พระนางวิชเยนทรลักษมี
พระนางวิชเยนทรลักษมี | |
---|---|
พระราชินีแห่งอาณาจักรพระนคร | |
ราชาภิเษก | อภิเษกสมรส พ.ศ.1623 |
ประสูติ | ศตวรรษที่ 11 |
สวรรคต | ศตวรรษที่ 12 |
พระราชสวามี | ยุวราช พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ไศเลนทร์(โดยประสูติ) ราชวงศ์มหิธรปุระ(โดยอภิเษก) |
พระราชบิดา | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 |
พระนางวิชเยนทรลักษมี (Vijayendralakshmi) (ศตวรรษที่ 11 - ศตวรรษที่ 12) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอาณาจักรพระนคร พระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ.1623-พ.ศ.1650) และอภิเษกสมรสกับพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1650 - พ.ศ.1656)[1]
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์ประสูติที่อมัลกะสธาลา และพระองค์เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้านฤปตินทรวรมัน ซึ่งเป็นหัวหน้ากองทัพ[1] ซึ่งเป็นไปได้ว่านฤปตินทรวรมัน พระเชษฐาของพระองค์ได้ช่วยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ในการชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระองค์และพระเชษฐาเป็นพระบุตรของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 [1]
พระองค์ถูกอธิบายว่าเป็น “ภาชนะรองรับความร่ำรวย ความงาม คารมคมคาย และความเสน่หา และเนื่องจากพระนางถือเป็นผลไม่แห่งโชคลาภและชัยชนะ (ลักษมีและวิชัย) พระนางจึงได้ชื่อ วิชเยนทรลัษมี”[1]
พระองค์อภิเษกสมรสกับยุวราชแห่งมหิธรปุระก่อน จากนั้นจึงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และสุดท้ายกับพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1
”ระหว่างพระนางกับพระลักษมีบนสวรรค์ไม่มีความแตกต่าง และทั้งสองพระองค์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเหนือกว่าองค์อื่น จากความคิดนี้เองที่ยุวรราชซึ่งกำลังจะเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ได้มอบพระนางให้กับพระเชษฐาคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ด้วยความรักใคร่กันในครอบครัว เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ติดตามบรรพบุรุษและยุวราชไปสู่สรวงสวรรค์ พระองค์จึงมอบพระนางให้กับพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1"[1]
พระองค์เป็นสตรีองค์เดียวในอาณาจักรพระนครที่อภิเษกสมรสกับพระมหากษัตริย์ถึง 3 พระองค์[1] มีข้อสังเกตว่า “พระองค์ได้มาโดยความโปรดปรานของพระมหากษัตริย์ชื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และตามคำสัญญาของยุวราช อมัลกะสธาลาซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระองค์ “