พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธรรมสถิตย์ เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายว่า “สถานที่ตั้งแห่งธรรมะ” คณะสงฆ์และคณะกรรมการ วัดป่าเลไลยก์ เห็นสมควรที่จะใช้ชื่อนี้ เพราะ วัดป่าเลไลยก์ จะได้เป็นสถานที่สถิตย์อยู่ของพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ชาวพุทธผู้ศรัทธาได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนค้นคว้า ฝึกปฏิบัติขัดเกลาตน ที่นี้ พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์ ได้ออกแบบก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยเป็นอนุสรณ์ของเราชาวพุทธทั้งหลายให้ได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำสอนของพระองค์

ทางวัดป่าเลไลยก์จึงได้ก่อสร้างพระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์นี้ ถัดไปจากอุโบสถหลังเดิม แยกเป็นสัดส่วนได้ดังนี้

  • เจดีย์ ประดิษฐ์ไว้ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ
  • พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์
  • ศาลาปฏิบัตะรรม
  • ห้องเรียน สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมะ และ
  • ใช้เป็นห้องประชุม
  • ห้องสมุด
  • ศาลาเอนกประสงค์ ซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
  • และใช้เป็นหอฉันสำหรับพระสงฆ์และพุทธบริษัท

วัดป่าเลไลยก์ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เวลา 09.09 นาฬิกา โดยท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ และได้ทำพิธีขุดดินปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เวลา 09.09 นาฬิกา โดยท่านเจ้าคุณธรรมวิเทศ เจ้าอาวาสวัดอานันทเมตตยาราม สิงคโปร์ และทำพิธียกฉัตรเจดีย์เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เวลา 09.09 นาฬิกา ตามด้วยการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์

เจดีย์[แก้]

เจดีย์ของวัดป่าเลไลยก์ได้แบบมาจากสถาปัตยกรรมไทยซึ่งมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน อันได้แก่ส่วนฐานจากบังลังก์ขึ้นมามีวงแหวนอยู่ 8 รอบและรูปโดมทรงระฆังคว่ำ ประกอบด้วย 13 วงแหวนและส่วนที่เป็นยอดรูปดอกบัวตูม มียอดเป็นฉัตรครอบไว้

ส่วนชั้นฐานของเจดีย์ประกอบขึ้นด้วยวงแหวน 8 รอบ แต่ละรอบแทนความหมายของ อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ อันได้แก่

  1. สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ
  2. สัมมาสังกัปโป คือความดำริชอบ
  3. สัมมาวาจา คือวาจาชอบ
  4. สัมมากัมมันโต คือการงานชอบ
  5. สัมมาอาชีโว คือการเลี้ยงชีวิตชอบ
  6. สัมมาวายาโม คือความเพียรพยายามชอบ
  7. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ
  8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ

ชั้นตรงกลางเป็นรูปทรงระฆังคว่ำได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุถาวรที่มีความสำคัญในทางพุทธศาสนาไว้ด้วย ในการก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆ เจดีย์พระพุทธรูปสมัยโบราณกาล ในระหว่างการก่อสร้างนั้น ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสปรารถนามรรคผลนิพพานในกาลข้างหน้าได้บรรจุสิ่งของไว้ในศาสนวัตถุเป็นสัญลักษณ์แห่งการฝากตนไว้ในพระพุทธศาสนา

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ศรัทธา ในการนี้ ทางวัดได้จัดเตรียมแผ่นทองเหลืองสลักรูปยันต์เกราะเพชรซึ่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ จำนวน 108,000 ชิ้น จำนวน 108 นี้ ได้มากจาก 9 คูณ 12 ซึ่งมีความหมายดังนี้

เลข 9 นี้ หมายถึงกิจเบื้องต้นของทุกคนผู้เข้ามา นับถือพุทธศาสนา คือปฏิญาณตนถือเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือนึกถึงพระพุทธ 3 ครั้ง พระธรรม 3 ครั้ง และพระสงฆ์ 3 ครั้ง เลข 12 นี้หมายถึง อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค คูณกับ 3 ญาณ ในอริยสัจแต่ละข้อ คือ สัจญาณ กิจญาณ และกตญาณ

ในจำนวน 108,000 แผ่นทองเหลืองนี้ 84,000 (84,000 พระธรรมขันธ์) แผ่นบรรจุไว้ภายในหอระฆังภายในเจดีย์ 12,000 แผ่นบรรจุไว้ภายในองค์พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประดิษฐานศาลาปฏิบัติธรรม และ 12,000 แผ่น บรรจุไว้ภายในองค์พระพุทธรูป ประดิษฐาน ณ หอฉัน

ในสมัยพุทธกาล พระอัสสชิ ได้ย่นคำสอนเพื่อแสดงธรรมแก่พระสารีบุตร โดยกล่าวเป็นคาถาว่า

“เย ธัมมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต อาห เตสัญจ โย นิโรโธ เอวัง วาที มหาสมโณติ”

“ธรรมใดเกิดแต่เหตุพระตถาคตกล่าวเหตุนั้นพร้อมด้วยความดับของเหตุนั้น ดังนี้เป็นคำสอนของมหาสมณะ”

เมื่อฟังคำตอบของพระอัสสชิ พระสารีบุตรได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน

ในประเทศจีนและพม่า มีประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลยึดถือเอาคาถาบทนี้เขียนบันทึกและบรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างไว้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นทางวัดป่าเลไลยก์ยังได้ทำรูปยันต์เกราะเพชรเป็น 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือของประเทศไทย ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ จารึกลงบนแผ่นหินอ่อนและบรรจุไว้ในหอระฆังของเจดีย์ด้วย

ขั้นต่อขึ้นไปอีกจะประกอบไปด้วยวงแหวน 13 วงใน แต่ละวงได้แทนความหมายของธดุงควัตร 13 อันได้แก่

  1. ปังสุกูลิกังคะ เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
  2. เตจิวริกังคะ ผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร งดจีวรผืนที่ 4
  3. ปิณฑปาติกังคะ ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
  4. สปทานจาริกังคะ เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร (งดการเที่ยวตามใจอยาก)
  5. เอกาสนิกังคะ เป็นผู้ถือนังฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
  6. ปัตตปิณฑิกังคะ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
  7. ขลุปัจอาภัตติกังคะ เป็นผู้ถือห้ามภัตที่ภายหลังเป็นวัตร
  8. อารัญญิกังคะ เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
  9. รุกขมูลิกังคะ เป็นผู้ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
  10. อัพโภกาสิกังคะ เป็นผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร
  11. โสสานิกังคะ เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้
  12. ยถาสันถติกังคะ เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้
  13. เนสัชชิกังคะ เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ เว้นนอน

บนยอดของเจดีย์ได้ใส่ยอดเป็นรูปดอกบัวตูมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลักสำคัญของพระธรรมวินัย คือแม้ว่าดอกบัวจะเกิดมาจากตม แต่ก็ยังสามารถโตโผล่พ้นตมและขึ้นไปบานอยู่เหนือน้ำได้ ฉันใดถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะเกิดขึ้นมาภายใต้กฎแห่งธรรมชาติของ การแก่ การเจ็บ การตาย แต่ยังสามารถพ้นทุกข์เหล่านี้ได้ โดยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ

อานิสงส์ของการสร้างเจดีย์[แก้]

มีผู้ค้นพบคำจารึกที่เจดีย์โบโรบูโด ที่กล่าวถึงอานิสงส์การก่อสร้างพระเจดีย์ 18 ประการดังนี้

  1. จะได้เกิดเป็นโอรสของกษัตริย์
  2. จะมีร่างกายสง่าภูมิฐาน
  3. จะเป็นผู้ที่รูปสวยและมีเสน่ห์
  4. จะเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
  5. จะเป็นผู้มีอำนาจและชื่อเสียง
  6. จะเป็นผู้มีข้าทาสบริวารดี
  7. จะเป็นผู้นำคน
  8. จะเป็นที่พึ่งของผู้อื่น
  9. จะเป็นผู้ที่มีกิตติศัพท์ใน 10 ทิศ
  10. จะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเจรจาและโวหารพิสดาร
  11. จะเป็นผู้ได้รับความอุปถัมภ์จากมนุษย์และเทวดา
  12. จะเป็นผู้ที่มั่งมี
  13. จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  14. จะเป็นผู้มีอายุขัยยืนยาว
  15. จะเป็นผู้ที่มีร่างกายประดุจดังเพชร
  16. จะเป็นผู้มีลักษณะของมหาบุรุษ
  17. จะเป็นผู้ที่เกิดแต่ในชั้นมนุษย์ สวรรค์ และพรหมโลก
  18. จะเป็นผู้ที่บรรลุสู่สัมโพธิญาณ โดยเร็ว

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือ พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์ ณ วัดป่าเลไลยก์