พรรคจิตวิญญาณมลายู 46
พรรคจิตวิญญาณมลายู 46 Parti Melayu Semangat 46 | |
---|---|
![]() | |
รองประธาน | ราอิซ ยาติม |
ฝ่ายยุวชน | อิบราฮิม อาลี (1989-1991)[1] |
ฝ่ายสตรี | ระฮ์มะฮ์ อซมัน[1] |
ก่อตั้ง | 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989 |
แยกจาก | องค์การมลายูรวมแห่งชาติ (UMNO) |
ถัดไป | องค์การมลายูรวมแห่งชาติ (UMNO) |
ที่ทำการ | กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[2] |
ฝ่ายเยาวชน | Pergerakan Pemuda S46[3] |
จำนวนสมาชิก (ปี 1996) | 200,000 |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมมลายู อิสลามนิยม อนุรักษ์นิยม |
จุดยืน | ขวา |
กลุ่มระดับชาติ | อังกาตันเปอร์ปาดวนอุมมะฮ์ (1990–96) กากาซันรักยัต (1990–96) |
สี | เหลืองและเขียว |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองมาเลเซีย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคจิตวิญญาณมลายู 46 (มลายู: Parti Melayu Semangat 46) เป็นพรรคการเมืองที่สลายตัวไปแล้วในมาเลเซีย ก่อตั้งโดยเติงกู ราซาลี ฮัมซะฮ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อต่อต้านอุมโนภายใต้การนำของมหาธีร์ โมฮัมหมัด รวมทั้งแนวร่วมแห่งชาติ
แนวคิดของการตั้งพรรคนี้เริ่มต้นเมื่อราว พ.ศ. 2528–2529 ซึ่งเป็นช่วงที่มาเลเซียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย พรรคนี้ได้ดึงตัวผู้นำระดับสูงจากอุมโนมาร่วมงานหลายคน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 กลุ่มของราซาเละห์ประกาศตัวว่าเป็นอุมโน 46 ส่วนกลุ่มของมหาธีร์เรียกว่าอุมโนใหม่หรืออุมโนบารู ต่อมา อุมโน 46 หันมาใช้ชื่อเซอมางัต 46 หรือจิตวิญญาณ 46 และได้จดทะเบียนเป็นพรรคใหม่เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2532
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2533 พรรคจิตวิญญาณ 46 ได้เข้าร่วมเป็นแนวร่วมกับพรรคกิจประชาธิปไตยและพรรคประชาชนมาเลเซีย ในขณะที่พรรคนิยมอิสลามได้จัดตั้งแนวร่วมระหว่างพรรคปาส พรรคเบอร์จายา พรรคฮามิม และสภามุสลิมอินเดียแห่งมาเลเซีย[4] พันธมิตรอิสลามนี้ได้จัดตั้งรัฐบาลในรัฐกลันตัน หลังการเลือกตั้งระหว่าง พ.ศ. 2534–2535 สมาชิกของพรรคจิตวิญญาณ 46 ถอนตัวออกไปมากขึ้น พรรคได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพรรคจิตวิญญาณมลายู 46 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ในการเลือกตั้งของรัฐกลันตัน พ.ศ. 2538 พรรคก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก และได้คะแนนเสียงน้อยลง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 พรรคมีอิทธิพลและขนาดลดลง ใน 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 พรรคได้สลายตัวกลับไปรวมตัวกับอุมโนอีก[5] ผู้ที่ไม่เข้าร่วมกับอุมโน หันไปเข้าร่วมกับพรรคปาส[6] หรือเลิกเล่นการเมือง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Hwang (2003), p. 224
- ↑ British Broadcasting Corporation Monitoring Service (1996). Summary of World Broadcasts. British Broadcasting Corporation. p. The vote was taken during an extra ordinary general meeting of the party in Kuala Lumpur. Earlier in his speech, Semangat 46 president Tengku Razaleigh.
- ↑ "Persaingan 3 penjuru -- Keputusan di Pengkalan Pasir bakal tentukan masa depan Kelantan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 15 October 2008.
- ↑ Hwang (2003), p. 184
- ↑ "Sokongan orang Melayu terhadap UMNO semakin terserlah - Keadilan sudah tidak relevan lagi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- ↑ Stewart (2003), p. 28
บรรณานุกรม[แก้]
- Francis Kok-Wah Loh; Francis Loh Kok Wah; Boo Teik Khoo; Khoo Boo Teik (2002). Democracy in Malaysia: Discourses and Practices. Routledge. p. 95. ISBN 0-7007-1161-9.
- Hwang, In-Won (2003). Personalized Politics: The Malaysian State Under Mahathir. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-185-2.
- Stewart, Ian (2003). The Mahathir Legacy: A Nation Divided, A Region at Risk. Allen & Unwin. ISBN 1-86508-977-X.
- Garry Rodan, Asia Research Centre (1996). Political Oppositions in Industrialising Asia. Routledge. ISBN 0-415-14865-0.
- Tan Seng Giaw (1989). First 60 Days: The 27th October ISA Arrests. Democratic Action Party. pp. 38–40.
- Yahaya Ismail (2003). UMNO POLITICS - Abdullah Badawi's DILEMA. Usaha Teguh Sdn Bhd]. ISBN 983-2236-03-7.