ผู้ใช้:Tungkittiyapa/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารการคลังในอดีต[แก้]

การคลัง หมายถึง การกำหนดนโยบายและการดำเนินงานทางการเงินของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการใช้จ่าย การหารายได้ ภาษีอากร การก่อหนี้ และการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาลมีบทบาททางเศรษฐกิจในด้านการจัดสรรทรัพยากรของสังคม การกระจายรายได้ของประชาชน อาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 หมวดใหญ่ๆ คือ การจ่ายเงิน การหารายได้ การก่อหนี้สาธารณะและนโยบายการคลัง

ประวัติการบริหารการคลังของประเทศไทย[แก้]

สมัยสุโขทัย[แก้]

การบริหารการคลังของไทยได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา แต่ยังไม่ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ

ในสมัยสุโขทัยภาษีมีอยู่ 2ประเภท คือจังกอบและภาษีข้าวการเก็บภาษียึดหลักคุณธรรมโดยไม่ต้องการให้ราษฎรเดือดร้อนโดยไม่ให้เก็บมากเกินไป รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจาก 2 แหล่งคือ เครื่องราชบรรณาการจากประเทศที่แพ้สงคราม และการรัฐพาณิชย์

ด้านรายจ่ายยังไม่มีการใช้จ่ายมากนัก สามารถจัดหาวัสดุสิ่งของมาเองได้เพราะมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในสมัยนั้น

สมัยกรุงศรีอยุธยา[แก้]

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แก้ไขวางระเบียบการคลัง ส่วย อากรและเศรษฐกิจให้รัดกุม ทันสมัยมากขึ้น โดยได้มีการจัดตั้งจตุสดมภ์ ซึ่งได้แก่ ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา

โดยขุนคลังมีหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับการเงิน 4 ประการ คือ 1 เป็นผู้รักษาเงินและทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน 2 การรัฐพาณิชย์ ซึ่งเป็นการค้าขายกับต่างประเทศหลายประเทศ เช่น อังกฤษ จีน โปรตุเกส ญี่ปุ่น ชวา มลายู เป็นต้น 3 การเก็บภาษีอากร เช่น จังกอบ(ภาษีสินค้าผ่านแดน) ฤชา(ค่าธรรมโรงศาล) อากรตลาด(ภาษีที่เก็บจากร้านค้า)

ด้านรายจ่าย มีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ คือ ด้านการเตรียมและการทำสงคราม การจ่ายรางวัลแก่ข้าราชการและราษฎรโดยจ่ายเป็นที่ดินและจ่ายให้ตามตำแหน่ง

สมัยกรุงธนบุรี[แก้]

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงดำเนินวิธีการต่างๆเพื่อหารายได้มาค้ำจุนประเทศ โดยทรงใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด ทรงกำชับการเก็บเงินเข้าพระคลังอย่างเข้มงวด โดยทรงแต่งตั้งขุนนางให้ออกไปเร่งรัดการเก็บส่วยสาอากรตามหัวเมืองเพื่อไม่ให้ติดค้างหลายๆปี ทรงเก็บอากรชนิดใหม่ เก็บค่าธรรมเนียมขุดทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของเกิดขึ้นจากราษฎรต้องหลบหนีข้าศึกเพื่อเอาตัวรอด โดยใช้วิธีเอาทรัพย์สินของมีค่าฝังดิน เมื่อข้าศึกยกกลับไปแล้วจะกลับมาขุดเอาคืน แต่ก็จำที่ซ่อนไม่ได้เพราะพม่าเผาบ้านจนไม่รู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน จึงทำให้มีทรัพย์สินตกค้างอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก พวกนายทุนจึงประมูลเงินให้แก่รัฐบาลโดยเป็นเงินก้อน เพื่อที่จะขอสิทธิผูกขาดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ที่ต้องการจะขุดทรัพย์ที่ซ่อนไว้ รัฐบาลต้องยอมให้มีนายทุนผูกขาด เพราะต้องได้เงินเข้ากองคลัง

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีรายได้จากการเก็บภาษีหลายประเภท เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรตลาด ส่วย รัฐพาณิชย์

สมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บภาษีและเปลี่ยนวิธีเก็บภาษี เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าสมัยก่อนๆ เพื่อการทำสงคราม เพิ่มรายได้แผ่นดินโดยการให้ผูกขาดภาษีอากร โดยมอบให้เจ้าภาษีมีผลประโยชน์ในการทำกิจการบางอย่างของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนในประเทศไทยเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีแต่ละชนิดให้กับรัฐบาล

สมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ที่ได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาบาวริง กับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2398 บทบัญญัติในสัญญามีผลทำให้ประเทศไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด โดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด เลิกเก็บภาษีเบิกร่องได้มีการจัดตั้งโรงภาษี จัดเก็บในอัตรา "ร้อยชักสาม" และภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา

พระคลังสินค้าเป็นคลังของสินค้าหลวง มีหน้าที่หลักคือ เป็นที่เก็บรักษาส่วยสิ่งของและซื้อขายกับต่างประเทศ ส่วนอีกพระคลังหนึ่งนั้น คือ พระคลังมหาสมบัติ

สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาด้านการจัดเก็บภาษีและการจัดระบบการคลังหลายประการ จึงได้ทรงเริ่มพระราชกรณียกิจในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัย ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานการคลังซึ่งนำไปสู่การสถาปนากระทรวงการคลัง

มีการเก็บภาษีภายในจากผู้ค้าสินค้าภายใน เช่น ภาษีไม้ต่างๆ กัญชา พริก น้ำตาล พริกไทย ฟักแฟง เผือกมัน เกลือ มีการจดบัญชีรายรายรับ รายจ่ายของแผ่นดินโดยมีการจัดทำขึ้นเป็นรายปี มีการขนส่งรายได้แผ่นดินจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ โดยมรชีการตั้งข้าหลวงไปเร่งรัดเงินแล้วส่งเงินกลับกรุงเทพฯและเมื่อมีการก่อตั้งธนาคาร ก็ได้ส่งเงินผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2416 ทรงเริ่มทำการปฏิรูปการคลังโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ทำการของเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ และให้มีพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีเงินผลประโยชน์แผ่นดินและตรวจตราการเก็บภาษีอากร ได้ทรงวางรากฐานระเบียบการปฏิบัติการภาษีอากรและการเงินของประเทศไว้ เป็นครั้งแรกที่ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและได้มีการตั้งกรมคลังเป็นกระทรวงการคลัง มีกรมที่ สำคัญดังนี้

1 กรมพระคลังกลาง ประมาณการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน

2 กรมสารบัญชี ตรวจบัญชีรายงานรายรับรายจ่ายเงินแผ่นดิน รวมทั้งภาษี

3 กรมเก็บ รักษาพระราชทรัพย์

4 กรมกษาปณ์สิทธิการและธนบัตร ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิมพ์เงินตรา

5 กรมสรรพากร สรรพภาษีและกรมศุลกากร สำหรับเก็บภาษี

ด้านรายจ่าย เริ่มมีการก่อหนี้จากการยืมจากต่างประเทศเป็นครั้งแรกและได้มีและได้มีพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2456 เพื่อให้เจ้าหนี้ทราบถึงฐานะทางการคลังของประเทศไทย

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้รวบรัดพระคลังท้องที่ต่างๆทั่วพระราชอาณาจักรเข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2456 เพื่อวางระเบียบกำหนดเวลาที่กระทรวงต่างจะต่างยื่นงบประมาณต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและกำหนดวิธีการจ่ายเงินนอกงบประมาณในระหว่างปี โปรดเกล้าฯให้ยกกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ คือ 1 กรมตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าที่ตรวจตราเจ้าหน้าที่ต่างๆ มีหน้าที่จัดระเบียบการประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดินและสอบสวนการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน 2 กรมสถิติพยากรณ์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยได้เจรจายกเลิกสัญญาบาวริงที่ไม่เป็นธรรมได้สำเร็จ

สมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว [1]ทรงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2471 ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกรมราชการกรมหนึ่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า กรมเงินตรา มีหน้าที่เกี่ยวกับการจำหน่ายและถอนคืนธนบัตร ต่อมาโปรดเกล้าฯให้ยุบกรมกษาปณ์สิทธิการเป็นโรงงานขึ้นกับกรมสรรพสามิต เนื่องจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรงกษาปณ์ไทยจึงหยุดการผลิตเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  1. https://www.mof.go.th/home/mofhistory_1.html http://emuseum.treasury.go.th/article/599-treasury.html http://teerapong-tongbai.exteen.com/20090803/entry-1 สุดใจ ทันตมโน,คลังหลวงแห่งประะเทศไทย อรัญ ธรรมโน,ความรู้ทั่วไปทางการคลัง พูนศรี สงวนชีพ พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ ,การบริหารการคลังและกระบวนการงบประมาณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การคลังและงบประมาณ