพการี |
|
อาชีพ |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กรุงรัตนโกสินทร์ |
สังกัด | กองทัพเมืองชุมพร |
ประจำการ | ไม่ทราบ – พ.ศ. 2367 |
ยศ | แม่ทัพ |
บังคับบัญชา | กองทัพเมืองชุมพร |
ผ่านศึก | ยุทธการชุมพร ยุทธการมะริด |
พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) อดีตเจ้าเมืองชุมพร เป็นบุตร นายถิ่น น่าจะเป็นคนเดียวกับ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ถิ่น) เจ้าเมืองชุมพร และนางไผ่ยา (น้อย) และเป็นพ่อตาของ พระศรีราชสงคราม (ปาน ศรียาภัย) รองเจ้าเมืองไชยา (ฝ่ายทหาร) หรือ ปลัดเมืองไชยา ซึ่งเป็นบิดาของ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ผู้กำกับการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ประวัติ
[แก้]พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) หรือ พระยาตับเหล็ก อดีตเจ้าเมืองชุพร และ แม่ทัพเรือ และเป็นบิดาของ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยัง ซุ่ยยัง) อดีตเจ้าเมืองชุมพร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ผลงาน
[แก้]- พ.ศ. 2363 ชนะศึกพม่าที่ยกทัพมาตีเมืองชุมพร ณ บริเวณที่ตั้งวัดชุมพรรังสรรค์ หรือ วัดเหนือ ปัจจุบัน ในสมัยนั้นใช้เป็นป่าช้า(ฝังศพ และเผาศพ)
- พ.ศ. 2367 (นับแบบเดิม พ.ศ. 2366)[1] เป็นแม่ทัพเรือ ยกกองทัพเรือ เป็นเรือรบใหญ่ 9 ลำ และเรือกรรเชียง 60-80 ฝีพาย จำนวนหนึ่ง ไปตีเมืองมะริด แพ้อังกฤษ ทหารถูกจับ 155 คน พร้อมเรือกรรเชียง 2 ลำ พระเทพไชยบุรินทร์ (ขุนทอง) เป็นนายกองถูกจับด้วย
ส่วนเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) เป็นแม่ทัพหน้า และ พระยาสุรเสนา เป็นแม่ทัพหนุน ยกทัพไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ทั้ง 3 กองทัพเพื่อไปช่วยอังกฤษรบพม่า
- พ.ศ. 2367[2]พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) ถูกจองจำจนสิ้นชีวิต ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ตามคำร้องของอังฤษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พ.ศ. 2353 ได้รับพระราชทาน "พานทอง" จากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
อนิจกรรม
[แก้]ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ ปี พ.ศ. 2375 ณ กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
[แก้]
แหล่งข้อมูล
[แก้]- เปิดตำนาน วีรบุรูษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล ตอน เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ)[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า.
- จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ (จัน)[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- เว็บไซต์ข้อมูลเมืองชุมพร
- ประวัติปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชีวิตที่พอเพียง : ๕๖๒. ประวัติศาสตร์บอกเล่าชาวชุมพร เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองชุมพร เก็บถาวร 2012-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย) เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน