พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ)
พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2370 (71 ปี 190 วัน ปี) |
มรณภาพ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 8 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
อุปสมบท | พ.ศ. 2380 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดเสนาสนาราม เจ้าคณะกรุงเก่า |
พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ) เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเก่า และกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]พระธรรมราชานุวัตร มีนามเดิมว่าต่าย เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2370 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน จ.ศ. 1189 แต่บางแห่งว่าเกิดวันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2370 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9[1] ชาตภูมิอยู่ที่ตำบลบางเพลิง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อายุได้ 10 ปี ได้เข้าศึกษาในสำนักของพระอาจารย์ปิ่น ซึ่งเป็นลุงบวชอยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงให้ท่านหัดเล่นโขน เมื่อสิ้นพระชนม์จึงกลับไปอยู่บ้าน ต่อมาโยมได้นำท่านไปฝากกับพระมหาทับ พุทฺธสิริ[2]
ถึงปีระกา พ.ศ. 2380 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชาธิวาส โดยมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังเป็นพระภิกษุเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[3] (แต่บางแห่งว่าพระอโนมสิริเป็นพระกรรมวาจาจารย์)[1] ได้นามฉายาว่า วารโณ
ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับอาจารย์หลายท่าน เช่น พระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) อาจารย์นุชพี่ชายของพระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) และอาจารย์ทอง เข้าสอบได้เป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค หลังจากย้ายตามพระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) มาอยู่วัดโสมนัสราชวรวิหารแล้วได้เข้าสอบอีก ได้เปรียญธรรม 4 ประโยคขณะเป็นพระสมุห์ และได้เปรียญธรรม 7 ประโยคขณะเป็นพระครูวินัยธร ถึงปีชวด พ.ศ. 2419 ได้เข้าสอบอีกเป็นครั้งสุดท้าย ได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ปีต่อมาทรงตั้งเป็นพระราชาคณะและเจ้าอาวาสวัดเสนาสนาราม และอยู่ครองวัดนี้ตราบจนมรณภาพ[2]
ศาสนกิจ
[แก้]พระธรรมราชานุวัตร มีบทบาทหลายอย่างในการพระศาสนา ได้แก่ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะกรุงเก่า เป็นแม่กองตรวจชำระพระสุตตันตปิฎกในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112[4] และกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก (พ.ศ. 2436)
สมณศักดิ์
[แก้]- ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมุห์ ฐานานุกรมในพระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ)
- เป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ)
- พ..ศ 2420 เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณรักขิต
- พ.ศ. 2428 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมราชานุวัตร ประสิทธิธรรมปฏิบัติ สรรพอัตถโกศล พหลสมณเดช คณเชฐมหานายก คณวาจกปิฎกวรานุรักษ สงฆกิจพิทักษอรรคมหาประธานาธิบดี บุราณราชธานีนครเขตร คตสมณสงฆมเหศวรเนตา ทวาราวดีศรีอยุทยา นิสิตารามคามวาสี[5]
- พ.ศ. 2441 เลื่อยยศเสมอเจ้าคณะอรัญวาสี (เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ) ที่ พระธรรมราชานุวัตร ประสิทธิธรรมปฏิบัติ สรรพอัตถโกศล พหลสมณเดช คณะเชฐมหานายก คณวาจกปิฎกวรานุรักษ์ สงฆกิจพิทักษ์อรรคมหาประธานาธิบดี บุราณราชธานีนครเขตร คตสมณสงฆ์มเหศวรเนตา ทวาราวดีศรีอยุทยา นิสิตารามคามวาสี[6]
มรณภาพ
[แก้]พระธรรมราชานุวัตร อาพาธด้วยไข้ทรพิษ[1] แพทย์จัดยาถวายจนอาการทุเลาลง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 117 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแพทย์หลวงมารักษา ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ อาการกลับทรุดลง ฉันยาแล้วก็ไม่ทุเลา จนถึงแก่มรณภาพในตอนเช้าเวลา 4 โมง 40 นาที ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์[3] (บางแห่งว่าวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์[7]) ปีจอ พ.ศ. 2441[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2442)
ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 119 เวลาบ่าย ณ วัดเสนาสนาราม[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "อดีตเจ้าอาวาส วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร". วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร. 2 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 2.0 2.1 2.2 สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 167-8. ISBN 974-417-530-3
- ↑ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี ,แผนกพิพิธภัณฑสถาน และแผนกศึกษาธิการ, เล่ม 16, ตอน 17, 23 กรกฎาคม ร.ศ. 118, หน้า 214-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การสาศนูปถัมภก คือ การพิมพ์พระไตรปิฎก, เล่ม 5, หน้า 410
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม 3, ตอน 43, 28 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 117, หน้า 352
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 15, ตอน 34, 20 พฤศจิกายน ร.ศ. 117, หน้า 352
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตายในกรุง, เล่ม 15, ตอน 48, 26 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 117, หน้า 521
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ พระธรรมราชานุวัตร์ (ต่าย), เล่ม 17, ตอน 39, 23 ธันวาคม ร.ศ. 119, หน้า 558
ก่อนหน้า | พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) | เจ้าคณะกรุงเก่า (พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2442) |
พระธรรมราชานุวัตร (แสง พุทฺธทตฺโต) | ||
พระพรหมเทพาจารย์ (บุญรอด พฺรหฺมเทโว) | เจ้าอาวาสวัดเสนาสนาราม (พ.ศ. 2425 - พ.ศ. 2442) |
พระพรหมเทพาจารย์ (กล่ำ เหมโก) |