ผู้ใช้:Thontanut36/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของระบบราชการ[แก้]

คำว่า "ระบบราชการ" หรือ"Bureaucracy" ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยชาวฝรั่งเศสชื่อแวซองค์ เดอ กูร์เนย์(Vincent de Gournay) เมื่อปี ค.ศ.1745 เพื่อบรรยายถึงลักษณะของรัฐบาลปรัสเซีย ในความหมายในทางไม่ดี อำนาจตกอยู่ในมือของข้าราชการ ระบบราชการจึงเป็นรูปแบบการบริหารของรัฐบาลอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เพิ่มจากรูปแบบการบริหารของรัฐบาลมีอยู่3รูปแบบตามที่อริสโตเติลได้เสนอไว้ คือ ระบบทรราชย์โดยกษัตริย์ ระบบคณาธิปไตย และระบบประชาธิปไตย (สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์,2547:88)[1]

ทฤษฎีระบบราชการของMax Weber[แก้]

แม็กซ์ เวเบอร์(Max Weber) ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะขององค์การที่ปรากฏในศตวรรษที่20ตอนต้น ไม่ว่าจะเป็นองค์การธุรกิจหรือองค์การของรัฐ พบว่า องค์การสมัยใหม่ในช่วงเวลานั้น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจการงานรูปแบบการบริหารแบบดั้งเดิมคือ การบริหารแบบครอบครัวมาเป็นรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะการบริหารที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ มีการกำหนดตำแหน่งงานและจัดลำดับขั้นของตำแหน่งในลักษณะที่เป็นรูปปีรามิด มีการแยกบุคคลที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารออกจากัน มีการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ อำนาจหน้าที่ ระเบียบกฎเกณฑ์การทำงานอย่างชัดเจน โดยทุกคนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ที่องค์การกำหนดไว้ นอกจากนี้การคัดเลือก แต่งตั้ง โยกย้ายบุคคลยึดถือหลักการพิจารณาความรู้ความสามารถ และหลักการบรรจุคนให้เหมาะสมกับงานโดยไม่มีการคำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว การทำงานมีลักษณของความเป็นทางการคือทำเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ(Max Weber,1947:331)[2]

ข้อดีของระบบราชการตามแนวคิดของMax Weber[แก้]

ระบบราชการออกแบบโดยใช้ลำดับชั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุมสมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ความสัมพันธ์ในองค์การจึงชัดเจนทั้งแนวดิ่งและแนวนอน ประการต่อมาไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาต่อรองและกำหนดงานที่จะทำใหม่ นอกจากนั้น การมีระเบียบทำให้รู้บทบาท วิธีการปฏิบัติและปทัสถานที่แน่นอน ช่วยลดต้นทุนการกำกับดูแลและช่วยให้เกิดการบูรณาการงานแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน[3]

ลักษณะพื้นฐานของระบบราชการ[แก้]

รูปแบบการปกครองประเทศ[แก้]

ประเทศสหราชอาณาจักรมีระบบการปกครองแบบรัฐสภาอันมีสมเด็จพระราชินีเป็นประมุข สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญ(House of Commons)ซึ่งมีทั้งหมด651 ท่าน นั้นได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สภาผู้แทนราษฎรจะมีบทบาทมากกว่าสภาขุนนาง(House of Lords) ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้ง สมเด็จพระราชินีทรงเป็นแต่งตั้งผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนนายกรัฐมนตรีนั้นก็จะเป็นผุ้เลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบจากสมเด็จพระราชินี ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งสมาชิกพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำคณะรัฐมนตรี(cabinet minister)ประมาณ20ท่าน รัฐมนตรีประจำคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านจะเป็นหัวหน้ากระทรวงหนึ่งกระทรวงใดในฝ่ายบริหาร นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังแต่งตั้งสมาชิกประมาณ1ใน3ของพรรครัฐบาลให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง(under secretaries) ตำแหน่งเลขาธิการสภา(parliamentary secretaries)หรือรัฐมนตรีชั้นรอง หรือรัฐมนตรีน้อย(junior ministers) อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งเหล่านี้มิได้มีฐานะเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี(cabinet)

หน่วยงานที่รับผิดชอบงานการปฏิรูประบบราชการ[แก้]

ในประเทศสหราชอาณาจักรนั้น หน่วยงานของรัฐที่สำคัญในการทำหน้าที่ปรับปรุงระบบการจัดการในภาครัฐนั้นมีอยู่3หน่วยงาน ได้แก่(OECD,1997,284;OECD,1993,185-186) สำนักงานราชการและวิทยาศาสตร์ (Office of Public Service and Science (OPPS))เป็นสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี ค.ศ.1995 OPPS ได้เปลีย่นชื่อเป็น สำนักงานราชการ(Office of Public Service(OPS))หัวหน้าของ OPPSได้แก่ บุคคลที่ดำรงตำแหน่ง The Chanceller of the Duchy of Lancaster ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีด้วย และเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างอาวุโส

อัตรากำลังในระบบราชการ[แก้]

ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนข้าราชการในประเทศสหราชอาณาจักรนั้นประกฏว่า ในกลางปี ค.ศ.1992 ประเทศสหราชอาณาจักรมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ(public sector employment)ประมาณ4.9ล้านคน โดยประมาณ1.8ล้านคนนั้นเป็นข้าราชการสังกัดส่วนกลาง ส่วนราชการส่วนท้องถิ่น(local government)จะมีข้าราชการอยู่ประมาณ2.3ล้านคน ในรัฐบาลกลางนั้น ประมาณ567,000คน เป็นข้าราชการพลเรือน(civil service)ประมาณ755,000คน เป็นข้าราชการที่ทำงานทางด้านการสาธารณสุขของประเทศ(national health service) และประมาณ290,000คน นั้นเป็นอัตรากำลังที่มีอยู่ในกองทัพ(armed forces) ในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ประกฏว่าจะเป็นข้าราชการที่ทำงานด้านการศึกษา(education)ประมาณ969,000คน อีกประมาณ285,000คนทำงานด้านให้บริการสังคม(social services)ส่วนตำรวจ(police)มีประมาณ199,000คน และข้าราชการที่ทำงานด้านก่อสร้าง(construction)มีประมาณ97,000คน เหล่านี้เป็นต้น[4]

การจัดองค์การและโครงสร้างของระบบราชการ[แก้]

ระบบราชการตามรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษเป็นระบบที่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบราชการเรียกว่า "ข้าราชการ"(Bureaucrats) และเป็นข้าราการในพระมหากษัตริย์ โดยการจ้างงานของประเทศ (Public Capacity) ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่สังกัดในระดับต่างๆตั้งแต่กระทรวง กรม และหน่วยงานที่สังกัดในระดับย่อยอื่นๆ (ไม่นับรวมถึงผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสมาชิกสภาสามัญ ศาล การทหาร เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่น และลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ)โดยมีรูปแบบการบริหารที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง และฝ่ายตุลาการ[5]

การปฏิรูประบบราชการ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการก่อนสมัยนางมากาเรต แท็ตเชอร์[แก้]

ก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญ ในสมัยนายกรัฐมนตรีแท็ตเชอร์ (ค.ศ.1979-1990)นั้น ประเทศสหราชอาณาจักรได้มีการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญ เมื่อปี ค.ศ.1854 ซึ่งเรียกว่าเป็นการปฏิรูป "Northcote Trevelyan Reforms" การปฏิรูประบบราชการในครั้งนั้นเป็นการนำเอาระบบคุณธรรมมาใช้กับบุคคลที่รับราชการ กล่าวคือ มีการนำเอาระบบการสอบแข่งขันอย่างเปิดเผยมาใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการและมีการเลื่อนขั้นตำแหน่งของข้าราชการตามหลักเกณฑ์ระบบคุณธรรมด้วย ข้าราชการจึงได้กลายเป็นผู้แทนของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำงานโดยรับคำสั่งจากรัฐมนตรี ต่อมาในปี ค.ศ.1855 จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานข้าราชการพลเรือน (The Civil Service Commission)ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการสอบคนเข้ารับราชการ ผลที่สำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปใน ค.ศ.1854 นี้ ได้แก่ การวางพื้นฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างงานสมอง และงานที่ใช้แรงงาน โดยถือหลักว่างานสมองนั้นเป็นงานที่ผู้ที่มีความรู้ทั้วไป(generalists)สามารถทำได้ ซึ่งส่วนมากข้าราชการกลุ่มนี้จะเป็นบุคคลที่จบมาจากมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge (หรือที่เรียกว่าบัณฑิต "Oxbridge") ต่อมาข้าราชการกลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้นำ หรือที่เรียกว่า "ขุนนางจีน" (mandarins) ของระบบราชการ ส่วนงานประเภทที่ใช้แรงนั้น หรืองานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลนั้นก็เป็นงานของคนที่มีความสามารถรองลงมา

การปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่สมัย มากาเรต แท็ตเชอร์ และพรรคอนุรักษ์นิยม[แก้]

งานการปฏิรูประบบราชการของประเทศสหราชอาณาจักรนั้นประสบความสำเร็จอย่างมากภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี มากาเร็ต แท็ชเชอร์(Margaret Thatcher)(ค.ศ.1982-1990) ตลอดระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศ เราอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีแท็ชเชอร์ได้แสดงความตั้งใจอันแน่วแน่อย่างสม่ำเสมอ ตลอดมาที่จะปฏิรูปกลไกการบริหารงานของรัฐ ความสำเร็จในการปฏิรูปส่วนหนึ่งเกิดจากการที่นายกแท็ตเชอร์ สามารถที่จะดำรงตำแหน่งอยู่ได้เกือบ12ปี จึงทำให้ภาคราชการของประเทศสหราชอาณาจักรผ่านกระบวนการปฏิวัติทางด้านการจัดการได้โดยราบรื่น นับได้ว่านายกรัฐมนตรีแท็ชเชอร์เป็นผู้วางรากฐานใหม่ในการปฏิรูประบบราชการจนทำให้ระบบราชการของประเทศสหราชอาณาจักรเปลี่ยนแปลงไปมาก[6]

การปฏิรูประบบราชการไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่[แก้]

การบริหารราชการจากรูปแบบเดิมๆไปสู่รูปแบบใหม่ๆหรือการปรับเปลี่ยนจากการบริหารราชการจากเดิม(ปัจจุบัน) ไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่(อนาคต)นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์(Paradigm)ของข้าราชการใหม่ทั้งหมด การปรับกระบวนทัศน์ใหม่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและให้การบริการประชาชนเพิ่มมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นจุดแปรผันที่น่าสำคัญที่นำไปสู่การปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารราชการแบบใหม่[7]

  1. ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่2,เชียงใหม่,ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนุชพริ้นติ้ง,2551,978-974-10-0382-2
  2. ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่2,เชียงใหม่,ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนุชพริ้นติ้ง,2551,978-974-10-0382-2
  3. ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,กำเนิดระบบราชการและการปฏิรูปในยุคคลาสสิก,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,สงวนกิจการพิมพ์,2546,974-91642-8-8
  4. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  5. ศาตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,การเมืองอังกฤษ,พิมพ์ครั้งที่1,สำนักพิมพ์เสมาธรรม,2543,974-231-143-9
  6. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  7. รองศาสตราจารย์ (ระดับ9)วิเชียร วิทยอุดม,แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์และทฤษฎีระบบราชการ,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด,2551,978-974-10-7047-3