พยาธิตืดหมู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยาธิตืดหมู
Scolex (หัว) ของ พยาธิตืดหมู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Platyhelminthes
ชั้น: Cestoda
อันดับ: Cyclophyllidea
วงศ์: Taeniidae
สกุล: Taenia
สปีชีส์: T.  solium
ชื่อทวินาม
Taenia solium
Linnaeus, 1758

พยาธิตืดหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Taenia solium) เป็นพยาธิตัวตืดที่พบได้ทั่วโลก มักติดเชื้อในลำไส้จากการกินหมูดิบ ตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนคล้ายริบบิ้น มีสีขาว ยาว 2 ถึง 3 เมตรหรือมากกว่า พยาธิดำเนินชีวิตครบวงจรในคนซึ่งเป็นโฮสต์จำเพาะ (definitive host) และหมูเป็นโฮสต์ตัวกลาง (intermediate host) หมูติดเชื้อโดยกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระมนุษย์ซึ่งได้รับไข่พยาธิและไข่โตเป็นซีสต์ในกล้ามเนื้อหมู มนุษย์ติดโดยการกินหมูที่ปรุงไม่สุกที่มีซีสต์และซีสต์เจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้เล็ก[1]

การติดเชื้อจากการกินหมูดิบมักไม่มีอาการ อาจมีอาการได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก ซึ่งอาการจะเกิดเมื่อพยาธิเจริญเป็นตัวเต็มวัยคือหลังจากกินหมูดิบประมาณ 8 สัปดาห์[2] ส่วนการติดเชื้อจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระจะได้รับไข่พยาธิทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรียกว่า Cysticercosis ซึ่งอันตรายที่สุดหากเกิดซีสต์ในสมอง

การวินิจฉัยมักทำโดยตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ สำหรับ Cysticercosis จะใช้ computed tomography และ nuclear magnetic resonance นอกจากนี้อาจใช้การตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี

วงจรชีวิตของ T. solium

อ้างอิง[แก้]

  1. Biology. (2013, January 10). Retrieved from https://www.cdc.gov/parasites/taeniasis/biology.html
  2. "Taeniasis/Cysticercosis". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.