ผู้ใช้:Zhongguiying

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จัดทำโดย[แก้]

น.ส.ณัฐพร แซ่เจ็ง กลุ่ม44

       ถนนเยาวราชเป็นที่รู้จักของใครหลายๆคน โดยเฉพาะนักช็อปและนักชิมทั้งหลาย เมื่อลองจินตนาการภาพของถนน เยาวราช 

บางครั้งก็ทำให้นึกถึงถนนในฮ่องกงที่เต็มไปด้วยป้ายภาษาจีนทั้งสองฟากฝั่งถนน รวมไปถึงภัตตาคารจีนเลิศรสอีกหลายแห่ง บางคนก็บอกว่า ความยาวของถนนเยาวราชมีรูปร่างลักษณะคล้ายมังกร จึงมีการให้สมญากับถนนเยาวราชนี้อีกว่า ถนนมสายมังกร นอกจากภัตตาคารอาหารจีน แล้วยังมีธุรกิจร้านทองที่เลื่องชื่อไม่ว่าจะเป็น ร้านทองเล่งหงษ์ หรือร้านทองฮั่วเซ่งเฮง เป็นต้น และเนื่องจากที่เยาวราชมีห้างทองเป็นจำนวนมาก เลยได้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ถนนสายทองคำราช

ประวัติ[แก้]

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างถนนนี้ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๔๓ ตั้งต้นจากบริเวณคลองโอ่งอ่างถึงวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นระยะทาง ๑,๕๓๒ เมตร ส่วนคำว่า เยาวราช มีความหมายว่า พระราชาที่ทรงพระเยาว์ หมายถึงรัชกาลที่ ๕ ที่ขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ต่อมาถนนสายนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น ไชน่าทาวน์ ของเมืองไทย เนื่องจากตลอดสายของถนนเป็นแหล่งทำมาหากิน และที่อยู่อาศัยของชนชาวจีน นับได้ว่าเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในอดีต ถนนเยาวราช เป็นถนนสายแรกที่มีตึกที่สูงที่สุดใน ประเทศไทยตั้งอยู่คือ ตึกเจ็ดชั้นและตึกเก้าชั้น บนสองฟากของถนนมีภัตตาคารจีนชั้นดี มีโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรีที่ทันสมัยในยุคนั้น มีร้านขายทองคุณภาพดีที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งอาหารสด และอาหารแห้งเพื่อนำไปประกอบอาหารจีนมากมาย และในช่วงเทศกาลสำคัญของชาวจีนอย่างเช่น เทศกาลถือศีลกินเจ และเทศกาลตรุษจีน บนถนนสายนี้ก็มีการจัดกิจกรรมและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศมากมายมาเข้าร่วมเฉลิมฉลอง นับว่าเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก

รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาส[แก้]

ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปัจจุบัน) เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยการพระราชดำเนินที่เยาวราช สำเพ็ง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึงเที่ยง เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ยังความปิติยินดีอย่างมากต่อชาวเยาวราช ซึ่งได้จัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ในครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปเยี่ยมเยียนถึงในบ้านพักและร้านค้าของราษฎรอย่างใกล้ชิด และในเวลาเที่ยง ก็ได้ทรงเสวยพระกระยาหารเที่ยงที่ชาวเยาวราชจัดถวาย ที่สมาคมพ่อค้าไทย-จีน ถนนสาทร เนื่องด้วยในเวลานั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสายจีนหรือชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเยาวราช ถึงกับมีการทำร้ายร่างกายคนไทยที่เข้าไปในบริเวณนี้ อันเนื่องมาจากความฮึกเหิมในเชื้อชาตินิยมหลังจากการที่จีนเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกไว้ อันเป็นการสลายความขัดแย้งทั้งหมดไปได้

ถนนในแถบเยาราช[แก้]

ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี) ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชรบริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า การเงิน การธนาคาร ร้านทอง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชน่าทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

สถานที่สำคัญในเยาวราช[แก้]

  • ตลาดเก่า
หากอยากสัมผัสบรรยากาศของความเป็นเยาวราชจริงๆ ขอแนะนำให้มาที่ "ตลาดเก่าเยาวราช" ที่ชาวเยาวราชไปจับจ่ายหาซื้อสินค้ากันมานาน ตลาดเก่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ริมถนนเยาวราชทางฝั่งสำเพ็ง หรือบริเวณซอยมังกรไปจนถึงถนนเยาวพานิช ที่ตลาดนี้จะขายสินค้าประเภทอาหารทะเล ทั้งของสดของแห้ง และอาหารแห้งที่นำเข้าจากประเทศจีน เช่น กระเพาะปลาแห้ง เม็ดบัว เครื่องยาจีนต่างๆ โดยเมื่อก่อนนี้ตลาดเก่าจะเปิดขายเกือบทั้งวัน แต่ในปัจจุบันช่วงเที่ยงๆ ตลาดก็จะวายแล้ว
  • ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ
หากมาถึงย่านแห่งนี้แล้วนั้นก็ไม่ควรพลาดที่จะไปชมความงดงามของ ”ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวงเวียนน้ำพุโอเดียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนเยาวราชหรือบริเวณหัวมังกรที่ได้กล่าวไปแล้ว ซุ้มประตูแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.2542 ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนม์ 6 รอบพรรษา ด้านบนสุดของซุ้มประตูมองเห็นมังกรเทิดพระปรมาภิไทย ภปร. ทำด้วยทองคำหนัก 99 บาท ถัดลงมาเป็นแผ่นจารึกนาม “ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา” อีกด้านเป็นลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาจารึกอักษรจีน “เซิ่ง โซ่ว อู๋ เจียง” หมายถึง “ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน” พร้อมพระนามาภิไธย “สิรินธร” ถือได้ว่าซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ เป็นสัญลักษณ์สำคัญของย่านเยาวราช
  • วัดไตรมิตร
“วัดไตรมิตรวิทยาราม” เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาย่านเยาวราช วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนมิตรภาพไทย-จีน ไม่ไกลจากซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ เป็นวัดโบราณซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า “วัดสามจีน” ซึ่งถูกไว้ว่า ชาวจีน 3 คนได้ร่วมกันสร้างพระอาราม และได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนกระทั่ง ในพ.ศ. 2482 ประชาชนได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นชื่อ “วัดไตรมิตรวิทยาราม” ภายในวัดเป็นที่ตั้งของ “พระมหามณฑป” ที่ประดิษฐาน "พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อทองคำ" ซึ่งได้ถูกบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ให้เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนั้น ชั้น 2, 3 และ 4 ของมณฑปยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช” ทำให้เราได้ทราบเรื่องราวที่มาของย่านเยาวราชและผู้คนที่เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งประวัติของวัดและหลวงพ่อทองคำด้วยเช่นกัน
วัดมังกรกมลาวาส” หรือ “วัดเล่งเน่ยยี่” วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งของย่านเยาวราช โดยเป็นวัดจีนสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญกรุง วัดมังกรกมลาวาสแห่งนี้มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวัดหลวง คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ทั้งแบบไทยและแบบจีนนั้น วัดแห่งนี้จะได้รับความนิยมในการมาสักการะขอพรและร่วมพิธีแก้ชง โดยภายในวัดจะมีบรรยากาศที่คึกคักเป็นอย่างมาก นอกจากนั้่นก็ยังมีวัดและศาลเจ้าอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ศาลเจ้าแม่กวนอิมองค์ทองในมูลนิธิเทียนฟ้า,วัดบำเพ็ญจีนพรต,ศาลเจ้าพ่อกวนอูและเทพเจ้าม้า,ศาลเจ้าโจวซือกง,ศาลเจ้าเล่งบ้วยเอี้ย ให้ผู้ที่ได้มาเยือนย่านเยาวราชแห่งนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและสักการะขอพรกันอีกด้วย
  • เทียนฟ้า
ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า อยู่ที่ถนนเยาวราชเดินเลยวงเวียนโอเดียนมานิดหน่อย เดินมองไปทางซ้ายมือก็จะพบได้ไม่ยาก มูลนิธิแห่งนี้มีศาลรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร ปางประทานพร ประดิษฐานเป็นเทพเจ้าองค์ประธาน ผู้คนนิยมมาขอพรให้ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพแข็งแรง องค์ทำด้วยไม้จันทน์แกะสลัก รูปแบบศิลปะราชวงศ์ถัง แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น ในสมัยของราชวงศ์ซ่งหรือเมื่อประมาณ 800-900 ปีที่ผ่านมา และเมื่อในปี พ.ศ. 2501 ได้ถูกอัญเชิญมาจาก ประเทศจีนและมาประดิษฐานอยู่จนกระทั่งปัจจุบันองค์เจ้าแม่กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวรปางประทานพรแกะสลักจากไม้เนื้อหอม ศิลปะแบบราชวงศ์ถัง อัญเชิญมาจากประเทศจีน และเป็นมูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นเพื่อสงเคราะห์ผู้ป่วยยากไร้


10 ร้านอาหารยอดฮิต[แก้]

จากถนนเจริญกรุง เราจะพาคุณมาพบกับร้านลอดช่องสิงคโปร์ร้านแรกของเมืองไทย ที่ขายมากว่า 60 ปีเดิมทีชื่อว่าร้านสิงคโปร์โภชนา เพราะในอดีตมีโรงหนังสิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรีอยุ่บนถนนเส้นนี้ แต่ต่อมาหลายคนมักเรียกสั้นๆ ว่า ร้านลอดช่องสิงคโปร์ จึงเปลี่ยนชื่อให้จำง่ายๆ ว่าร้านลอดช่องสิงคโปร์แทน ความอร่อยของร้านนี้คือแป้งหนึบๆ น้ำกะทิหอมหวาน เวลาทานตอนอากาศร้อนๆ จะชื่อนใจมากๆ ราคา 20 บาท/ถ้วย เปิดบริการ ทุกวันยกเว้นวันพฤหัสบดี เวลา 11.00-22.00 น.
  • คั้นกี่ น้ำเต้าทอง
ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง คือร้านคั้นกี่ น้ำเต้าทอง ร้านนี้เขาเปิดมา 100 กว่าปีแล้วค่ะ ขายน้ำขม น้ำหวาน แบบโบราณ ภายในร้านจะมีน้ำเต้าสีทองสองอัน อันหนึ่งบรรจุน้ำขม อันหนึ่งบรรจุน้ำหวาน ลูกค้าที่เข้ามาทานก็เดินมาสั่งแล้วยืนดื่มกันหน้าร้านเลย แก้วละ 10 บาทเท่านั้น สรรพคุณมีมากมายบำรุงสุขภาพ ปรับสมดุลพลังหยินและหยาง หน้าร้านจึงเต็มไปด้วยอาแปะแถวเยาวราชมาดื่มน้ำขมกันโฮกๆ ส่วนเราลองดื่มทั้งสองแบบสรุปแล้วว่าน้ำหวานเหมาะกับเรามากกว่าน้ำขม เปิดบริการ 8.00-22.00 น.
  • ขนมปังร้านน้องแอม
ร้านขนมปังปิ้งน้องแอมตรงตรอกเท็กซัส(ถนนผดุงด้าว) ร้านนี้ขายตอนเย็นๆ จะมีบรรดาอาแปะ อากงมานั่งสนทนากันพร้อมจิบชากินขนมปังปิ้งไปด้วย ความโดดเด่นของร้านนี้คือตัวขนมปังที่เขาใช้ขนมปังหัวกะโหลกสั่งทำอย่างดี ก่อนปิ้งก็จะทาเนยที่ทางร้านทำเอง และเหยาะนมลงบนขนมปัง แล้วนำไปปิ้งให้เนยและนมซึมเข้าไปในขนมปัง ทำให้ขนมปังหวาน มัน หอม นุ่มอร่อยมากๆ เปิด 18.00-22.00 น. ปิดวันอาทิตย์
  • ข้าวแกงเจ็กปุ้ย(ข้าวแกงเก้าอี้ดนตรี)
ข้าวแกงร้านนี้เขาไม่มีโต๊ะค่ะ มีแต่เกาอี้วางๆ ให้นั่ง ที่มาของข้าวแกงเก้าอี้ดนตรีคือลูกค้าที่จะมาทานในร้านต้องรอเก้าอี้ว่าง ซึ่งคนที่นั่งทานนั้นขอบอกว่าเยอะมาก รวมกับคนที่มาต่อแถวซื้อไปอีกซึ่งแถวยาวมาก ขนาดเราไปถึงกว่าจะได้ทานนานมาก แต่พอทานแล้วก็สมใจเลยล่ะค่ะ เพราะเป็นข้าวแกงที่อร่อยจริงๆ โดยเฉพาะแกงกะกรี่หมูที่เข้มข้น หมูนุ่ม เวลาเขาราดมาก็จะราดน้ำแกงมาท่วมข้าวสวยร้อนๆ เวลาตักกินตอนหิวๆ นี่จะฟินและอร่อยสุดๆ นอกจากนั้นยังมีกับข้าวอื่นๆ ที่น่ากินอีกมากมาย ข้าวราดสองอย่างคิดราคา 40 บาท เปิดบริการตั้งแต่ 16.00 น.
  • ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่กระทะทองเหลือง
จากเจริญกรุงเลี้ยวเข้าสู่ถนนเยาวราช บริเวณปากซอยอิสรานุภาพ(เยาวราชซอย 6) หลังจากตลาดตอนกลางวันปิดลง ก็เป็นเวลาที่เราจะได้ทานก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่อร่อยโฮก ที่เขาจะขายประมาณ 1 ทุ่ม จะมีลูกค้ามียืนต่อคิวซื้อกันตั้งแต่ตอนเย็น ความโดดเด่นของร้านนี้คือเขาใช้กระทะทองเหลืองในการคั่ว โดยอาเฮียเจ้าของร้านที่สืบต่อการทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อ จนวันนี้ก็ 30 กว่าปีแล้ว ใช้เส้นใหญ่คั่วจนแห้ง น้ำมันน้อย หอม เส้นนุ่มรสชาตินั้นเข้าไปถึงเส้น ไม่ต้องปรุงอะไรเลยก็อร่อย หมึกกรุบกรอบ ไข่ที่สุกกำลังพอดี ไม่เละ และไก่รสชาติดี ทำให้เราลืมก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ทั้งหลายที่เคยกินมาเลย แม้ราคาจะแพงไปหน่อย ชามละ 50 บาทแต่ความอร่อยขนาดนี้เราก็ยอมจ่ายให้อาเฮียแกไปเลย เปิดบริการ 17.00-03.00 น. ปิดวันอังคาร
  • หมี่หวานเจ๊หมวย
จากปากซอยอิสรานุภาพ เดินข้ามฝั่งมาฝั่งตลาดเก่า เราจะพามาทานหมี่หวานกันที่ร้านเจ๊หมวย ตอนแรกที่ได้ยินว่าเส้นหมี่มาทำเป็นของหวานเรายังนึกไม่ออกว่ารสชาติมันจะเป็นอย่างไร แต่ทานแล้วขอบอกว่าอร่อยมากๆ เส้นหมี่องเขาจะเป็นประเภทที่ไม่ใส่ไข่ ใส่เครื่องมากกมายทั้งเม็ดบัว พุทราจีน ถั่วแดง รากบัว กับน้ำตาลเคี่ยวหอมหวาน โปะด้วยน้ำแข็งใส ร้อนแบบนี้มาทานหมี่เย็นสักถ้วยก็ช่วยคลายร้อนได้แล้ว เปิดบริการ 10.00-16.00 น.
เดินขึ้นไปทางถนนเยาวราช บริเวณโรงหนังไชน่าทาวน์ราม่าที่นี่เป็นที่ตั้งของร้านก๋วยจั๊บชื่อดัง ร้านก๋วยจั๊บอ้วนโภชนา หรือก๋วยจั๊บโรงหนัง เพราะตั้งอยู่ทางเข้าโรงหนัง ซึ่งโรงหนังแห่งนี้ยังเปิดบริการอยู๋ค่ะ เป็นโรงหนังเก่าๆ นั่งทานไปก็นั่งดูบรรยากาศแบบโรงหนังย้อนยุคไปได้บรรยากาศชะมัด ส่วนก๋วยจั๊บร้านเฮียอ้วยนั้นถูกใจเรามาก เพราะเส้นเขาจะหนึบๆ ไม่เหมือนเส้นก๋วยจั๊บทั่วไป ตัวน้ำซุปก็หอม เผ็ดร้อน พริกไทยเขาบอกว่าเวลาทานร้อนๆ จะช่วยขับลมได้ดีมากๆ ราคา 50 บาท/ถ้วย เปิดบริการ 17.00-03.00 น.
จากนั้นข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม เราจะพาคุณมาขึ้นเหลาทานอาหารอร่อยที่ภัตตาคารฮั่วเซ่งฮง ร้านนี้นี้เขาเป็นร้านอาหารจีนกวางตุ้งผสมแต้จิ๋ว เมนูเด่นของร้านคือหูฉลามน้ำแดง และบีหมี่ เป็ดย่าง เราที่บัดเจ็ทน้อยจะไปทานหูฉลามกระเป๋าคงฉีกเป็นแน่ เลยไปนั่งเหลาแล้วสั่งข้าวหน้าเป็ดในราคาที่สามารถจ่ายได้ (60 บาท) รสชาติอร่อยใช้ได้เลยล่ะค่ะ ส่วนบรรยากาศภายในก็เป็นแบบภัตตาคารจีน เหมาะกับการพาครอบครัวมาทานมากๆ เปิดบริการ 9.00-01.00 น.
  • ข้าวต้มแปลงนาม 24 น.
จากร้านฮั่วเซ่งฮง เดินขึ้นมาทางวงเวียนโอเดียน ไม่นานเราก็พบกับตรอกแปลงนามตั้งของร้านข้ามต้มแปลงนาม 24 น. ที่เราจะมาทานกันในวันนี้ ร้านนี้เขาเปิด 24 ชั่วโมงตามชื่อร้านเลยค่ะ มีกับข้าวให้เลือกถึง 40 กว่าอย่าง เราสั่งผัดแขนงหมูกรอบ กับผัดปลาช่องกับผักกาดดอง รสชาติอร่อยมาก ทานกับข้าวต้มร้อนๆ ในยามดึกๆ ที่อากาศเริ่มเย็นก็อร่อยสุดๆ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
  • มานพ สุกี้รถกระบะ
มาทางวงเวียนโอเดียนเพื่อเดินมาทานสุกี้ ที่ร้านมานพสุกี้รถกระบะ จุดเด่นของร้านนี้คือเขาใช้รถกระบะเก่าๆมาทำเป็นร้าน มีสุกี้ให้เลือกทั้งน้ำและแห้ง น้ำสุกี้รสชาติกลมกล่อม หมูนุ่มๆ ใส่น้ำจิ้มสุกี้ เปิดบริการตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป


อ้างอิง[แก้]