พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระพินิจชนคดี)
พินิจ อินทรทูต
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2434[1][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
เสียชีวิต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513[2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
อาชีพตำรวจ
คู่สมรสม.ล.อรุณ ม.ร.ว.บุญรับ ปราโมช

พลตำรวจเอก พระพินิจชนคดี มีชื่อจริงว่า พินิจ อินทรทูต (ชื่อเดิม: เซ่ง อินทรทูต) เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ[3] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[4]อดีตจเรตำรวจ[5] และรักษาการผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง [6] เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ เมื่อ พ.ศ. 2487 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของธนาคารคนที่2 ต่อจากพลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร เมื่อปี พ.ศ. 2492 [7] และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เสริมสุข จำกัด โดยมีตำแหน่งเป็นประธานบริษัท ซึ่งนำเข้าเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมโคล่ายี่ห้อ เป๊ปซี่ เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2496[8] และประธานกรรมการสอบสวนการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ซึ่งสุดท้ายศาลมีคำพิพากษาประหารชีวิตทหารมหาดเล็ก 3 คน

พระพินิจชนคดีสมรสกับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ [7] เป็นต้นสกุล"อินทรทูต"ซึ่งเป็นตระกูลชาวไทยเชื้อสายจีน ภายหลังเมื่อหม่อมหลวงอรุณ ถึงแก่อนิจกรรมแล้วจึงได้มาสมรสกับ หม่อมราชวงศ์บุญรับ ปราโมช พี่สาวของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช [9]

ตำแหน่ง ยศ และบรรดาศักดิ์[แก้]

  • - ร้อยตำรวจตรี
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - ร้อยตำรวจโท[10]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - ขุนพินิจชนคดี ถือศักดินา ๔๐๐[11]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - ร้อยตำรวจเอก[12]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - หลวงพินิจชนคดี ถือศักดินา ๖๐๐[13]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - พันตำรวจตรี[14]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - พันตำรวจโท[15]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - พระพินิจชนคดี ถือศักดินา ๘๐๐[16]
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี[17]
  • 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ[18]
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - พันตำรวจเอก[19]
  • 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 - พลตำรวจตรี[20]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2493 - จเรตำรวจ
  • 22 มกราคม พ.ศ. 2494 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 - รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • 9 ตุลาคม พ.ศ. 2494 - พลตำรวจโท[21]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498 - พลตำรวจเอก[22]
  • 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 - รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8[แก้]

หลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้เรียกเอาพระพินิจชนคดี ซึ่งขณะนั้นเป็นนายตำรวจนอกราชการแล้วกลับมารับราชการ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการสอบสวนการสวรรคตของรัชกาลที่ 8[23] เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จ้างพยานเท็จเพื่อปรักปรำปรีดี พนมยงค์[24]

  • นายตี๋ ศรีสุวรรณ ขณะที่นายตี๋อายุ 102ปี ในปี พ.ศ. 2522 เขียนจดหมายไปขอขมานายปรีดีฯที่พำนักอยู่ที่ กรุงปารีส โดยสารภาพว่า พระพินิจเกลี้ยกล่อมว่า ถ้าให้การว่านายปรีดีฯกับพวกไปวางแผนร่วมที่บ้านพล.ร.ต.กระแสฯ เพื่อปลงพระชนม์ร.๘ จะให้เงินเลี้ยงนายตี๋จนตาย แต่เมื่อเสร็จคดีแล้วพระพินิจก็ไม่จ่ายให้อีกตามที่รับปากไว้ เวลานี้นายตี๋รู้สึกเสียใจมากจึงได้เขียนจดหมายมาขอขมาต่อนายปรีดีฯ[25]
  • พล.ร.ต.กระแส ได้เขียนพินัยกรรมไว้ เล่าถึงการถูกข่มขู่คุกคามโดยพระพินิจชนคดี ว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องถูกจับติดคุก และถ้ายอมทำตามจะให้จอมพลฯช่วยหางานให้ทำอีกด้วย[26] และข้อพิสูจน์หักล้างพยานเท็จ[27] ต่อมาได้นำบันทึกนี้ไปเป็นเอกสารประกอบคำฟ้องในศาล[28] เมื่อนายปรีดีทำการฟ้องหมิ่นประมาทผู้กล่าวร้ายปรีดี

งานเขียน[แก้]

  • หนังสือ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา พร้อมด้วยคำแถลงของพนักงานอัยการโจทก์ ความอาญา คดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ ตีพิมพ์ 10 มกราคม 2498[29]
  • หนังสือ นิทานตำรวจ ฉบับสมบูรณ์ หนังสืออนุสรณ์ พลตำรวจเอก พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) ตีพิมพ์ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513[30]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จากหนังสืองานศพ นิทานตำรวจ ฉบับสมบูรณ์
  2. จากหนังสืองานศพ นิทานตำรวจ ฉบับสมบูรณ์
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (หน้า ๒๘๐๖)
  4. เรื่องแต่งตั้งข้าราชการ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งจเรตำรวจ (หน้า ๒)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  7. 7.0 7.1 สืบสาย "อินทรทูต" ใน 48 ปีแบงก์บีบีซี"[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ,มกราคม 2536
  8. หน้า 55, เป๊ปซี่ "เปิดศึก" กับโค้ก. "กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554" (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3
  9. เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อวสาน "อินทรทูต"[ลิงก์เสีย] ภัทราวรรณ พูลทวีเกียรติ, นิตยสารผู้จัดการ, เมษายน 2539
  10. พระราชทานยศนายตำรวจภูธรแลนายตำรวจพระนครบาล (หน้า ๑๕๔๑)
  11. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๐๐๖)
  12. พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๓๘)
  13. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๒๗๗)
  14. พระราชทานยศพลเรือน (หน้า ๒๔๕๒)
  15. พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๕๐)
  16. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๐๒๐)
  17. ประกาศ ปลดตั้งและย้ายนายตำรวจ (หน้า ๔๙๖)
  18. แจ้งความ บรรจุนายตำรวจ (หน้า ๓๓๓๓)
  19. ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  23. หนังสือ นายปรีดี พนมยงค์ กับ แผนลอบปลงพระชนม์ร.8 โดย อนันต์ อมรรตัย ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่2 พ.ศ. 2526 สำนักพิมพ์ จิรวรรณนุสรณ์ หน้าที่3 นับจากคำนำ
  24. ดูหนังสือ นายปรีดี พนมยงค์ กับแผนการลอบปลงพระชนม์ของ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี โดยสุพจน์ ด่านตระกูล ตีพิมพ์ครั้งที่3 กันยายน 2543
  25. ดูหนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 289-292 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
  26. ดูหนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 235 239 243 และ 249 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
  27. หนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 250-254 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
  28. ดูหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ปี ชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน หน้า 128-129 ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543
  29. พิมพ์เนื่องในงานทำบุญอายุครบ 5 รอบ มรว.บุญรับ พินิจชนคดี และหนังสือ The Devil's Discus ก็ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ในหน้า 193
  30. ฉบับสมบูรณ์ หนังสืออนุสรณ์
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๒, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  35. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙, ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๘๘, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๔, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๙, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๑, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘