ข้ามไปเนื้อหา

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล (ประสงค์ อมาตยกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล เกิดที่บ้านหน้าวัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นบุตรนายหนู และนางหนู อมาตยกุล นายหนูผู้บิดานั้นเป็นบุตรของพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ส่วนนางหนูผู้มารดานั้น เป็นบุตรีของพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (ตาด อมาตยกุล) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญซอสามสาย นายหนูและนางหนู มีวงเครื่องสายประจำบ้าน นางหนูนั้น นอกจากจะสีซอด้วงและสีไวโอลินแล้ว ยังเป็นนักร้องอีกด้วย

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล เรียนซอด้วง ซออู้ และไวโอลินกับบิดามารดาและได้ร่วมวงเล่นเครื่องสายมากับญาติผู้ใหญ่ของท่าน และเรียนสีซอสามสายจากเจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 ต่อมาสอบชิงทุนรัฐบาลได้ ไปเรียนวิชากฎหมายกลับมารับราชการที่กระทรวงยุติธรรมในปลายรัชกาลที่ 5 ต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อรับราชการแล้ว ท่านได้เรียนวิชาดนตรีไทยเพิ่มเติม อีกจนเชี่ยวชาญ และได้สอนดนตรีไทยให้ผู้สนใจหลายคนเช่น พระยาภูมีเสวิน นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เป็นต้น

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล สมรสกับกับถนอม สวัสดิ-ชูโต บุตรเกิดด้วยคุณหญิงถนอม ๔ คน แต่ไม่มีบุตรคนใดเป็นนักดนตรี ท่านป่วยด้วยโรคปวดกระดูกเรื้อรังจนถึงแก่กรรมเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุได้ 69 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๕, ๖ ธันวาคม ๒๔๗๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๗, ๕ มกราคม ๒๔๗๒

http://sirindhornmusiclibrary.mahidol.ac.th/musiclibrary/index.php?ac=hall_of_fame/hall_of_fame_dataperson&id=76&languages=th#001[ลิงก์เสีย]