ผู้ใช้:Thunyarat Khamma/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

ความหมายรูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

องค์การ คือกลุ่มคนประกอบไปด้วย 2 คนขึ้นไป อยู่ภายใต้โครงสร้างองค์การที่กำหนดขึ้น ที่มีการกำหนดระบบและหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงานไว้ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งเป้าหมายส่วนบุคคลและเป้าหมายองค์การ[1]

รูปแบบองค์การหมายถึงโครงสร้างองค์การซึ่งมี3รูปแบบแบ่งตามโครงสร้าง ดังนี้[แก้]

1.โครงสร้างองค์การมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม (Structure as an Influence on Behavior)

2.โครงสร้างองค์การกำหนดกิจกรรม (Structure as  Recurring Activities)

3.โครงสร้างขององค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่มีเป้าหมายขององค์การ (structure as Purposeful  and Goal-oriented Behavior)

ประเภทโครงสร้างองค์การแบ่งเป็น 2 ประเภท[แก้]

1.โครงสร้างองค์การแบบประเพณีนิยม

          โครงสร้างองค์การแบบราชการ

โครงสร้างองค์การแบบสายงานหลักและสายงานบริการ

2.โครงสร้างองค์การที่ไม่เป็นประเพณีนิยม

          โครงสร้างองค์การแบบทีมงาน

          โครงสร้างองค์การแบบโครงการเฉพาะกิจ

          โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์

โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์[2]

รูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

รูปแบบโครงสร้างองค์การสมัยหลังระบบราชการเริ่มจากโครงสร้างองค์การแบบราชการ(Bureaucracy)ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแบบพีระมิดมีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจนมีการจำแนกระดับของอำนาจหน้าที่ชัดเจนมีการกำหนดกฎเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น กระทรวง ทบวง กรม และข้าราชการ โดยMax Weberนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันได้เสนอแนวคิดของโครงสาร้างแบบราชการโดยแบ่งลักษณะของโครงสร้างแบบราชการเป็น6ประการ คือ

1.ความชำนาญของแรงงาน (Specialization of Labor) การทำงานในองค์การจะถูกแบ่งย่อยออกตามความชำนาญของบุคคลและจะส่งผลให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.การจำแนกอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน (Well Defined Authority Hierarchy) มีสายสายบังคับบัญชาที่ชัดเจนแสดงให้เห็นว่าทำงานขึ้นตรงกับใครและไม่ทำให้เกิดความสับสนในการทำงาน

3.กฎเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน (Formal Rules and Procedures) องค์การทำให้รู้ว่าตนนั้นมีหน้าที่อะไรและทำอย่างไร

4.การทำงานโดยใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ และความรู้สึกส่วนตัว

5.การตัดสินใจเกี่ยวกับพนักงานจะขึ้นอยู่กับความสามรถและผลงานขอแต่ละคนหรือที่เรียกว่าระบบคุณธรรม (Merit System) ไม่มีการเล่นเส้นสาย ไม่มีระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์

6.ต้องมีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักอักษรทุกครั้งที่มีการตัดสินใจหรือทำงานใดๆเพื่อใช้ในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลงาน[3]

โครงสร้างองค์การแบบสายงานหลักและสายงานที่บริการ (Line-staff Structure) โครงสร้างองค์การแบบนี้จะมีการทำงานตามหน้าที่ของตนเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายและมีฝ่ายให้คำปรึกษาทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำ บริการ และปฏิบัติหน้าที่ต่างๆเพื่อทำให้การทำงานขององค์การเป็นไปอย่างราบลื่นและมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างองค์การแบบทีมงานเป็นโครงสร้างองค์การแบบไม่เป็นทางการเนื่องจากสมาชิกจะทำงานร่วมกันเป็นทีมทำให้ทุกคนใช้ความรู้ ทักษะ และความสามรถทุกด้านที่มีข้ามาใช้ในการทำงานโครงสร้างแบบนี้จะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องตำแหน่งมากนักและสมาชิกทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของทีม

โครงสร้างองค์การแบบโครงสร้างเฉพาะกิจ (Project Task Force) เป็นโครงสร้างองค์การที่ไม่เป็นทางการที่อยู่ภายใต้องค์การขนาดใหญ่โดยมีการจัดกลุ่มทำงานเฉพาะอย่างขึ้นเป็นการชั่วคราวโดยสมาชิกในกลุ่มทำงานประจำอยู่ในหน่วยงานต่างๆกัน และมารวมตัวกันเพื่อทำงานเมื่องานนั้นเสร็จสมาชิกทุกคนจะแยกย้ายกันไปทำงานตามฝ่ายของตน

โครงสร้างแบบแมทริกซ์ (Matrix Structure) จะมีการคัดเลือกบุคคลจากแผนกงานตามหน้าที่ต่างๆเข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การโดยอยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้จัดการเมื่องานเสร็จแล้วจะแยกย้ายกลับไปทำงานในหน่วยงานเดิมจนกว่าจะมีการมอบหมายงานในครั้งต่อไป

โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์โครงสร้างองค์การจะมีการปรับตัวไปตามปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อองค์การ[4]

ความสำคัญของรูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

รูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการเป็นระบบที่เป็นการทำงานขององค์การซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน อำนาจ เพื่อที่จะควบคุมให้บุคลากรขององค์การทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยโครงสร้างองค์การแบบประเพณีนิยม ประกอบด้วยโครงสร้างองค์การแบบราชการโครงสร้างองค์การแบบสายงานหลักและสายงานบริการ โครงสร้างองค์การที่ไม่เป็นประเพณีนิยม ประกอบด้วยโครงสร้างองค์การแบบทีมงานโครงสร้างองค์การแบบโครงการเฉพาะกิจโครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์โดยรูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการมีการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงสิ่งเล่านี้[5]

1.การปฏิบัติงานโดยหวังผล คือมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2.การให้ความสำคัญแก่ประชาชนและสังคม คือทุกสิ่งที่กระทำต้องมุ่งถึงประโยชน์ของประชาชนและสังคม

3.ความคุ้มค่า คือทุกการกระทำจะต้องคุ้มค่ากับทรัพยากรที่มี

4.ประสิทธิภาพในการทำงาน คือการทำงานจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ มีการเตรียมพร้อมกับการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า[6]

แนวคิดและทฤษฎีรูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

แนวคิดของ Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันได้เสนอแนวคิดของโครงสาร้างแบบราชการโดยแบ่งลักษณะของโครงสร้างแบบราชการเป็น 6 ประการดังนี้

1.ความชำนาญของแรงงาน (Specialization of Labor) การทำงานในองค์การจะถูกแบ่งย่อยออกตามความชำนาญของบุคคลและจะส่งผลให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.การจำแนกอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน (Well Defined Authority Hierarchy) มีสายสายบังคับบัญชาที่ชัดเจนแสดงให้เห็นว่าทำงานขึ้นตรงกับใครและไม่ทำให้เกิดความสับสนในการทำงาน

3.กฎเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน (Formal Rules and Procedures) องค์การทำให้รู้ว่าตนนั้นมีหน้าที่อะไรและทำอย่างไร

4.การทำงานโดยใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ และความรู้สึกส่วนตัว

5.การตัดสินใจเกี่ยวกับพนักงานจะขึ้นอยู่กับความสามรถและผลงานขอแต่ละคนหรือที่เรียกว่าระบบคุณธรรม (Merit System) ไม่มีการเล่นเส้นสาย ไม่มีระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์

6.ต้องมีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักอักษรทุกครั้งที่มีการตัดสินใจหรือทำงานใดๆเพื่อใช้ในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลงาน

แนวคิดของเดวิด แพ็คการ์ด แห่งบริษัทฮิวเล็ตต์แพ็คการ์ด กล่าวว่า ต้องหลีกเลี่ยงองค์การที่มีโครงสร้างที่เข้มงวดมากเกินไปถ้าจะให้องค์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุดการสื่อสารควรมีความคล่องตัว โดยไม่คำนึงว่าแผนผังองค์การจะเป็นอย่าง ไร

แนวคิดของเจฟฟรีย์ เฟรฟเฟอร์ และ เจอรัลด์ เซแลนซิค กล่าวว่า องค์การมีความเกี่ยวโยงกับเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พฤติกรรมที่แสดงออกขององค์การก็คือการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เกิดจากบทสรุปที่มีเหตุผล

แนวคิดของJob Center Design กล่าวคือ เป็นการออกแบบองค์การโดยการมุ่งงานมากกว่ามุ่งคน มักจะใช้วิธีการวิเคราะห์องค์การโดยเริ่มจากตัวงานเป็นหลัก การออกแบบองค์การตามแนวคิดนี้เป็นผลให้องค์การนั้นขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนองค์การได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไป อย่างรวดเร็ว ดังเช่นในปัจจุบัน

แนวคิดของHuman Center Design กล่าวคือ เป็นการออกแบบองค์การโดยการมุ่งคนมากกว่าการมุ่งงาน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรงมาใช้ในการ บริหารงาน เช่น กำหนดยุทธศาสตร์ รูปแบบองค์การ การวินิจฉัยตามข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการปรับปรุงองค์การ ฯลฯ โดยมักจะมีการกำหนดปรัชญาการบริหาร สร้างวัฒนธรรมองค์การ มีการทำงานเป็นทีม และพัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างภายในองค์ การและภายนอกองค์การ แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้หลังปี 1990 และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

แนวคิดการจัดตั้งองค์การมหาชน (Autonomy Public Organization) องค์การประเภทนี้ยังคงต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อสาธารณชนโดยไม่มุ่งหวังกำไร และภารกิจดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมที่จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือเป็นบริการภาครัฐขั้นพื้นฐาน ดังนั้น รัฐจึงควรดำเนินการต่อไปโดยมีการลดกฎระเบียบลง มีการคัดเลือกผู้บริหารเองภายใต้การสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากรัฐ และอีกส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าหรือบริการของตนเอง

แนวคิดการแปรรูปองค์การภาครัฐให้เป็นเอกชน (Privatization) ภารกิจของภาครัฐหลายอย่างที่ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เช่น การตรวจสอบบัญชี การออกแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง การฝึกอบรม ฯลฯ อาจให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยภาครัฐไม่ต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องกำลังคนและเงินงบประมาณ ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่า

แนวคิดการแปรรูปองค์การรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์การเอกชน (Privatization) จากปัญหาที่องค์การรัฐวิสาหกิจประสบอยู่ในปัจจุบัน คือ ผลการปฏิบัติงานยึดกรอบของระบบราชการ ซึ่งไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้ ดังนั้น แนวทางในการขจัดปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการแปรรูปให้เป็นหน่วยงานเอกชน แต่อย่างไรก็ดีต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการไม่มีการผูกขาด (Monopoly) โดยภาครัฐในระดับนโยบายจะเป็นผู้ควบคุมให้เกิดการแข่งขันโดยเสรี

แนวคิดการทำสัญญาให้เอกชนรับจ้างเหมาดำเนินการ (Contract Out) เป็นแนวคิดหนึ่งที่ลดบทบาทขององค์การภาครัฐลงจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้ควบคุมระดับนโยบาย วิธีนี้จะให้เอกชนเป็นคู่สัญญากับภาครัฐในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นการสร้างงานให้ภาคเอกชนและประชาชนมากขึ้น[7]

กฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวกับรูปแบบองค์การสมัยหลังระบบราชการ[แก้]

1.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 

2.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 

3.พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2545[8] 

  1. โครงสร้างองค์การ. (2552). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/knowledge09/2009/08/26/entry-1
  2. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร   : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  3. ทฤษฎีระบบราชการ. (2555). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://kantacandidate.blogspot.com/2012/02/bureaucracy-max-weber.html
  4. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2551). พฤติกรรมองค์การ(Organizational Behaviors). (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjqpsrjxMbTAhVLLI8KHaBQBl0QFgghMAA&url=http%3A%2F%2Flibrary.senate.go.th%2Fdocument%2FExt2552%2F2552600_0002.PDF&usg=AFQjCNF5e4pQCkXtuH1TZZJ_9RT7G1o7LQ&sig2=NG9Fgf0Rl5kRC3mbtTuK_Q
  5. ชัยอนนันต์ สุมทวณิช. (2545). ปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  6. ละเอียด จงกลณี. (2541). ทฤษฎีและวิธีการพัฒนาองค์การชั้นสูง. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  7. ภัทรา  อิ่มเยาวรัตน์. (2552). (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://docs.google.com/document/d/1LNKuEcUhck-TNh55Ah-ybmVnbxEPToB1aRn7Gy_AevM/edit
  8. การปฏิรูประบบราชการ. (2546). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3