พระยาชัยสุนทร (โคตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาชัยสุนทร(โคตร)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2420 – พ.ศ. 2426
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(หนู)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(พั้ว)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2351
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตวันศุกร์ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2426 อายุ 75 ปี
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระยาชัยสุนทร (โคตร) หรืออีกนามเรียกว่า “เซียงโคตรหรือราชวงศ์นนท์” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 (พ.ศ. 2420–2426)[1] เป็นต้นตระกูล”วงศ์กาฬสินธุ์“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน

ชาติกำเนิด[แก้]

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ. 2351 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ บิดามารดาคือพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 กับอัญญานางคำแดง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวโคตร ท้าวสี ท้าวไชย ท้าวสีน ท้าวคำ ส่วนบุตรหญิงได้แก่ นางขาว นางหมอก และอุปฮาดเมืองสกลนคร(ลาว)เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่ท้าวศรีมุมราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ได้ขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อทำราชการที่เมืองสกลนคร

การรับราชการ[แก้]

•ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ท้าวขัตติยะ ผู้ช่วยราชการอุปฮาดเมืองสกลนคร ปี 2381 -2393

•ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่เพี้ยชานนท์ ทำหน้าที่เสมียนจดบันทึกหนังสือข้อราชการเมืองกาฬสินธุ์ ปี 2394-2411

•ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ปี 2415-2420

•ได้รับการโปรดเกล้าฯ สัญญาบัตรแต่งตั้งเป็นที่ “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันจันทร์ขึ้น 12 ค่ำเดือน 7 ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 โดยมีใจความดังนี้

ให้ราชวงษ์ เปนพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้บังคับบัญชาท้าวเพี้ยกรมการแลราษฎร บันดาอยู่ในเขตรแขวงเมืองกาฬสินธุ์ทั้งสิ้น ตามที่เจ้าเมืองกาฬสินธุ์แต่ก่อนได้บังคับมานั้น แต่ที่เปนยุติธรรมแลชอบด้วยราชการ ฯลฯ ตั้งแต่ ณ วัน ๒ฯ๗ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก เปนปีที่ ๑๕ ของตราดวงที่ประทับนี้ ประจำการแผ่นดินสยาม ศักราช ๑๒๔๔ เป็นวันที่ ๔๙๔๘ ในรัชกาลปัจจุบันนี้”

และได้รับพระราชทานเครื่องยศเพิ่มเติม  ดังนี้  

1.  ถาดหมาก

2.  คนโฑเงินถมลงยาดำ

3.  ลูกประคำทองคำ  ๑๐๘  เม็ด  ๑  สาย

4.  พานกลีบบัวเงินพร้อมเครื่องถมในเงิน

5.  จอก  ๒  ใบ

6.  แอบยายอดทอง  ๒  ใบ

7.  ซองพลู  ๑  อัน

8.  มีดหนีบหมาก

9.  กระโถนถมลงยาสีดำ

10.  หอกซัดปลอกทองคำ  ๒  อัน

11.  ปืนชนวนทองแดงต้นด้ามงาช้าง

12.  กระบี่บั้งเงิน

13.  หมวกทรงประภาศตุ้มปี่กำมะหยี่

14.  สัปทนปัศตู

15.  เสื้อเขมขาบริ้วดี

16.  แพรสีทับทิม

17.  แพรขาวห่ม

18.  ผ้าปูมเขมร

19.  แคร่หาม  ๑  สำรับ

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

•ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับปีพ.ศ. 2393 อุปฮาดเมืองสกลนคร(ลาว) รับราชการได้ 13 ปีก็ถึงแก่กรรม ท้าวเกษราชบุตรเมืองสกลนครได้กลับมารับตำแหน่งราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์ มีลูกหลานบางส่วนกลับไปเมืองกาฬสินธุ์ก็มีบ้างยังคงอาศัยเมืองสกลนครก็มีบ้าง ส่วนท้าวโคตรได้พาผู้คนมาอาศัยอยู่และหาที่ทำกินที่บริเวณตำบลบ้านไฮหย่อง(อำเภอพังโคน)แขวงเมืองสกลนคร และภายหลังพอที่จะตั้งเป็นเมืองได้จึงพาลูกหลานและบริวารลงไปกรุงเทพ เพื่อขอพระราชทานตั้งตำบลบ้านไฮหย่องเป็นเมืองภูเงิน แต่ไปถึงดงพญาไฟก็บริวารเจ็บป่วยล้มตายด้วยไข้ป่าเป็นจำนวนมาก จึงกลับมาพักรักษาตัวและบวชแก้บนที่วัดกลางเมืองกาฬสินธุ์แล้วจึงสึกออกมาทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์ต่อชาวเมืองจึงเรียกว่า “เซียงโคตร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

•ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 กำกับรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ จึงมีใบบอกเร่งผูกส่วยผลเร่วและเงินลงไปทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งว่าที่ “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมือง ซึ่งสัญญาบัตรตราตั้งได้มาถึงเมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับปีพ.ศ. 2425

•ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์และพระราษฎรบริหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย เห็นว่าเมืองทั้ง 2 มีปัญหาเรื่องเขตแดนเมืองที่ยังตกลงกันไม่สิ้นสุด พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์และพระราษฎรบริหาร(ทอง) จึงได้พร้อมกันตกลงทำหนังสือแบ่งเขตแดนให้ไว้แก่กันคนละฉบับไว้ว่า “เขตแดนที่ตกลงเป็นเขตแดนแขวงเมืองกมลาไสยนั้น ปักหลักเขตแดนแต่บ้านหลุบตามทางไปถึงห้วยคำมักมายไปถึงช่องทางคำขี้มด เขาภูพานข้างตะวันออก ข้างตะวันตกไปทางทุ่งแม่นางบ่อนท่าประทาย น้ำลำพะชีย์ ข้างใต้เป็นเขตแดนเมืองกาฬสินธุ์ ตามหลักซึ่งฝังไว้เป็นแล้วแก่กัน”

•ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 พระธิเบศวงษา(ดวง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ถึงแก่กรรม พระยาไชยสุนทร(โคตร) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้ปรึกษากัน จึงมีใบบอกขอเมืองกุดสิมนารายณ์ที่ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหารกลับคืนมาขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิมและขอท้าวกินรีบุตรราชวงศ์คำเชี่ยงเป็นที่ ”พระธิเบศวงษา” เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์

•เมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับปีพ.ศ. 2425 พระศรีสุวรรณ(พก) เจ้าเมืองแซงบาดาล ถึงแก่กรรม ราชวงศ์(ขี) ได้ดูแลรักษาราชการบ้านเมืองได้ 2 ปี ราชวงศ์(ขี) ก็ถึงแก่กรรม พระยาไชยสุนทร(โคตร) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้ปรึกษากัน จึงมีใบบอกขอท้าวจารย์โคตรบุตรอุปฮาด(พรหม) เป็นที่ “พระศรีสุวรรณ” เจ้าเมือง ท้าวเชียงทุมเป็นอุปฮาด รักษาราชการเมืองแซงบาดาลต่อไป

•เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับปีพ.ศ. 2426 พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อได้รับสัญญาบัตรตราตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์กับท้องตราขอเมืองกุดสิมนารายณ์ที่ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหารกลับคืนมาขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม หลังกลับมาอัญเชิญสัญญาบัตรและท้องตรามาไว้ที่เมืองกาฬสินธุ์ก็ป่วยอยู่ได้ 3 เดือนก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 กรมการเมืองกาฬสินธุ์จึงว่างลงหลายตำแหน่ง

ถึงแก่กรรม[แก้]

•พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 6 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 สิริรวมอายุ 75 ปี หลังได้พระราชทานเพลิงศพเป็นที่เรียบร้อยแล้วทายาทได้นำอัฐิมาไว้ที่วัดพระธาตุเชิงชุม ในเมืองสกลนคร สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาพ่อเฒ่า” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 เพียงเท่านี้

ทายาท[แก้]

พระยาไชยสุนทร(โคตร)สมรสกับ คุณหญิงพา บุตรีของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 กับคุณหญิงสุวรรณ  และมีบุตร 10 คน ได้แก่

1) ท้าวหนูแดง สมรสกับนางแพง ไม่มีทายาท

2) พระสุริยมาตย์(สุรินทร์) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)นางด่วง 2)ท้าวหนูอินทร์ 3)ท้าวพรหมจักร 4)นางจูม 5)นางขาว 6)นางหมอก เป็นต้น

3) พระไชยแสน(ทองอินทร์) นายกองเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับนางหนูแดง มีบุตร 7 คน คือ 1) ท้าวหำ 2)นางสระ 3)ท้าวบุ 4)ท้าวแขก 5)นางสิงห์ 6)นางเกียน 7)นางทองหล้า เป็นต้น

4) พระศรีธงไชย(คำตา)* กรมการเมืองพิเศษสกลนคร สมรสกับนางคำตัน พรหมประกาย ณ นครพนม มีบุตร 9 คน ได้แก่ 1)นางมั่น 2)ขุนวาปีพิทักษ์(จูม) 3)ขุนนาวาพาณิชย์(จี) 4)นางเกษ 5)นางไข 6)นางแปน 7)ท้าวขันติ 8)นางสิบปะคี 9)ท้าวคำศรีหรือนายศิริ เป็นต้น

5) หลวงไชยสวัสดิ์(คำแสน) สมรสกับนางคง มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวหงษ์ เป็นต้น

6) ขุนไชยสาร(จารย์เฮ้า) สมรสกับนางอำ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)นางคำ 2)นางแก้ว 3)ท้าวสิงห์หรือทนายสิงห์ เป็นต้น

7) นางข่าง สมรสกับท้าวคำสาร** มีบุตร 11 คน ได้แก่ 1)ท้าวฮุย​​​​ 2)ท้าวติ่ง 3)ท้าวหด​​​​ 4)ท้าวหนูหลอด 5)นางถัน​​​​6)นางตัน 7)นางสอน 8)นายดอกซ้อน 9)นางเงิน 10)นายเอิบ 11)นางผิง เป็นต้น

8) นางคะ สมรสกับ ขุนสรรพกิจ(โส/เชียงโส)*** มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)ท้าวคันที 2)ท้าวฮม 3)นางพร เป็นต้น

9) นางบัวสา เป็นโสดไม่มีทายาท

10) ท้าวคำหวา สมรสกับนางฮัง มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางบาน 2)นางตุ้น 3)นางปาลี 4)ท้าวพรหมาหรือนายณรงค์ เป็นต้น

*ท้าวคำสารเป็นบุตรของพระไชยราช(ไชย)น้องชายคนที่ 3 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม

*ขุนสรรพกิจ(โส/เชียงโสด)เป็นบุตรของอุปฮาด(ลาว) อุปฮาดเมืองสกลนคร ซึ่งเป็นพี่ชายคนที่ 2 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4

สายสกุล[แก้]

  • วงศ์กาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือเจ้าอุปฮาด(หมาป้อง)ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 4 คนเท่าที่ปรากฏคือ 1)พระยาไชยสุนทร(เจียม)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 2)พระประเทศธานี(ลาว) อุปฮาดเมืองสกลนคร 3)พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 4)พระยาไชยสุนทร(หล้า)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 เป็นต้นและ พระยาไชยสุนทร(หล้า)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 สมรสกับอัญานางคำแดง มีบุตรด้วยกัน 10 คน ได้แก่ 1)นางขาว 2)พระยาไชยสุนทร(โคตร) 3)พระศรีวรวงศ์(สี) 4)พระไชยราษฎร์(ลาด) 5)พระอุปสิทธิ์(สีน) 6)พระโพธิสาร(คำ) 7)นางหมอก เป็นต้น เช่น พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 สมรสกับคุณหญิงพา มีบุตรด้วยกัน 10 คน คือ 1)ท้าวหนู 2)พระไชยสุริยมาตย์(สุรินทร์) 3)พระไชยแสน(ทองอินทร์) 4)พระศรีธงไชย(คำตา) 5)หลวงไชยสวัสดิ์(คำแสน) 6)ขุนไชยสาร(จารย์เฮ้า) 7)นางข่าง 8)นางคะ 9)นางบัวสา 10)ท้าวคำหวา เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร และนามสกุล”ณ กาฬสินธุ์” เป็น 1 ใน 21 นามสกุล ณ พระราชทานครั้งแรกของประเทศไทย นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1190 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระราชทานแก่พระยาไชยสุนทร (เก) กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไทย มณฑลร็อยเอ็จ อดีตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457 ทวดชื่อพระไชยสุนทร (หมาสุย) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ปู่ชื่อพระยาไชยสุนทร (หนูม้าว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ลำดับที่ 8 บิดาชื่อราชบุตร (งวด) เชื้อเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เขียนเป็นอักษรโรมันว่า na Kalasindhu ตามประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 15 เล่มที่ 31 หน้าที่ 64 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร รับพระบรมราชโองการ ซึ่งเดิมต้องไปขอใช้และขึ้นนามสกุล “ณ กาฬสินธุ์” กับพระยาไชยสุนทร(เก) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 11 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่เนื่องพระราชบัญติตั้งนามสกุลห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้านามสกุลและตั้งถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าใช้ในนามสกุลเท่านั้น ด้วยมีบุตรหลานและญาติพี่น้องจำนวนมากที่มาอาศัยอยู่เมืองสกลนครนานแล้วเป็นการยากที่จะอพยพไปขอใช้นามสกุล “ณ กาฬสินธุ์” ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ คุณหญิงสุวรรณภรรยาพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำ) เจ้าเมืองสกลนคร ผู้มีศักดิ์เป็นญาติพี่น้องจึงขอให้มาใช่นามสกุล “พรหมสาขา ณ สกลนคร” ด้วยกัน แต่ด้วยความระลึกถึงบรรพชนที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ที่มารักษาพระธาตุเชิงชุมเมืองสกลนครตามพระบัญชาของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตนั้น จึงรวบรวมญาติพี่น้องผู้มีบรรดาศักดิ์ประกอบด้วย พระศรีธงไชย(คำตา) หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) หลวงไชยจักร(จารย์โหล) ขุนแสนสะท้าน(กอ) ขุนโยธาชาแสน(เลา) ขุนวาปีพิทักษ์(จูม) ขุนนาวาพาณิชย์(จี)และญาติพี่น้องผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนจึงพากันก่อตั้งนามสกุล “วงศ์กาฬสินธุ์” ที่จังหวัดสกลนครตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สายตระกูล[แก้]

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (โคตร) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (หนู)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2420 - 2426)
พระยาชัยสุนทร (พั้ว)

อ้างอิง[แก้]